นันทนาการในคนไทยสูงอายุ: การสนับสนุน แรงจูงใจ ความพึงพอใจ และมุมมองด้านประโยชน์ของกิจกรรมนันทนาการ
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) อิทธิพลของการสนับสนุนกิจกรรมนันทนาการจากทางครอบครัวที่มีผลต่อแรงจูงใจในกิจกรรมนันทนาการของคนไทยสูงอายุ 2) อิทธิพลของปัจจัยแรงจูงใจในกิจกรรมนันทนาการที่มีผลต่อความพึงพอใจในกิจกรรมนันทนาการของคนไทยสูงอายุ และ 3) อิทธิพลของปัจจัยแรงจูงใจในกิจกรรมนันทนาการที่มีผลต่อมุมมองด้านประโยชน์ของกิจกรรมนันทนาการของคนไทยสูงอายุ กลุ่มตัวอย่าง คือ คนไทยที่อยู่ในวัยสูงอายุ จำนวน 394 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลด้วยวิธีสุ่มแบบตามสะดวก การวิเคราะห์ทางสถิติใช้การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์สมการถดถอย
ผลการวิจัย พบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของตัวแปรทุกตัว ได้แก่ การสนับสนุนจากครอบครัว แรงจูงใจ ความพึงพอใจ และมุมมองด้านประโยชน์ของกิจกรรมนันทนาการ มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก 2) การสนับสนุนจากครอบครัวมีผลเชิงบวกต่อแรงจูงใจในกิจกรรมนันทนาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 3) แรงจูงใจในกิจกรรมนันทนาการส่งผลเชิงบวกต่อความพึงพอใจในกิจกรรมนันทนาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ 4) แรงจูงใจในกิจกรรมนันทนาการส่งผลเชิงบวกต่อมุมมองด้านประโยชน์ของกิจกรรมนันทนาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
参考
กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2557). คู่มือผู้นำนันทนาการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์.
จิตราภรณ์ เถรวัตร และ ธง คำเกิด. (2560). การสร้างรูปแบบกิจกรรมนันทนาการเพื่อการท่องเที่ยวแบบหมู่คณะของนักท่องเที่ยวชาวไทย. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 1(9) มกราคม-มิถุนายน 2560: 83-99.
พัชราพรรณ กิจพันธ์. (2561). ประเทศไทยสู่สังคมผู้สูงอายุ. วารสารอาหารและยา, กันยายน-ธันวาคม 2561: 4-8.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2562). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2561. นครปฐม: พริ้นเทอรี่.
ฤทธิรณ พุ่มโภคัย และ ประสพชัย พสุนันท์. (2560). ปัจจัยของรูปแบบการทำกิจกรรมนันทนาการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในทางสถานที่จัดกิจกรรมนันทนาการของผู้สูงอายุชาวตำบลสามพระยา จังหวัดชลบุรี. การประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านการบริหารกิจการสาธารณะ ครั้งที่ 4, วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น, สิงหาคม 2560: 576-588.
วรวุฒิ ธาราวุฒิ สาลี่ สุภาภรณ์ และ อุษากร พันธุ์วานิช. (2560). โยคะบำบัดสำหรับผู้สูงอายุ: การออกแบบโปรแกรม. วารสารคณะพลศึกษา, 20(2) กรกฎาคม-ธันวาคม 2560: 83-93.
วัชรินทร์ เสมามอญ. (2556). การมีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมนันทนาการสำหรับผู้สูงอายุในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดอ่างทอง. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
สถิตพงศ์ ธนวิริยะกุล. (2556). มโนทัศน์ใหม่นิยามผู้สูงอายุและการขยายอายุเกษียณ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.
สมบัติ กาญจนกิจ. (2557). นันทนาการและอุตสาหกรรมท่องเที่ยว. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวรรณา เตชะธีระปรีดา. (2557). การบริหารจัดการกิจกรรมนันทนาการเพื่อผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลหนองน้ำใส อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ, 3(2) กรกฎาคม-ธันวาคม 2557: 89-100.
Brown, K. M., Curry, N., Dilley, R., Taylor, K., & Clark, M. (2010). Assessing future recreation demand. Scottish Natural Heritage Commissioned Report No. 404.
Cheng, E. H., Patterson, I., Packer, J., & Pegg, S. (2011). Identifying the satisfactions derived from leisure gardening by older adults. Annals of Leisure Research, 13(3), September 2011: 395-419.
Cochran, W. G. (1963). Sampling techniques. 2nd ed. New York: John Wiley and Sons.
Galenkamp, H., Gagliardi, C., Principi, A., Golinowska, S., Moreira, A., Schmidt, A. E., Winkelmann, J., Sowa, A., van der Pas, S., & Deeg, D. J. H. (2016). Predictors of social leisure activtites in older Europeans with and without multimorbidity. European Journal of Ageing, 13, May 2016: 129-143.
Gautam, R., Saito, T., & Kai, I. (2007). Leisure and religious activity participation and mental health: Gender analysis of older adults in Nepal. BMC Public Health, 7(299), October 2007: 1-11.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E., (2014). Multivaliate data analysis. 7th ed. US: Pearson Education.
Kim, J., Yamada, N., Heo, J., & Han, A. (2014). Health benefits of serious involvement in leisure activities among older Korean adults. International Journal of Qualitative Studies on Health and Well-being, 9, July 2014: 1-9.
Lin, C. S., Jeng, M. Y., & Yeh, T. M. (2018). The elderly perceived meanings and values of virtual reality leisure activities: A mean-end chain approach. International Journal of Environmental Research and Public Health, 15(663), April 2018: 1-13.
Miyake, M. & Rodgers, E. (2008). Interrelationship of motivation for and perceived constraints to physical activity participation and the well-being of senior center participants. Proceedings of the 2008 Northeastern Recreation Research Symposium, March 30 - April 1, 2008.
Sarvari, H. & Abedini, A. (2014). The assessment of elderly recreation and leisure activities construction center: A case study in Rasht. European Online Journal of Natural and Social Sciences, 3(4), December 2014: 73-79.
Singh, B. & Kiran, U. V. (2014). Recreational activities for senior citizens. IOSR Journal of Humanities and Social Science, 19(4), January 2014: 24-30.
Toepoel, V. (2013). Ageing, leisure, and social connectedness: How could leisure help reduce social isolation of older people? Social Indicators Research, 113, June 2012: 355-372.
Yen, H. Y. & Lin, L. J. (2018). Quality of life in older adults: Benefits from the productive engagement in physical activity. Journal of Exercise Science & Fitness, 16, June 2018: 49-54.