การหาดัชนีความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินกับปรากฏการณ์เกาะความร้อนของเมืองไมซ์พัทยา

Main Article Content

กมลวรรณ ปรีเปรมโมทย์
สุธาทิพย์ ชวนะเวสสกุล
พันทิพย์ ปิยะทัศนานนท์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) จำแนกการเปลี่ยนแปลงจากการใช้ประโยชน์ที่ดิน/สิ่งปกคลุมดินของพื้นที่เทศบาลเมืองพัทยา 2) ศึกษาอุณหภูมิพื้นผิวของการใช้ประโยชน์ที่ดิน/สิ่งปกคลุมดินต่อการเกิดปรากฏการณ์เกาะความร้อนของพื้นที่เทศบาลเมืองพัทยา 3) หาดัชนีความสัมพันธ์ของการใช้ประโยชน์ที่ดิน/สิ่งปกคลุมดินกับอุณหภูมิพื้นผิวของพื้นที่เทศบาลเมืองพัทยา โดยใช้ข้อมูลภาพจากดาวเทียมใน 3 ช่วงเวลา โดยใช้ข้อมูลภาพจากดาวเทียม LANDSAT 5 TM พ.ศ. 2550 พ.ศ. 2555 และใช้ข้อมูลภาพจากดาวเทียม LANDSAT 8 OLI พ.ศ. 2559 เพื่อทำการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดิน/สิ่งปกคลุมดินในระดับ 2 และวิเคราะห์ค่าอุณหภูมิพื้นผิวเพื่อหาค่าดัชนีความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน/สิ่งปกคลุมดิน ด้วยวิธีดัชนีพืชพรรณ (NDVI) ดัชนีสิ่งปลูกสร้าง (NDBI) ดัชนีความชื้นของน้ำ (NDWI) ผลการวิจัย พบว่า ใช้ประโยชน์ที่ดิน/สิ่งปกคลุมดิน ได้แก่ ตัวเมืองและย่านการค้ามีพื้นที่เพิ่มขึ้น 5.0 ตร.กม. หมู่บ้านมีพื้นที่เพิ่มขึ้น 1.12 ตร.กม. สถานที่ราชการและสถาบันต่าง ๆ มีพื้นที่ลดลง -0.01 ตร.กม. ถนนมีพื้นที่เพิ่มขึ้น 0.06 ตร.กม. ย่านอุตสาหกรรมมีพื้นที่เพิ่มขึ้น 0.43 ตร.กม. พืชไร่มีพื้นที่ลดลง 1.25 ตร.กม. ไม้ยืนต้นมีพื้นที่เพิ่มขึ้น 0.05 ตร.กม. ไม้ผลพื้นที่ลดลง 1.44 ตร.กม. ป่าผลัดใบมีพื้นที่ลดลง 0.01 ตร.กม. แหล่งน้ำธรรมชาติมีพื้นที่ลดลง 0.02 ตร.กม. แหล่งน้ำที่สร้างขึ้นมีพื้นที่เพิ่มขึ้น 0.04 ตร.กม. ทุ่งหญ้าและไม้ละเมาะมีพื้นที่ลดลง 2.55 ตร.กม. พื้นที่ลุ่มมีพื้นที่ลดลง 0.21 ตร.กม. และพื้นที่อื่น ๆ มีพื้นที่ลดลง 1.20 ตร.กม. การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของการใช้ประโยชน์ที่ดิน/สิ่งปกคลุมดินตัวเมืองและย่านการค้ามีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 12.7˚C หมู่บ้านมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 12.7˚C สถานที่ราชการและสถาบันต่าง ๆ อุณหภูมิเพิ่มขึ้น 13˚C ถนนมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 12.3˚C ย่านอุตสาหกรรมมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 13˚C พืชไร่อุณหภูมิเพิ่มขึ้น 13˚C ไม้ยืนต้นมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 14.6˚C ไม้ผลอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 13.6˚C ป่าผลัดใบมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 12˚C แหล่งน้ำธรรมชาติมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 11.5˚C แหล่งน้ำที่สร้างขึ้นมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 11.7˚C ทุ่งหญ้าและไม้ละเมาะมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 13.0˚C พื้นที่ลุ่มอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 13.5˚C แล พื้นที่อื่น ๆ มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 12.7˚C และการเปลี่ยนแปลงของค่าดัชนีผลต่าง ในช่วงระยะเวลา 10 ปี ค่าดัชนีพืชพรรณ (NDVI) มีค่าลดลง 0.24 ค่าดัชนีสิ่งปลูกสร้าง (NDBI) มีค่าเพิ่มขึ้น 0.18 ค่าดัชนีความชื้นของน้ำ (NDWI) มีค่าลดลง 0.18 ผลการศึกษาพื้นที่เทศบาลเมืองพัทยา พ.ศ. 2550 –2559 พบรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน/สิ่งปกคลุมดินได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพเศรษฐกิจเพื่อให้มีศักยภาพการเป็นเมืองไมซ์ พัทยาที่สามารถตอบสนองความต้องการของนักธุรกิจ นักท่องเที่ยวได้ในทุกรูปแบบ และการศึกษาค่าดัชนีความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน/สิ่งปกคลุมดินกับค่าอุณหภูมิ พบว่า ค่าดัชนีพืชพรรณ และค่าดัชนีความชื้นของน้ำมีความสัมพันธ์แบบผกผันกับค่าอุณหภูมิ ส่วนค่าดัชนีสิ่งปลูกสร้างมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับค่าอุณหภูมิ

Article Details

How to Cite
ปรีเปรมโมทย์ ก., ชวนะเวสสกุล ส., & ปิยะทัศนานนท์ พ. (2019). การหาดัชนีความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินกับปรากฏการณ์เกาะความร้อนของเมืองไมซ์พัทยา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 5(2), 93–109. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/220528
บท
บทความวิจัย

References

กรมอุตุนิยมวิทยา. (2556). ศูนย์ภูมิอากาศ. ค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2559, จาก http://climate.tmd.go.th/

กรมอุตุนิยมวิทยา. (2557). สถิติอุณหภูมิอากาศ อุณหภูมิสูงสุด. ค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2559, จาก http://www.tmd.go.th/aboutus/development.php

ดุษฎี ช่วยสุข. (2558). การพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์ในจังหวัดขอนแก่นเพื่อรองรับการเป็นไมซ์ซิตี้ของประเทศไทย. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 10(1): 15-29.

เอกลักษณ์ สลักคํา. (2553). การประยุกต์ใช้ข้อมูลการรับรู้จากระยะไกลเพื่อประมาณค่าอุณหภูมิพื้นผิวที่ดิน. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Chen Xiao-Ling. (2006). Remote Sensing Image-Based Analysis of the Relationship between Urban Heat Island and Land Use/Cover Changes. Remote sensing of environment. 104(2): 133 - 146.

Department Meteorology. (2013). Climate Center. Retrieved on 7th May 2016, from http://climate.tmd.go.th/.(in Thai)

Department Meteorology. (2014). Air temperature statistics of Maximum temperature. Retrieved on 23th June 2016, from http://www.tmd.go.th/aboutus/development.php. (in Thai)

Chuaysook, D. (2015). Mhonkane Mice Industry Development Towards Leading Mice City of Thailand. Journal of Thai Hospitality and Tourism, 10(1): 15 - 29. (in Thai)

Salukkham, E. (2010). An Application of Remotely Sensed Data to Land Surface Temperature Estimation. Master of Science. Computer Science. Faculty of Science Khon Kaen University. (in Thai)