ความสุขในการทำงานของพนักงานโรงแรมระดับ 3 - 5 ดาว ในเขตจังหวัดภูเก็ต

Main Article Content

ณัฐวุฒิ เหมาะประมาณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยความสุขในการทำงานของพนักงานโรงแรมระดับ 3 - 5 ดาว ในเขตจังหวัดภูเก็ต 2) เปรียบเทียบระดับความสุขตามปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสุขในการทำงานที่มีอิทธิพล 3) พยากรณ์ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานโรงแรมระดับ 3 - 5 ดาว ในเขตจังหวัดภูเก็ตโดยทำการเก็บข้อมูลจากพนักงานที่ปฏิบัติงาน จำนวน 365 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ด้วยค่าสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย สถิติทดสอบที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) การเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีของ Schaffé และการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงเส้น (Linear Regression)


ผลการวิจัยพบว่า 1) พนักงานโรงแรมระดับ 3 - 5 ดาว ในเขตจังหวัดภูเก็ต ภาพรวมความสุขในการทำงานของพนักงานอยู่ในระดับสูง โดยมีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสุขในการทำงานอยู่ในระดับมากต่อปัจจัยด้านคุณภาพชีวิตในการทำงานด้านความสัมพันธ์ในที่ทำงาน ปัจจัยด้านลักษณะงานและค่านิยมร่วมขององค์กร ส่วนด้านผู้นำพนักงานมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง 2) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับความสุขในการทำงานของพนักงาน ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ ระดับตำแหน่งงาน อายุการทำงาน โดยเปรียบเทียบกับความสุขในการทำงานของพนักงานในภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ส่วนปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ รายได้ต่อเดือน ไม่มีความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงาน

Article Details

How to Cite
เหมาะประมาณ ณ. (2020). ความสุขในการทำงานของพนักงานโรงแรมระดับ 3 - 5 ดาว ในเขตจังหวัดภูเก็ต. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 6(1), 96–109. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/242228
บท
บทความวิจัย

References

กัลยารัตน์ อ๋องคณา. (2549). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล กับการรับรู้คุณค่าในตน สภาพแวดล้อมในงานกับความสุขในการทำงานของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จงจิต เลิศวิบูลย์มงคล. (2547). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจในงาน แรงจูงใจใฝ่ สัมฤทธิ์กับความสุขในการทำงานของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ . วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จารุมา ชูช่วง. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างค่านิยมในการทำงานและบทบาทการบังคับบัญชาของหัวหน้ากับพฤติกรรมการทำงาน กรณีศึกษาหน่วยงานภาครัฐแห่งหนึ่ง. สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธรรมศักดิ์ ดีสมศักดิ์. (2546). ปัจจัยส่วนบุคคลกับความผูกพันในองค์การของพนักงานโรงงาน สยามไซเคิล อินดัสตรี. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นภัชชล รอดเที่ยง. (2550). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรที่สังกัดศูนย์อนามัยในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาเอกอนามัยครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล.

นฤมล แสวงผล. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ประทุมทิพย์ เกตุแก้ว. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้คุณลักษณะงาน ความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคกับความสุขในการทำงานของพยาบาล งานพยาบาลผ่าตัด:กรณีศึกษาโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รวมศิริ เมนะโพธิ. (2550). เครื่องมือวัดการทำงานอย่างมีความสุข: กรณีศึกษานักศึกษาภาคพิเศษ ระดับปริญญาโท สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สารนิพนธ์มหาบัณฑิต คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2551). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2561). แนวโน้มอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยปี 2562. ค้นเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2552, จาก https://kasikornbank.com/international-business/th/Thailand/IndustryBusiness/Pages/201901_Thailand_TourismOutlook19.aspx

ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน. (2551). ประเมินความสุขของคนทำงาน (Happiness at Workplace): กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18-60 ปีที่ทำงานในสถานประกอบการและองค์กรธุรกิจในเขตกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ.

สมาคมโรงแรมไทย. (2560). สมาชิกโรงแรมไทย. ค้นเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2560, จาก http://thaihotels.org/wp-content/uploads2013/03/สมาชิกสมาคมโรงแรมไทย-1.pdf.

Herzberg, Frederick et al. (1959). The Motivation to work. New York: John Wiley and Sons.

Welch, J., & Lowe, J. (1998). Jack Welch Speaks: Wisdom from the World's Greatest Business Leader. New York: J. Wiley & Sons.