ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพชีวิตพระสงฆ์ในเขตอำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพชีวิตของพระสงฆ์ 2) ระดับสุขภาพชีวิตของพระสงฆ์ 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพชีวิตของพระสงฆ์ และ 4) ข้อเสนอแนะในการส่งเสริมสุขภาพชีวิตของพระสงฆ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ พระสงฆ์ จำนวน 234 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 สถิติวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรงแบบเป็นขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพชีวิตของพระสงฆ์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ระดับสุขภาพชีวิตพระสงฆ์ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพชีวิตของพระสงฆ์สามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 45.20 โดยมีสมการถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐานดังนี้ =0.413Z6+0.288Z8+0.190Z5+0.140Z2+0.156Z7 และข้อเสนอแนะต้องการให้มีการจัดโครงการอบรมความรู้เกี่ยวกับประโยชน์และวิธีการปฏิบัติกิจกรรมทางกายนอกเหนือจากกิจวัตรของสงฆ์และไม่ขัดต่อหลักพระธรรมวินัย มีการประชาสัมพันธ์ถึงความรู้ในการฉันภัตตาหารที่ถูกสุขลักษณะให้พระสงฆ์และญาติโยมผู้ถวายภัตตาหาร
Article Details
References
เฉลิมพล ตันสกุล. (2560). พฤติกรรมการบริโภคอาหารและการดูแลสุขภาพตนเองพระภิกษุสงฆ์เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 44(1): 55-62.
ชรินทร์ ห่วงมิตร นเรศน์ ฐิตินันทิวัฒน์ และ อมรรัตน์ กล่ำทัพ. (2560). การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพเครือข่ายพระภิกษุสงฆ์เขตเทศบาลจังหวัดนครสวรรค์. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: กรมควบคุมโรค, กระทรวงสาธารณสุข.
ปัณณธร ชัชวรัตน์. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของพระสงฆ์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. (รายงานวิจัย). พะเยา: สถาบันพระบรมราชชนก.
พระสุทธิพจน์ สุทฺธิวจ̣โน (สัพโส). (2556). พฤติกรรมสุขภาพของพระสงฆ์ในอำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร. (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. อยุธยา.
สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ. (2557). การประเมินผลกระบวนการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 6, 7 พ.ศ.2556-2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ.
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจังหวัดสุรินทร์. (2562). จำนวนวัด และพระภิกษุจำแนกตามอำเภอในจังหวัดสุรินทร์ ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2561. สุรินทร์: สำนักงานพระพุทธศาสนา.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งขาติจังหวัดสุรินทร์. (2560). จำนวนพระภิกษุอาพาธ จำแนกตามการคัดกรองตามประเภทของโรคไม่ติดต่อภายในจังหวัดสุรินทร์ ประจำปี พ.ศ.2559. สุรินทร์: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.
สำนักระบาดวิทยา, กรมควบคุมโรค. (2559). รายงานการเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง พ.ศ.2559.กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข.
สิทธิพรร์ สุนทร วัชรินทร์ สุทธิศัย และ พงษ์ศักดิ์ ซิมมอนด์ส. (2563). รูปแบบความสุขของผู้สูงวัยในจังหวัดมหาสารคาม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 15(1): 153-161.
สุนันท์ แสวงทรัพย์. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของพระสงฆ์ในจังหวัดนครนายก. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Bandura, A. (1997). A Self-efficiency: The exercise of control. New York: W.H. Freeman.
Kemm, J. and Close, A. (1995). Health Promotion: Theory and Practice. London: Mac Millian Press Ltd.
Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale, Reading in Attitude Theory and Measurement. New York: Harper & Row.
Pender, N.J., Murdaugh, C.L. and Parsons, M.A. (2006). Health Promotion in Nursing Practice. 5th ed. New Jersey: Pearson Education.
World Health Organization (WHO). (2014). World Health Statistics. 21. Geneva: WHO.
Yamane, T. (1973). Statistics an Introductory Analysis. New York: Harper & Row.