การจัดการเรียนรู้เชิงรุกในยุคประเทศไทย 4.0 ของครูระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในยุคประเทศไทย 4.0 ของครูระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 2) ศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู 3) เปรียบเทียบการปฏิบัติของครู และความคิดเห็นของผู้เรียน และ 4) ศึกษาพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู และพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นครู จำนวน 10 คน และผู้เรียน จำนวน 431 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสังเกตพฤติกรรมสำหรับครู และผู้เรียน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยผู้วิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบแมน-วิทนีย์ (Mann-Whitney U Test) และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) การจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูในภาพรวม ปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 2) ความคิดเห็นของผู้เรียนเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู ในภาพรวมปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 3) ผลการเปรียบเทียบการปฏิบัติการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูมีค่าเฉลี่ยมากกว่าความคิดเห็นของผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน โดยการปฏิบัติของครูกับความคิดเห็นของผู้เรียนเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้สื่อ/นวัตกรรม และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 4) ผลการสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูในภาพรวม ปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง และผู้เรียนมีพฤติกรรมการเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา. (2560). Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน. ค้นเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2562, จาก http://www.libarts.up.ac.th/v2/img/Thailand-4.0.pdf 20/6/2562
เชิดศักดิ์ ภัคดีวิโรจน์. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เรื่องทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ที่มีต่อความสามารถในการแก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และความเชื่อมั่นในตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ไชยยศ เรื่องสุวรรณ. (2553). Active Learning. ข่าวสารวิชาการ คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นนทลี พรธาดาวิทย์. (2561). การจัดการเรียนรู้แบบ Active learning. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
วันวิสา ประภาศรี. (2562). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนคณิตศาสตร์ โดยใช้การสอนแบบเปิดร่วมกับการใช้ปัญหาเป็นฐาน และ STEM Education ที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ ความสุขในการเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สถาพร พฤฑฒิกุล. (2555). คุณภาพผู้เรียน เกิดจากกระบวนการเรียนรู้. วารสารการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา, 6(2): 1-13 ค้นเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2562, จาก https://www.tcithaijo.org/index.php/EduAdm_buu/article/download/11570/10425/
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ. ค้นเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2562, จาก http://bet.obec.go.th/index/wp-content/uploads/2018/08/nn3.pdf
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). มาตรฐานการศึกษาของชาติพ.ศ.2561. ค้นเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2562, จาก http://www.sesa17.go.th/site/images/
Publish2.pdf