กลยุทธ์การบริหารต้นทุนของธุรกิจผลิตสินค้าในสถานการณ์โควิด-19

Main Article Content

สุนันทา สังขทัศน์

บทคัดย่อ

ปัจจุบันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้สร้างความโกลาหลและทำให้เกิดปัญหาอย่างหนักต่อเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ตลอดรวมไปถึงวิธีการดำรงชีวิตของประชาชนพลเมืองทั่วโลก ส่งผลให้เศรษฐกิจทั่วโลกตกต่ำอย่างรุนแรง ทุกภาคส่วนธุรกิจดำเนินงานอย่างชะลอตัวลง เกิดการหยุดชะงัก บางองค์กรขาดทุนและต้องปิดกิจการในที่สุด ส่งผลให้เกิดการเลิกจ้างงาน ประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากผลกระทบดังกล่าว ในขณะที่องค์กรธุรกิจยังจะต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรง อันเนื่องจากสภาวะการแข่งขันสูงในโลกยุคโลกาภิวัตน์ สภาวการณ์ทางธรรมชาติ สังคมและการเมืองที่เปลี่ยนแปลง


จากสภาวการณ์นี้ทำให้เห็นถึงองค์กรธุรกิจต่าง ๆ นำกลยุทธ์ออกมาใช้เพื่อความอยู่รอด แสดงให้เห็นถึงความกระตือรือร้นในการแก้ไขปัญหาวิกฤติ เพื่อหาวิธีการบริหารกับต้นทุนในองค์กรเพื่อความอยู่รอดภายใต้การแข่งขันที่รุนแรงในสภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำจากปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่กำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ ดังนั้นการจัดองค์กรกับกลยุทธ์ทางต้นทุน สามารถนำมาปรับใช้กับองค์กรได้ เพื่อที่จะนำพาองค์กรธุรกิจให้อยู่รอด โดยผู้บริหารต้องพิจารณากลยุทธ์การบริหารองค์กรในหลาย ๆ ด้าน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันที่ซับซ้อนมากขึ้น จึงได้มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการทางธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ ทำให้องค์กรต้องมีระบบการควบคุมเชิงจัดการคือการใช้กลยุทธ์การบริหารต้นทุน โดยใช้แนวคิดด้านบัญชีต้นทุนการบริหาร โดยมีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ บทบาทการตัดสินใจ และบทบาทในการช่วยบริหารต้นทุนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการบริหารต้นทุนเชิงกลยุทธ์นี้ ได้แก่ การบริหารโดยกิจกรรม ต้นทุนเป้าหมาย วงจรต้นทุน การบริหารต้นทุนโดยรวม การบริหารแบบทันเวลา การผลิตแบบลีน การบัญชีเพื่อความยั่งยืน มาปรับใช้เป็นต้น กลยุทธ์ดังกล่าวทำให้องค์กรเพิ่มขีดความสามารถในด้านการแข่งขัน อันจะเป็นผลดีต่อองค์กรและระบบเศรษฐกิจของประเทศด้วย

Article Details

How to Cite
สังขทัศน์ ส. (2021). กลยุทธ์การบริหารต้นทุนของธุรกิจผลิตสินค้าในสถานการณ์โควิด-19. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 7(1), 1–13. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/251634
บท
บทความวิชาการ

References

โกศล ดีศีลธรรม. (2547). เพิ่มศักยภาพการแข่งขันด้วยแนวคิดลีน. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ธีรชัย อรุณเรืองศิริเลิศ. (2553). การประยุกต์ใช้ระบบต้นทุนฐานกิจกรรม. วารสารวิชาชีพบัญชี, 6(17): 86-89.

นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ และ ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2554). ทฤษฎีการบัญชี. กรุงเทพฯ: ทีพีเอ็นเพรส.

วิจิตรา พูลเพิ่มทรัพย์. (2544). หลักการบัญชีต้นทุน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สมนึก เอื้อจีระพงษ์พันธ์. (2546). การบัญชีเพื่อการจัดการและการบริหารต้นทุน. กรุงเทพฯ: ธรรมนิติเพรส จำกัด.

Alles, M., Datar, S.M., & Lambert, R.A. (1995). Moral hazard and management control in just-in-time Settings. Journal of Accounting Research, 33: 177-204.

Ansri, S., Bell, J., & Swenson, D. (2006). A template for implementing target costing. Cost Management, Journal of Cost Management, 20(5): 20-27.

Baykasoglu, A., & Kaplanoglu, V.(2008). Application of activity-based costing to land Transportation company: A case study. Retrieved on 12th April 2020, from http://www.researchgate.net/publication/22225361_Application_of_activity-based_costing_to_a_land_transportation_company_A_case_study.

Bhimani, W. (1984). Modern cost management: Putting the organization before the technique. International Journal Organizational Analysis, 6(3): 29-34.

Chenhall, R.H., & Langfield – Smith, K. (1998). The relationship between strategic priorities, management techniques and management accounting: An empirical investigation using a systems approach. Accounting, Organizations and Society, 23(3): 243–264.

Cooper, R., & Langfield-Smith, K. (1998). Develop profitable new products with target costing. Sloan Management Review, 40(4): 23-33.

Degraeve, Z. & Roodhooft, F. (2000). A mathematical programming approach for procurement using activity based costing. Journal of Business Finance & Accounting, 27: 69-98.

Kouvelis, P.C., Chambers, & Wang, H. (2006). Supply chain management research and production and operations management. Review, trends, and opportunities, Production and Operations Management, 15(3): 449-469.

Marcelino_Aranda, M., Ramirez Herrera, D., & Yarto Chavez, M. (2013). Quality management system case study, in a Mexican company service. Journal of Basic and Applied Scientific Research, 3(1): 67-77.

Maskell, B.H., & Baggaley, B.L. (2006). Lean accounting: What’s it all about? Retrieved on April 8, 2020, form http://www .lean accountingsummit.com.

Oluwagbemiga, O.E., Olugbenga, O.M. and Zaccheaus, S.A.(2014). Cost Management Practices and Firm’s Performance of Manufacturing Organization, International Journal of Economics and Finance, 6(6): 234-239.

Rodriguez-Lazaro, D. (2013). Real-time PCR in food science: Current technology and applications. Norfolk, UK: Caister Academic Press.

Schmelize, G., Geier, R., & Buttross, T.E. (1996). Target costing at ITT automotive. Management Accounting, 78(6): 26-30.

Simoes, C.L., Costa Pinto, L.M., Simoes, R., & Bernardo, C.A. (2013). Integrating environmental and economic life cycle analysis in product development: A material selection case study. The International Journal of Life Cycle Assessment, 18(9): 1734-1746.

StenZel, J. (2007). Lean accounting: Best Practices for sustainable integration. New Jersey: John Wiley & Sons.

Sunil, C., & Peter. M. (2007). Supply chain management strategy, planning & operations. New York: Pearson Education.