การรับรู้สื่อโฆษณาที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในจังหวัดภูเก็ต
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการรับรู้สื่อโฆษณาและระดับการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในจังหวัดภูเก็ต 2) เปรียบเทียบระดับการรับรู้สื่อโฆษณาและการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับการรับรู้สื่อโฆษณาและระดับการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคในจังหวัดภูเก็ต จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ด้วยสถิติค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน
ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการรับรู้สื่อโฆษณาของผู้บริโภคในจังหวัดภูเก็ต โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยในระดับปานกลาง เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อเฉพาะกิจ สื่อมวลชน ส่วนระดับการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคโดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการประเมินทางเลือก ด้านการซื้อ ด้านการค้นหาข่าวสาร ด้านการตระหนักถึงปัญหา และด้านพฤติกรรมหลังการซื้อ ตามลำดับ 2) การเปรียบเทียบระดับการรับรู้สื่อโฆษณาของผู้บริโภค จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ ที่อยู่อาศัย สถานภาพ และระดับการศึกษา มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นด้านรายได้ต่อเดือน ส่วนการเปรียบเทียบการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลทุกด้านมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความสัมพันธ์ระหว่างระดับการรับรู้สื่อโฆษณาและระดับการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 พบว่า สื่อมวลชน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อโดยรวม มีความสัมพันธ์กับระดับการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในจังหวัดภูเก็ต
Article Details
References
ณัฐพล ตันติวงศ์ตระกูล. (2554). พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกสถานที่ท่องเที่ยว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. การค้นคว้าอิสระ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
นพคุณ เลียงประสิทธิ์. (2559). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อบ้านเดี่ยว ในเขต อำเภอละงู จังหวัดสตูล. สารนิพนธ์ หลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิตสาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
นุชจรินทร์ ชอบดำรงธรรม. (2553). อิทธิพลของสื่อโฆษณาในเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อกระบวนการตอบสนองของผู้บริโภค. ปริญญานิพนธ์ สาขาวิชาการตลาด บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พัชรา ปิ่นเพชร. (2557). ปัจจัยด้านโฆษณาที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำรถยนต์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาด และบริหารธุรกิจ, 4(1) มกราคม-มีนาคม: 110.
วิภาดา เนียมรักษา. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้ออาหารเพื่อบริโภคของนักท่องเที่ยวชาวไทยในตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2558-2559). การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน. ค้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2562, จาก https://www.nesdb.go.th/more_news.php?cid=288
สุดาดวง เรืองจิระ. (2543). หลักการตลาด. พิมพ์ครั้งที่ 9 . กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.
Alexa. (2010). Top Sites in Thailand. Retrieved on 5th April 2010, from http://www.alexa.com/topsites/countries/TH.
Kotler, P. (2000). Marketing management. 10th ed. New Jersey: Prentice-Hall, Inc.