คุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางรักน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

ธนนันท์ กลิ่นช้าง
โกวิทย์ กังสนันท์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและเปรียบเทียบการทำงานของเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางรักน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลบางรักน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี จำนวน 191 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA)


ผลการวิจัย พบว่า คุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางรักน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ค่าเฉลี่ยรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 4 ด้าน คือ ด้านสภาพการทำงานมีความปลอดภัยและส่งเสริมคุณภาพ ด้านโอกาสความก้าวหน้าและมีความมั่นคงในการทำงาน ด้านโอกาสได้รับการพัฒนาและการใช้ ด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม และผลการเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางรักน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล พบว่า คุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางรักน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน อายุงาน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
กลิ่นช้าง ธ., & กังสนันท์ โ. (2021). คุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางรักน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 7(1), 299–310. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/251686
บท
บทความวิจัย

References

ณัฐวุฒิ แพงสวัสดิ์. (2552). คุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วน ตำบลชัยพรอำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

ดาลัด จันทรเสนา. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสาธารณสุข ในศูนย์สุขภาพชุมชน จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม.

ทิพวรรณ ศิริคูณ. (2542). คุณภาพชีวิตการทํางานกับความผูกพันต่อองค์การ: กรณีศึกษาบรรษัทบริหารสินทรัพย์ สถาบันการเงิน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
\
บุรัสกร เตจ๊ะมา. (2555) . ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานโรงพยาบาลบำรุงราษฏร์อินเตอร์เนชั่นแนล. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหิดล.

พัชนี ยมาภัย. (2550). คุณภาพชีวิตของเกษตรกรในจังหวัด นครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ปริญญาคหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พัณณิน กิติพราภรณ์. (2531). คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานระดับกลาง: กรณีศึกษาโรงงานอุตสาหกรรมเวลโกรว์ จังหวัดฉะเชิงเทรา.ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคมบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ภิญโญ สาธร. (2518). หลักบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วัฒนาพานิช.

ลักษณา อินทะจักร. (2538). ความสําเร็จของงานขึ้นอยู่กับบุคลากร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วลัยพร ศิริภิรมย์. (2541). การรับรู้คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิต: กรณีศึกษา บริษัทบางกอกรับเบอร์ จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ศรีสุดา มีชำนาญ และ สมชาย ลักขณานุรักษ์ (2553) คุณภาพชีวิตของประชาชน และเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของประชาชนในอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2541). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: บริษัท ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์ จำกัด.

องค์การบริหารส่วนตำบลบางรักน้อย. (2560). รายงานประจำปี 2560: องค์การบริหารส่วนตำบลบางรักน้อยอำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี.

Walton, Richard E. (1974). Improving Quality of Work Life. Harvard Business Review, 15(5): 12-16.