การจัดการความรู้กับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานพันธกิจการศึกษา มูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย

Main Article Content

จริยา แซ่อึ้ง
สำเริง อ่อนสัมพันธุ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การจัดการความรู้ในโรงเรียน 2) การปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานพันธกิจการศึกษามูลนิธิสภาคริสตจักรในประเทศไทย และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความรู้กับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานพันธกิจการศึกษามูลนิธิสภาคริสตจักรในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ให้ข้อมูล 144 คน จาก 24 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการความรู้ ตามแนวคิดของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร และแนวคิดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครูของคุรุสภา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน


ผลการวิจัย พบว่า 1) การจัดการความรู้ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานพันธกิจการศึกษา มูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.05 และรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน 2) การปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานพันธกิจการศึกษา มูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.22 และรายด้านอยู่ในระดับมาก 3) การจัดการความรู้กับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานพันธกิจการศึกษา มูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย ในภาพรวมมีความสัมพันธ์คล้อยตามกันในระดับปานกลาง (rxy=.642) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

How to Cite
แซ่อึ้ง จ., & อ่อนสัมพันธุ์ ส. (2020). การจัดการความรู้กับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานพันธกิจการศึกษา มูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 6(3), 44–59. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/248918
บท
บทความวิจัย

References

เฉลิมขวัญ ถือความสัตย์. (2555). การตัดสินใจของผู้บริหารกับการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณทิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธิดารัตน์ เสวิกุล และ เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2557). การศึกษาการจัดการความรู้ของครูในสถานศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์, 9(3).

ปอส์ ไกรวิญญ์. (2557). สภาพและปัญหาการจัดการความรู้ของโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาในเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชา นโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรรณิดา นาคะผิว. (2556). ปัจจัยการเปลี่ยนแปลงองค์การกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณทิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร.

โพสต์ทูเดย์ออนไลน์. (2558). ปัญหาอมตะครู. ค้นเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2560, จาก http://www.posttoday.com/analysis/report/341473.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2558). บทบาทของครูในอนาคต: เตรียมผู้เรียนให้สอนตนเองได้ต่อไป. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 1(1): 1-8.

วันดี โต๊ะดำ. (2555). ปัญหาของการจัดการความรู้ (Knowledge Management) เมืองไทย. ค้นเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2560, จาก https://www.gotoknow.org/posts/342229.

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2550). การจัดการความรู้. นครปฐม: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สันธยา ดารารัตน์. (2561). มหาวิทยาลัยในฐานะที่เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในยุคไทยแลนด์ 4.0.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 4(supplement): 1-8.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2558). มาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ Professional Standards and Ethics. กรุงเทพฯ: พี.เอ. ลีฟวิ่ง.

สุนิตา สุบินยัง. (2554). การจัดระบบสารสนเทศกับการจัดการความรู้ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขา การบริหารการศึกษา บัณทิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร.

เสือสีส้ม [นามแฝง]. (2556). การพัฒนาวิชาชีพครู. ค้นเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2560, จาก http://oknation.nationtv.tv/blog/tippanaw/2013/03/12/entry-1.

John W. Best. (1970). Research in Education. Englewood Cliffs, New jersey: Prentice-Hall lnc.

Lee J. Cronbach. (1974). Essentials of Phychological. 3rd ed. New York: Harper & Row Publisher.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement, 30(3): 607-610.

Sherron Lawson. (2005). Examining the Relationship between Organization Culture and Knowledge Management. Retrieved on 23th November, 2016, from http://proquest.umi.com