การดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชายแดนไทย-พม่า อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชายแดนไทย-พม่า อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก 2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชายแดนไทย-พม่า อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก และ 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชายแดนไทย-พม่า อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย จำนวน 382 คน จากข้าราชการสังกัดจังหวัดตาก พนักงานการท่าอากาศยานแม่สอด ผู้ประกอบการโรงแรม ผู้ประกอบการการท่องเที่ยว ผู้ประกอบการรถเช่า ผู้ประกอบการค้าการขนส่ง จังหวัดตาก และเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 10 คน จากหน่วยงานภาครัฐ ผู้บริหารระดับสูง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ประกอบด้วย สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า ภาพรวมระดับการดำเนินการตามยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชายแดนไทย-พม่า อยู่ในระดับปานกลาง โดย ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ 1) การดำเนินการตามการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก 2) การพัฒนาและฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวให้เกิดความยั่งยืน 3) การพัฒนาสินค้า บริการ และปัจจัยสนับสนุนการท่องเที่ยว 4) การสร้างความเชื่อมั่นและส่งเสริมการท่องเที่ยว และ 5) การส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคประชาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีระดับการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน เช่นเดียวกับปัจจัยส่งเสริมการท่องเที่ยวชายแดนไทยพม่าภาพรวมมีค่าเฉลี่ยในระดับปานกลาง โดยด้านงบประมาณ ด้านการบริหารจัดการองค์กร และด้านภาวะผู้นำมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านแผนยุทธศาสตร์ องค์การแห่งการเรียนรู้ เครือข่าย การพัฒนาบุคลากร และวัฒนธรรมองค์กรค่าเฉลี่ยในระดับปานกลาง ปัจจัยส่งเสริมการท่องเที่ยวทั้ง 8 ได้แก่ 1) การบริหารจัดการองค์กร 2) แผนยุทธศาสตร์ 3) องค์การแห่งการเรียนรู้ 4) เครือข่าย 5) ภาวะผู้นำ 6) สมรรถนะของพนักงาน 7) งบประมาณ และ 8) วัฒนธรรมองค์กร มีความสัมพันธ์กับระดับการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ร้อยละ 96.6 และสามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงของระดับการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ ได้ร้อยละ 93.1 โดยตัวแปร 7 ตัวแรก มีอิทธิพลเชิงบวกกับระดับการดำเนินการอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
Article Details
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ.2558 - 2560. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560 ก). สถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศ รายจังหวัด ปี 2561. ค้นเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2561, จาก http://www.mots.go.th/more_news.phpMcid=509 &filename=index
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560 ข). สถิตินักท่องเที่ยวภายในประเทศ ปี พ.ศ.2560 (ภาคเหนือ). ค้นเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2561, จาก http://www.mots.go.th/more_news.phpMcid=504&filename=index
จาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์. (2560). ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวชายแดนไทย-กัมพูชาบริเวณจังหวัดศรีสะเกษ ภายใต้ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 7(1) มกราคม - เมษายน 2560: 81 - 89.
ภูมิชัย มั่งเรืองสกุล. (2555). ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของจังหวัดนครราชสีมา. ว.มรม. (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 6(3) กันยายน – ธันวาคม 2555: 55 - 65.
รัชนีวรรณ บุญอนนท์. (2555). การพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารการท่องเที่ยวของจังหวัดกำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา. กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
สำนักงานสถิติจังหวัดตาก. (2557). สถิติด้านการเศรษฐกิจ: การท่องเที่ยว. ค้นเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2561, จาก http://tak.nso.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id= 149:2017-03-16-09-00-22&catid=112:mis
Mangruangsakul, P. (2012). Sustainable tourism development strategy of Nakhon Ratchasima province. Rajabhat Maha Sarakham University. (Humanities and Social Sciences). 6(3) September - December: 81 - 89. (in Thai)
Ministry of Tourism and Sports. (2011). National Tourism Development Plan 2012-2016. Bangkok: Ministry of Tourism and Sports. (in Thai)
Ministry of Tourism and Sports. (2015). Thai tourism strategy. 2015-2017. Bangkok: Ministry of Tourism and Sports. (in Thai)
Ministry of Tourism and Sports. (2017 ). Domestic tourist statistics in 2017 (North). Retrieved on 25th January 2018, from http://www.mots.go.th/more_news.phpMcid=504&filename=index (in Thai)
Ministry of Tourism and Sports. (2017 A). Tourism situation in the country by province Year 2018. Retrieved on 25th January 2018, from http://www.mots.go.th/more_news.phpMcid=509 &filename=index (in Thai)
Pengnorapat, C. (2560). Strategy for tourism development of the Thai-Cambodian border area Srisaket Province Under the Irrawaddy Economic Cooperation Strategy - Chao Phraya - Mae Khong. Journal of Nakhon Phanom University, 7(1) January - April 2017: 55 - 65. (in Thai)
Singkhala, S. (2018). Sustainable Tourism Development of Patong Beach Phuket. Research report: Rajapruk University. (in Thai)
Tak Provincial Statistical Office. (2014). Economic statistics: Tourism. Retrieved on 25th January 2018, from http://tak.nso.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=149:2017-03-16-09-00-22&catid=112:mis (in Thai)
Wan Boononont, R. (2012). Development of tourism management strategy of Kamphaeng Phet province. Doctor of Philosophy Thesis Department of Development Strategy. Kamphaeng Phet: University Kamphaeng Phet Rajabhat University. (in Thai)