การสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมการป้องกันโรคและอุบัติเหตุจากการทำงาน ของพนักงานเก็บขยะในอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคและอุบัติเหตุจากการทำงานของพนักงานเก็บขยะในอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) ศึกษาการสนับสนุนทางสังคมของพนักงานเก็บขยะในอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมการป้องกันโรคและอุบัติเหตุจากการทำงานของพนักงานเก็บขยะในอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานจัดเก็บหรือเก็บรวบรวมขยะประจำรถขนถ่ายขยะมูลฝอยในอำเภอบางปะอิน และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 154 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดการสนับสนุนทางสังคม และแบบวัดพฤติกรรมการป้องกันโรคและอุบัติเหตุจากการทำงาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติไคสแควร์
ผลการวิจัย พบว่า 1) พนักงานเก็บขยะเกินกว่าครึ่งมีพฤติกรรมการป้องกันโรคและอุบัติเหตุจากการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง (คะแนนเฉลี่ย 2.14) โดยมีการปฏิบัติด้านการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลมากที่สุด 2) พนักงานเก็บขยะได้รับการสนับสนุนทางสังคมโดยภาพรวมอยู่ในระดับดี (คะแนนเฉลี่ย 2.50) 3) การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมการป้องกันโรคและอุบัติเหตุจากการทำงานของพนักงานเก็บขยะในอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า การสนับสนุนทางสังคมจากบุคคลในครอบครัว เพื่อนร่วมงาน และหัวหน้างาน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคและอุบัติเหตุจากการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
นพรัตน์ เที่ยงคำดี. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานของพนักงานเก็บขยะ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลอาชีวอนามัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
บุปผา โพธิกุล และคณะ. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคซิลิโคซิสของคนงานโรงโม่หินในอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. บทความวิจัยในรายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการ Graduate Research Conference 2014.
ปิยนุช พุทธรรม และคณะ. (2553). การป้องกันการติดเชื้อจากการปฏิบัติงานของพนักงานจัดเก็บขยะ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ในเขตเทศบาลเมืองสกลนคร อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร. สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
พีรพงษ์ จันทราเทพ และ สุนิสา ชายเกลี้ยง. (2553). พฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการปฏิบัติงานของพนักงานเก็บขนมูลฝอยของเทศบาลในเขตอำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารเพื่อคุณภาพที่ดีของชีวิต, ปีที่ 20 ฉบับที่ 1, หน้า 37-44.
รักพงศ์ พยัคฆาคม และ อาณัติ ต๊ะปินตา. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะความเครียดกับประสิทธิภาพในการทำงานของคนงานเก็บขนมูลฝอยในเทศบาลต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, ปีที่ 1 ฉบับที่ 1, หน้า 67-78.
วรรณรา ชื่นวัฒนา และคณะ. (2556). พฤติกรรมการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงานของซาเล้ง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, ปีที่ 5 ฉบับที่ 2, หน้า 8-18.
วิรัตน์ เชิดชัยภูมิ. (2550). ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานเก็บขยะ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. รายงานการศึกษาอิสระ
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการปกครองท้องถิ่น บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2558). แผนการบริหารจัดการขยะมูลฝอยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ.2558-2562. (ม.ป.ท.).
สำนักงานโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. (2555). คู่มือการฝึกปฏิบัติงานมูลฝอยติดเชื้อหลักสูตรการป้องกันและระงับการแพร่เชื้อหรืออันตรายที่อาจเกิดจากมูลฝอยติดเชื้อ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามเจริญพาณิชย์ จำกัด.
Ayutthaya Provincial Office for Natural Resources and Environment. (2015). Plan of solid waste management, Ayutthaya province 2015-2019. (n.p.). (in Thai)
Best, John W. (1997). Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall,Inc.
Cheudchaiphum, W. (2007). The morale of garbage collectors in local administrative organization of Banglee district Samutprakarn Province. Independent studies report, Master of local college graduates, Khon Kaen University. (in Thai)
Chuenwattana, W. et al. (2013). Works Protection Behaviors of Zaleng. Journal of Pathumthani University, 5(2), 8-18. (in Thai)
Green, L.W. & Kreuter, M.W. (2005). Health Program Planning an Educational and Ecological Approach. New York: Quebecor World Fairfield.
Juntratep, P., and Chaiklieng, P. (2010). Protection behaviors among garbage collectors of Na klang municipality area, Nongbualamphu province. Journal for good quality of life, 20(1), 37-44. (in Thai)
Office of Occupational and Environmental Diseases. (2012). Guide to Practice for infectious waste prevention programs and stop the spread of disease or damage that caused by infectious waste. 3rd ed. Bangkok: Samcharoenpanit Printing Company Limited. (in Thai)
Payakkakom, R., & Thapinta, A. (2015). Relationship between work stress and work efficiency of waste collectors in municipal areas of Nonthaburi province. Journal of Humanities and Social Sciences, Rajapruk University, 1(1), 67-78. (in Thai)
Pollution Control Department. (2015). Pollution situation of Thailand, 2013. Retrieved on 29th August, 2017, from: http://www.pcd.go.th/Public/News/
GetNewsThai.cfm?task=lt2014&id. (in Thai)
Potikul, B. et al. (2014). Factors Related to Silicosis Preventive Behaviors of Stone Crushing Worker in U-Thong, Suphanburi. Graduate Research Conference 2014 report. (in Thai)
Puttham, P. et al. (2010). Prevention of infection among garbage collectors, Division of Public Health and Environment in Sakon Nakhon municipality area. Community Health program, Sakon Nakhon Rajabhat University. (in Thai)
Schaefer, C., Coyne, J.C., & Lazarus, R.S. (1981). The health-related functions of social support. Journal of Behavioral Medicine, 4(4), 381-406.
Thiangkhamdee, N. (2013). Factors influencing work-related accidental prevention behaviors of garbage collectors in Banglamung district, Chonburi province. Master thesis of Nursing Science program in Occupational Health Nursing, Faculty of Nursing, Burapha University. (in Thai)