ความรู้ทางการเงิน เจตคติต่อการเงิน การบริหารจัดการการเงิน ความเชื่ออำนาจแห่งตน และสุขภาวะทางการเงินของนักศึกษา

Main Article Content

อัชฌา ชื่นบุญ
ชญารัตน์ บุญพุฒิกร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรู้ทางการเงิน เจตคติต่อการเงิน การบริหารจัดการการเงิน ความเชื่ออำนาจแห่งตน และสุขภาวะทางการเงิน 2) เปรียบเทียบความรู้ทางการเงิน เจตคติต่อการเงิน การบริหารจัดการการเงิน ความเชื่ออำนาจแห่งตน และสุขภาวะทางการเงิน จำแนกตามสาขาวิชา และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ทางการเงิน เจตคติต่อการเงิน การบริหารจัดการการเงิน ความเชื่ออำนาจแห่งตน และสุขภาวะทางการเงินของนักศึกษาวิทยาลัยเซนต์หลุยส์กับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีของวิทยาลัยเซนต์หลุยส์ จำนวน 131 คน กับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ จำนวน 396 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนของคณะ เก็บรวบรวมโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


ผลการวิจัย พบว่า 1) เจตคติต่อการเงิน และความเชื่ออำนาจแห่งตนโดยรวมอยู่ในระดับมาก แต่ความรู้ทางการเงิน การบริหารจัดการการเงิน และสุขภาวะทางการเงินอยู่ในระดับปานกลาง 2) สาขาวิชาแตกต่างกัน ความรู้ทางการเงิน ความเชื่ออำนาจแห่งตน และสุขภาวะทางการเงินแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) การบริหารจัดการการเงินกับความเชื่ออำนาจแห่งตน เจตคติต่อการเงินกับการบริหารจัดการการเงิน เจตคติต่อการเงินกับ ความเชื่ออำนาจแห่งตน ความรู้ทางการเงินกับการบริหารจัดการการเงิน และความเชื่ออำนาจแห่งตนกับสุขภาวะทางการเงิน มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01

Article Details

How to Cite
ชื่นบุญ อ., & บุญพุฒิกร ช. (2020). ความรู้ทางการเงิน เจตคติต่อการเงิน การบริหารจัดการการเงิน ความเชื่ออำนาจแห่งตน และสุขภาวะทางการเงินของนักศึกษา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 6(3), 248–262. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/248986
บท
บทความวิจัย

References

ภูเบศร์ สมุทรจักร และ มนสิการ กาญจนะจิตรา. (2557). พฤติกรรมบริโภคนิยมในวัยรุ่นไทย และปัจจัยที่เป็นสาเหตุ. วารสารธรรมศาสตร์, 33(1) มกราคม–เมษายน: 46–69.

Best, J.W. (1981). Research in education. 4thed. New Jersey: Prentice Hall.

Dessart, A.M., & Kuylen, A.A. (1986). The nature, extent, cause and consequence of problematic debt situations. Journal of Consumer Policy, 9(3) September: 311–334.

Dwiastanti, Anis. (2017). Analysis of financial knowledge and financial attitude on locus of control and financial management behavior. Retrieved on 3th March, 2020, from https://www.researchgate.net/publication/323971610

Falahati, L. & Sabri, M.F. (2015). An exploratory study of personal financial wellbeing determinants: examining the moderating effect of gender. Asian Social Science, 11(4) January: 33–42.

Gutter, M., & Copur, Z. (2011). Financial behaviors and financial well–Being of college students: evidence from a national survey. J Fam Econ Iss, 32 December: 699–714.

Jorgensen, B.L. (2007). Financial literacy of college students: parental and peer influences. Human Development. Faculty of the Virginia Polytechnic Institute and State University.

Mokhtar, N., & Husniyah, A. R. (2017). Determinants of financial well–being among public employees in putrajaya, Malaysia. Pertanika Journal, 25 (3) February: 1241–1260.

Perry, V. G., & Morris, M. D. (2005). Who Is in control? The role of self–perception, knowledge, and income in explaining consumer financial behavior. Journal of consumer affairs, 39(2) September: 299–313.

Prihartono, M. R.D. & Asandimitra, N. (2018). Analysis factors influencing financial management behaviour. International Journal of Academic Research in Business and Social Sciences, 8(8) August: 308–326.

Robb, C. A., & Woodyard, A. (2011). Financial knowledge and best practice behavior. Journal of Financial Counseling and Planning, 22(1) January: 60–70.

Rotter, J. (1966). Generalized expectancies for internal versus external control of Reinforcement. Psychological Monographs: General and Applied, 80(1), 1–28. Doi: 10.1037/h0092976

Sabri, M. F., & Falahati, L. (2012). Estimating a model of subjective financial well–being among college Students. International Journal of Humanities and Social Science, 18(2) October: 191–198.

Shih, T. Y., & Ke, S. C. (2014). Determinates of financial behavior: insights into consumer money attitudes and financial literacy. Service Business, 8(2) June: 217–238.

Shim, S., Xiao, J. J., Barber, B. L., & Lyons, A. (2009). Pathwaystolife success: A conceptual model of financial well–being for young adults. Journal of Applied Developmental Psychology, 30(6) January: 708–723.

Vosloo, W., Fouché, J., & Barnard, J. (2014). The relationship between financial efficacy, satisfaction with remuneration and personal financial well–being. International Business & Economics Research Journal, 13(6) November/ December: 1455–1470.

Worthy, S. L., Jonkman, J., & Pike, L. B. (2010). Sensation–seeking, risk–taking, and problematic financial behaviors of college students. Journal of Family and Economic Issues, 31 Febuary: 161–170.

Xiao, J. J., Sorhaindo, B., & Garman, E. T. (2006). Financial behaviors of consumers in credit counseling. International Journal of Consumer Studies, 30(2) July: 108–121.

Zakaria, R.H., Jaafar, N.I.M., & Marican, S. (2012). Financial Behavior and Financial Position: A Structural Equation Modeling Approach. Middle–East Journal of Scientific Research, 12(10) January: 1396–1402.