รูปแบบการพัฒนาครูโรงเรียนประจำที่มีวัตถุประสงค์พิเศษในศตวรรษที่ 21
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะที่จำเป็นของครูโรงเรียนประจำที่มีวัตถุประสงค์พิเศษในศตวรรษที่ 21 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาครูโรงเรียนประจำที่มีวัตถุประสงค์พิเศษในศตวรรษที่ 21 และ 3) ประเมินรูปแบบการพัฒนาครูโรงเรียนประจำที่มีวัตถุประสงค์พิเศษในศตวรรษที่ 21 โดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาคุณลักษณะที่จำเป็นของครูโรงเรียนประจำที่มีวัตถุประสงค์พิเศษในศตวรรษที่ 21 จากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิตัวแทนครูจำนวน 9 คน จาก 3 โรงเรียน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการพัฒนาครูโรงเรียนประจำที่มีวัตถุประสงค์พิเศษในศตวรรษที่ 21 เพื่อประเมินความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน และขั้นตอนที่ 3 การประเมินรูปแบบการพัฒนาครูโรงเรียนประจำที่มีวัตถุประสงค์พิเศษในศตวรรษที่ 21 เพื่อประเมินความเหมาะสมในการใช้รูปแบบฯ จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน และประเมินความเป็นไปได้ในการใช้รูปแบบฯ จากกลุ่มตัวอย่างตัวแทนครูโรงเรียนประจำ จำนวน 271 คน ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบฯ ดังกล่าวมีความเหมาะสม ประกอบด้วย 1) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 2) องค์ประกอบของรูปแบบ 3) วิธีการของรูปแบบ และ 4) การประเมินผลการปฏิบัติงาน สำหรับปัจจัยการพัฒนาครูฯ มี 7 กรอบ ได้แก่ กรอบที่ 1 นโยบายการพัฒนาครูโรงเรียนประจำในศตวรรษที่ 21 กรอบที่ 2 ปัจจัยส่งเสริมความสำเร็จในการพัฒนาครูโรงเรียนประจำในศตวรรษที่ 21 กรอบที่ 3 องค์ประกอบที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของครูโรงเรียนประจำ กรอบที่ 4 องค์ประกอบการพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของครูโรงเรียนประจำในศตวรรษที่ 21 กรอบที่ 5 วิธีการพัฒนาคุณลักษณะของครูโรงเรียนประจำในศตวรรษที่ 21 กรอบที่ 6 คุณลักษณะที่จำเป็นของครูโรงเรียนประจำในศตวรรษที่ 21 และกรอบที่ 7 การวัดและประเมินผลในการพัฒนาคุณลักษณะของครูโรงเรียนประจำในศตวรรษที่ 21 โดยทั้งหมดมีระดับการประเมินความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด
Article Details
References
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียน ภปร.ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2561). ธรรมนูญโรงเรียน ภปร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พุทธศักราช 2560. นครปฐม: โรงเรียน ภปร.ราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ สำนักงานพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
จรัสพงศ์ เทียนประภา และ ภัทรวรรธน์ จีรพัฒน์ธนธร. (2562). คุณลักษณะครูสู่ความเป็นเลิศตามมาตรฐานวิชาชีพของครูธุรกิจ. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 31(1): 132.
จุฑามาศ ทันธิกุล และ ชลภัสสรณ์ สิทธิวรงค์ชัย. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กรของบริษัท การ์เมนท์ จำกัด. วารสารนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2 (มกราคม-ธันวาคม 2560): 54-66.
ชุมพล รอดแจ่ม และ รุ่งระวี มังสิงห์. (2562). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันสมรรถนะของนักบัญชีตามคุณลักษณะนักบัญชีที่พึงประสงค์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 5(1) กุมภาพันธ์-พฤษภาคม 2562: 29-44.
โชติชวัล ฟูกิจกาญจน์. (2556). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์: รูปแบบ วิธีการ และแนวทางการนำไปปฏิบัติ. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 4(2) มกราคม 2556: 104-112.
ทิศนา แขมมณี. (2551). รูปแบบการเรียนการสอน ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธาดา ราชกิจ. (2562). การประเมินผลรอบทิศแบบ 360 องศา (360-degree Feedback). ค้นเมื่อวันที่ 11/10/62, จาก https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/190626-360-degree-feedback/.
บัญชร จันทร์ดา. (2561). มาตรฐานการดูแลนักเรียนประจำของโรงเรียน ภปร.ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์. นครปฐม: โรงเรียน ภปร.ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สำนักงานพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
บุหงา วชิระศักดิ์มงคล. (2557). ภาวะผู้นำทางวิชาการ. ค้นเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2562, จากhttp://office.nu.ac.th/edu_teach/ASS/Download/vchk-B1. ภาวะผู้นำทางวิชาการ.pdf.
พิณสุดา สิริธรังศรี. (2557). การยกระดับคุณภาพครูไทย ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2559). คิดเพื่อครู. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ภาสกร เรืองรอง และคณะ. (2557). เทคโนโลยีการศึกษากับครูไทยในศตวรรษที่ 21. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 5(ฉบับพิเศษ) พฤษภาคม 2557: 198-201.
รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2562). การกำกับ ติดตามและประเมินผล การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ชุมชนทางวิชาชีพ (PLC) ของเครือข่ายภาคใต้ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากคุรุสภา ปี 2559. Veridian E-Journal, 11(1) มกราคม-เมษายน 2561: 10-13.
วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และ อธิป จิตตฤกษ์. (2554). ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. แปลจาก 21st Century Skills: Rethinking How Students Learn โดย James Bellancaและ Ron Brandt.
วรรณวิภา ไตลังคะ. (2555). การประเมินผลการปฏิบัติงานแบบ 360 องศา: ข้อจากัด และปัจจัยแห่งความสำเร็จ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี. 4(2) พฤษภาคม–สิงหาคม 2555: 210.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. (โครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ.2559-2572). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
สมบูรณ์ นาควิชัย. (2560). ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน. Journal of Roi Kaensarn Academi, 2(2) กรกฎาคม-ธันวาคม 2560: 18-27.
สํานักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพเยาวชน. (2557). การยกระดับคุณภาพ ครูไทย ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สํานักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2552). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟิก.
สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้. (2562). การจัดการความรู้ (KM) คืออะไร?. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย (สพฐ). (2560). แนวทางในการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย.
อรอุมา รุ่งเรืองวณิชกุล. (2556). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะครูนักวิจัยด้วยการบูรณาการกระบวนการเรียนรู้สำหรับข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อร่ามศรี อาภาอดุล และคณะ. (2554). มาตรฐานวิชาชีพครูการอาชีวศึกษา. เอกสารอัดสำเนา.
Good, Carter V. (1973). Dictionary of Education. New York: Mc Graw Hill Book, Co,Inc.
iDISC Plus. (2015). Competency 360 Report. BKK.: IAC Insight Assessment center.
Krejcie, R.V., and Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Education and Psychological Measurement.
Oser, F. et al. (2009). Meaning the competence-quality of vocational teachers: an advocatory approach. Empirical Research in Vocational Education and Training, 1: 65-83.
Sass, H.B. (2011). Advancing a new image of CTE Via teacher preparation. Connecting, Education & Careers. 66(4): 24-27.