แนวทางการพัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา ๒ ตามแนวคิดวิถีประชาธิปไตย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และค่าความต้องการจำเป็นของการบริหารกิจการนักเรียนตามแนวคิดวิถีประชาธิปไตย และ 2) นำเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารกิจการนักเรียน โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา ๒ ตามแนวคิดวิถีประชาธิปไตย ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยผู้บริหาร 5 คน ครู 138 คน และนักเรียน จำนวน 347 คน รวมทั้งสิ้น 490 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบประเมินความเหมาะสมและเป็นไปได้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารกิจการนักเรียนตามแนวคิดวิถีประชาธิปไตยอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารกิจการนักเรียนตามแนวคิดวิถีประชาธิปไตยอยู่ในระดับมาก ความต้องการจำเป็นในการบริหารกิจการนักเรียนตามแนวคิดวิถีประชาธิปไตยที่มีลำดับสูงสุดคือ งานกิจกรรมนักเรียน โดยมีค่าความต้องการจำเป็นตามแนวคิดวิถีประชาธิปไตยที่สูงสุด คือ ด้านปัญญาธรรม ต่ำที่สุด คือ ด้านสามัคคีธรรม ค่าความต้องการจำเป็นในการบริหารกิจการนักเรียนตามแนวคิดวิถีประชาธิปไตยที่มีลำดับต่ำสุด คือ งานวินัยและความประพฤตินักเรียน โดยมีค่าความต้องการจำเป็นตามแนวคิดวิถีประชาธิปไตยที่สูงสุด คือ ด้านสามัคคีธรรม ต่ำที่สุด คือ ด้านคารวธรรม 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา ๒ ตามแนวคิดวิถีประชาธิปไตย ประกอบด้วย 2 แนวทาง คือ 1) แนวทางการพัฒนางานกิจกรรมนักเรียนเพื่อส่งเสริมปัญญาธรรมและคารวธรรม 2) แนวทางการพัฒนางานวินัยและความประพฤตินักเรียนเพื่อส่งเสริมสามัคคีธรรมและปัญญา
Article Details
References
กาญจนา พวงจิตต์. (2550). การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมวินัยของนักเรียน: พหุกรณีศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คเชนเทพ จันทรวงศ์. (2561). การพัฒนาคู่มือการบริหารงานสภานักเรียนตามแนวคิดความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คมสัน สุขมาก. (2553). การพัฒนาโปรแกรมเพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์เชิงจิตสำนึกสาธารณะของอาสาสมัครตำรวจ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียนคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จิราพรรณ เรืองพุทธ. (2556). การวิเคราะห์กิจกรรมส่งเสริมการมีจิตอาสาของนักเรียนมัธยมศึกษา: การวิจัยแบบผสมวิธี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไชยา ศรีสร้อย และคณะ. (2556). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างระเบียบวินัยของนักเรียนบ้านคำแหว สังกัดสำนักงานเขตพ้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2. วารสารบัณฑิตศึกษา, 10(47): 63-74.
ดวงจิต สนิทกลาง. (2561). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำที่ยอดเยี่ยม. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ถิรพงศ์ ฤกษ์ขำ และคณะ. (2558). การพัฒนารูปแบบการพัฒนาวินัยของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในกรุงเทพมหานคร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 9(ฉบับพิเศษ): 169-185.
ทัศนา บุญทอง. (2559). ประชาธิปไตย แนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน (Democracy: Direction for sustainable Development). ค้นเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2562, จาก http://www.constitutionalcourt.or.th/occ_web/ewt_dl_link.php?nid=8876.
พงษ์เกษม สิงห์รุ่งเรือง. (2559). การพัฒนาโปรแกรมกิจกรรมนันทนาการเพื่อลดพฤติกรรมความก้าวร้าวของนักเรียนอาชีวศึกษาโดยบูรณาการแนวคิดปรับพฤติกรรมทางปัญญา.วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรรณทิพย์พา ทองมี. (2560). แผนการสอนจิตศึกษาเพื่อพัฒนาปัญญาภายใน. พิมพ์ครั้งที่ 2. บุรีรัมย์: โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา.
ฤติ สุนทรสิงห์. (2559). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนตามแนวคิดการพัฒนาคุณภาพนักเรียนด้านประชาธิปไตย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วราภรณ์ บุญดอก. (2559). สภาพและปัญหาการบริหารกิจการนักเรียนโรงเรียนมัธยมวัดหนองจอก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
วาทยุทธ พุทธพรหม. (2555). การพัฒนาระบบการบริหารงานกิจการนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิสุทธิ์ โพธิแท่น. (2544). การดำเนินกิจกรรมของพรรคการเมืองไทย. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ.2561. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ.
สุมาลี ตังคณานุรักษ์ และคณะ. (2559). รายงานการวิจัยและพัฒนารูปแบบเพื่อการพัฒนาความรับผิดชอบ การควบคุมและความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Bear, G. B. (2010). School discipline and self-discipline: a practical guide to promoting prosocial student behavior. New York: A Division of Guilford Publications.
Galvin, P., Miller, A., & Nash, J. (1999). Behavior and discipline in schools 1. New York: David Fulton Publishers.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row Publications.