การสร้างนวัตกรรมใหม่กับการบริการสาธารณะในยุคไทยแลนด์ 4.0 ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดในยุคไทยแลนด์ 4.0 2) ศึกษาผลกระทบการบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดในยุคไทยแลนด์ 4.0 3) ศึกษาแนวทางการสร้างนวัตกรรมใหม่ในการบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดในยุคไทยแลนด์ 4.0 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด จำนวน 36 คน เป็นการวิจัยแบบเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาความ
ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญกับโครงสร้างพื้นฐานมากที่สุดเพระมีความคิดเห็นว่าโครงสร้างพื้นฐานมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชนที่ต้องได้รับการดูแลจากหน่วยงานภาครัฐให้มีความปลอดภัย มีความสะดวก และที่สำคัญมากที่สุดต้องสร้างความพึงพอใจในการให้บริการประชาชน 2) กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญเรื่องผลกระทบความอิสระในการใช้อำนาจขององค์การบริหารส่วนจังหวัดมากที่สุด เพราะในการปฏิบัติงานในแต่ละครั้งถ้าได้ทำงานอย่างอิสระโดยไม่ถูกควบคุมจากหน่วยงานอื่นทำให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่โดยเฉพาะอย่างยิ่งสามารถปฏิบัติได้อย่างรวดเร็วตอบสนองความต้องการของประชาชนให้พึงพอใจได้ 3) กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญกับการสร้างนวัตกรรมใหม่ในการบริการสาธารณะให้ความสำคัญในเรื่องความเป็นมืออาชีพมากที่สุด ซึ่งความเป็นมืออาชีพนั้นจะต้องมีองค์ความรู้ในทำงานสูงมีความสามารถ มีความถนัดในงานที่ทำโดยสามารถใช้ความรู้ที่ได้ศึกษามาแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้กับผู้มาขอรับการบริการได้เป็นผลสำเร็จทุกเรื่องและยังสามารถใช้ทักษะที่ผ่านมาให้เป็นประโยชน์ด้วยความชำนาญเพื่อความเข้าใจด้วยดี
Article Details
References
นราธิป ศรีราม. (2557). แนวคิดเกี่ยวกับการจัดบริการสาธารณะของท้องถิ่น. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ปรัชญา เวสารัชช์. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมเพื่อพัฒนาชนบท. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รสคนธ์ รัตนเสริมพงศ์. (2561). การบริหารส่วนท้องถิ่น. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วีระศักดิ์ เครือเทพ. (2558). กฎเหล็กสำหรับการบริหารจัดการที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วุฒิสาร ตันไชย. (2560). บทบาทของรัฐในการจัดบริหารสาธารณะในระดับจังหวัดและอำเภอ พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศิริขวัญ โสดา. (2562). การกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป: กรณีศึกษา การกู้ยืมเงิน. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 5(1) มกราคม - มิถุนายน 2562: 12 - 24.
อนุจิตร ชิณสาร กิจฐเชต ไกรวาส และ ประภาส ปิ่นตบแต่ง. (2557). นวัตกรรมการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
อรทัย ก๊กผล. (2559). คู่คิด คู่มือ การมีส่วนร่วมของประชาชนสาหรับนักบริหารท้องถิ่น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.
Forstenlechner et al. (2010). Workforce Localization in Emerging Gulf Economies: The Need to Fine-Tune HRM. Personnel Review, 39(1): 135-152.
Gronroos, G. T. (1990). Service management and marketing. Massachusetts: Lexington.
Millet, John D. (1954). Management in the Public Service. New York: McGraw-Hill.