ความผูกพันต่อองค์กรและความคิดเห็นต่อลักษณะงานที่ปฏิบัติของพนักงานชาวไทยและพนักงานชาวเมียนมาร์ระดับปฏิบัติการของบริษัท ทีโออุตสาหกรรมเครื่องชั่ง จำกัด

Main Article Content

ฐิสันต์ จินดาสุภัคพันธ์
ลักษณาวดี บุญยะศิรินันท์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความผูกพันต่อองค์กรและความคิดเห็นต่อลักษณะงานที่ปฏิบัติของพนักงานชาวไทยและพนักงานชาวเมียนมาร์ระดับปฏิบัติการของบริษัท ทีโออุตสาหกรรมเครื่องชั่ง จำกัด และเพื่อเปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานชาวไทยและพนักงานชาวเมียนมาร์ ระดับปฏิบัติการของบริษัท ทีโออุตสาหกรรมเครื่องชั่ง จำกัด จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจากพนักงานชาวไทยและพนักงานชาวเมียนมาร์ระดับปฏิบัติการของบริษัท ทีโออุตสาหกรรมเครื่องชั่ง จำกัด ด้วยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 139 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว


ผลการวิจัย พบว่า พนักงานชาวไทยมีความผูกพันต่อองค์กรภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านความต่อเนื่องมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดอยู่ในระดับมาก ส่วนพนักงานชาวเมียนมาร์มีความผูกพันต่อองค์กรภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านความรู้สึกมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดอยู่ในระดับมาก ส่วนลักษณะงานที่ปฏิบัติ พบว่า พนักงานชาวไทยมีความคิดเห็นต่อลักษณะงานที่ปฏิบัติภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านงานที่ทำมีความหลากหลายมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดอยู่ในระดับมาก และพนักงานชาวเมียนมาร์มีความคิดเห็นต่อลักษณะงานที่ปฏิบัติในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านมีความท้าทายในการทำงานมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด อยู่ในระดับมาก พนักงานชาวไทยที่มีอายุ สถานภาพการสมรส รายได้ต่อเดือน และระยะเวลาปฏิบัติงานต่างกันมีความผูกพันต่อองค์กรแตกต่างกัน ส่วนพนักงานชาวเมียนมาร์ที่มีรายได้ต่อเดือน และระยะเวลาปฏิบัติงานต่างกันให้มีความผูกพันต่อองค์กรแตกต่างกัน ยกเว้นผู้ที่มีเพศ อายุ และสถานภาพต่างกันมีความผูกพันต่อองค์กรไม่แตกต่างกัน

Article Details

How to Cite
จินดาสุภัคพันธ์ ฐ., & บุญยะศิรินันท์ ล. (2021). ความผูกพันต่อองค์กรและความคิดเห็นต่อลักษณะงานที่ปฏิบัติของพนักงานชาวไทยและพนักงานชาวเมียนมาร์ระดับปฏิบัติการของบริษัท ทีโออุตสาหกรรมเครื่องชั่ง จำกัด. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 7(1), 152–165. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/251671
บท
บทความวิจัย

References

จันทนา เสียงเจริญ. (2554). ความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน). การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอกการจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ฐิติมา หลักทอง. (2557). ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัทผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนครจังหวดชลบุรี. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณัฐพร ฉายประเสริฐ และคณะ. (2560). การจัดการส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 11(25): พฤษภาคม–สิงหาคม 2560.

ลลิตา จันทร์งาม. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน ธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ กลุ่มลูกค้าบุคคล. บริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ สำหรับนักบริหารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิลาวรรณ รพีพิศาล. (2549). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วิจิตรหัตถกร.

Allen, N.J. and Meyer, J.P. (1990). The Measurement and Antecedents or Affective, Continuance, and Normative Commitment to the Organization. Journal of Occupationnal Psychology. 63: 1-8 Collins Publishers Inc.

NATIONAL GEOGRAPHIC. (2560). ชีวิตที่จำต้องเลือกของชาวพม่าในไทย Voice TV: 25 พฤษภาคม 2562.

Yamane, T. (1967). Taro statistic: An introductory analysis. New York: Harper & row.