ลักษณะภาวะผู้นำของผู้บริหารกับแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากร กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยเอกชนเครือข่ายความร่วมมือเบญจมิตรวิชาการ

Main Article Content

ยุทธนาท บุณยะชัย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะภาวะผู้นำของผู้บริหารของมหาวิทยาลัยเอกชนตามความคิดเห็นของบุคลากร 2) ศึกษาแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากรของมหาวิทยาลัยเอกชนตามความคิดเห็นของบุคลากร 3) เปรียบเทียบลักษณะภาวะผู้นำของผู้บริหารของมหาวิทยาลัยเอกชนตามความคิดเห็นของบุคลากร จำแนกตามลักษณะด้านประชากรศาสตร์ 4) เปรียบเทียบแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากรของมหาวิทยาลัยเอกชน จำแนกตามลักษณะด้านประชากรศาสตร์ และ 5) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะภาวะผู้นำกับแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากรของมหาวิทยาลัยเอกชน กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรของสถาบันอุดมศึกษาในเครือข่ายความร่วมมือเบญจมิตร ได้แก่ อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนสนับสนุนการเรียนการสอน จำนวนทั้งสิ้น 286 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานใช้การเปรียบเทียบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) มีการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD (Least Significant Difference) และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Correlation Coefficient)


ผลการวิจัย พบว่า 1) บุคลากรส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าผู้บริหารมีลักษณะภาวะผู้นำแบบทำงานเป็นทีมมากที่สุด รองลงมา คือ ลักษณะผู้นำแบบมุ่งงาน และลักษณะผู้นำแบบมุ่งคน ตามลำดับ ปัจจัยกระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากร อันดับที่ 1 คือ ด้านความสำเร็จในงาน ปัจจัยการธำรงรักษา อันดับที่ 1 คือ ด้านความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน 2) บุคลากรที่มีสถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และคณะที่สังกัดต่างกันมีความคิดเห็นเรื่องลักษณะภาวะผู้นำของผู้บริหารมหาวิทยาลัยเอกชนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3) บุคลากรที่มีสถานภาพสมรส คณะที่สังกัดต่างกันมีความคิดเห็นเรื่องปัจจัยกระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเอกชนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 4) บุคลากรที่มีระดับการศึกษาตำแหน่งงาน อายุงาน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน คณะที่สังกัดต่างกัน มีความคิดเห็นเรื่องปัจจัยการธำรงรักษาของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเอกชนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และ 5) ลักษณะภาวะผู้นำแต่ละแบบกับแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากรของมหาวิทยาลัยเอกชนมีความสัมพันธ์กันในเชิงบวกไปในทิศทางเดียวกัน

Article Details

How to Cite
บุณยะชัย ย. (2020). ลักษณะภาวะผู้นำของผู้บริหารกับแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากร กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยเอกชนเครือข่ายความร่วมมือเบญจมิตรวิชาการ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 6(2), 182–195. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/246226
บท
บทความวิจัย

References

กัตติกา อร่ามโชติ. (2559). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของทหารพราน กรมทหารพรานที่ 48 จังหวัดนราธิวาส. สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการภาครัฐและเอกชน มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

จันทรัศม์ ภูติอริยวัฒน์. (2560). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการทำงานของครูที่ส่งผลต่อจิตวิญญาณความเป็นครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยม กรุงเทพมหานครเขต 2. วารสารวิชาการ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ, 10(3) กันยายน-ธันวาคม 2560.

ณัดดา ทิพย์จันทา. (2562). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการของสายการบินไทยแอร์เอเชีย. บทความวิชาการ สังกัดภาควิชา ธุรกิจการบิน สถาบันพัฒนาบุคลากรการบิน มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.

ธัญญามาส โลจนานนท์. (2557). ภาวะผู้นำและแรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของพนักงาน กรณีศึกษา บริษัท ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นาถนภา ยมจันทร์. (2560). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในศูนย์คุณภาพการศึกษากลุ่มหนองบัว 01 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3. บทความวิชาการ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปราณี หลำเบ็ญสะ. (2559). การหาคุณภาพของเครื่องมือวัดและประเมินผล. ค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2561, จาก http://edu.yru.ac.th/evaluate/attach/1465551003.

พินิจ โกธากานต์. (2559). ผู้นำและภาวะผู้นำกับความสำเร็จขององค์การ. ค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2561, จาก http://phinit0112.blogspot.com/.

ศิริกัลยา สามไชย. (2559). แรงจูงใจในการทำงาน ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ: กรณีศึกษาพนักงานบริษัทผลิตเครื่องมือแพทย์แห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิลาพร จำปารัตน์ และ ชยุต วิจิตรสุนทร. (2558). แนวทางการพัฒนาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนระดับปฐมวัยในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเจตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 1. รายงานการสืบเนื่องการประชุมวิชาการ (Proceeding) เครือข่ายบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15 มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (2560). ข้อมูลสถิติทางการศึกษา รายงานจำนวนบุคลากร. ค้นเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2562, จาก http://www.info.mua.go.th/info/.

อริญชญา วงศ์ใหญ่. (2558). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรทางการศึกษาในวิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ จังหวัดเชียงใหม่. งานวิจัย วิทยาลัยเทคโนโลยีและบริหารธุรกิจ.

Filho, A, Pimenta, C, & Borges, K. (2015). Study of the Leadership Styles considering Gender Differences. Journal of Management and Business Research, 15(2).

Ozsoy, E. (2019). An Empirical Test of Herzberg’s Two-Factors Motivation Theory. Marketing and Management of Innovations, 2(1).

Thompson, S.K. (1992). Sampling. New York: John Wiley and Sons.