การศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารโรงเรียนอาชีวศึกษา จังหวัดนนทบุรี ตามแนวคิดการเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม

Main Article Content

พ.ท.นรเศรษฐ์ มุนีรักษา
นันทรัตน์ เจริญกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารโรงเรียนอาชีวศึกษา จังหวัดนนทบุรีตามแนวคิดการเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม ประชากรที่ศึกษา คือ โรงเรียนอาชีวศึกษา จังหวัดนนทบุรี ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยผู้อำนวยการโรงเรียนจำนวน และครูจำนวน 168 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น (PNIModified) ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการจำเป็นของการบริหารโรงเรียนอาชีวศึกษา จังหวัดนนทบุรีตามแนวคิดการเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม มีลำดับความต้องการจำเป็นจากสูงที่สุดไปหาต่ำที่สุดคือ ด้านที่ 3 การวัดและประเมิลผล (PNIModified=0.211) มีองค์ประกอบที่มีค่าความต้องการจำเป็นที่สูงสุด และต่ำสุดคือ องค์ประกอบที่ 6 ความสามารถเป็นผู้ประกอบการ (PNIModified=0.223) และองค์ประกอบที่ 2 การสื่อสารเชิงบวก (PNIModified=0.198) ด้านที่ 4 งานกิจกรรมนักเรียน (PNIModified=0.208) มีองค์ประกอบที่มีค่าความต้องการจำเป็นที่สูงสุดและต่ำสุดคือ องค์ประกอบที่ 6 ความสามารถเป็นผู้ประกอบการ (PNIModified=0.253) และองค์ประกอบที่ 1 ความสามารถแก้ปัญหา (PNIModified=0.185) ด้านที่ 2 การเรียนการสอน (PNIModified=0.201) มีองค์ประกอบที่มีค่าความต้องการจำเป็นที่สูงสุดและต่ำสุดคือ  องค์ประกอบที่ 4 ทักษะการสะท้อนคิด (PNIModified=0.220) และองค์ประกอบที่ 3 ทักษะข้ามวัฒนธรรม (PNIModified=0.172) และด้านที่ 1 การพัฒนาหลักสูตร (PNIModified=0.171) มีองค์ประกอบที่มีค่าความต้องการจำเป็นที่สูงสุดและต่ำสุดคือ องค์ประกอบที่ 4 ทักษะการสะท้อนคิด (PNIModified=0.190) และองค์ประกอบที่ 2 การสื่อสารเชิงบวก (PNIModified=0.148)

Article Details

How to Cite
มุนีรักษา พ., & เจริญกุล น. (2021). การศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารโรงเรียนอาชีวศึกษา จังหวัดนนทบุรี ตามแนวคิดการเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 7(1), 90–103. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/251666
บท
บทความวิจัย

References

ทวีศักดิ์ หงษ์เจริญ. (2563). ความต้องการจำเป็นของการบริหารโรงเรียนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดสระแก้วตามแนวคิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน. วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา, 3 (มกราคม-เมษายน): 40-60.

ลือชัย แก้วสุข. (2555). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อตอบสนองความต้องการกําลังคนของสถานประกอบการ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี. (2561). การพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนการอาชีวศึกษาแบบทวิวุฒิระบบขนส่งทางรางรองรับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกส่งเสริมการมีงานทำ. รายงานการศึกษาวิจัยวิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี.

ศึกษาธิการจังหวัดนนทบุรี. (2562). รายงานการประชุมศึกษาธิการจังหวัดนนทบุรี 2562. นนทบุรี: ศึกษาธิการจังหวัดนนทบุรี.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2552). ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาว่าด้วยการบริหารสถานศึกษา พ.ศ 2552. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ.2561. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

Wiggins, G. & Mc Tighe, J. (2006). Understanding by design. Alexandria: Association for Supervision and Curriculum Development.