พฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวกลุ่มโอเชียเนียช่วงนอกฤดูกาลท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต

Main Article Content

วัชรินทร์ เกิดทรัพย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาและเปรียบเทียบ พฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวกลุ่มโอเชียเนียช่วงนอกฤดูกาลในจังหวัดภูเก็ต กลุ่มตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยวกลุ่ม
โอเชียเนีย ที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตช่วงนอกฤดูกาลท่องเที่ยว จำนวน 379 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Chi-Square test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้


1)         พฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวกลุ่มโอเชียเนียช่วงนอกฤดูกาลในจังหวัดภูเก็ต มีวัตถุประสงค์ส่วนใหญ่เพื่อการพักผ่อน รูปแบบหรือประเภทของการท่องเที่ยวที่ชื่นชอบเป็นแหล่งธรรมชาติ เดินทางมากับครอบครัว งบประมาณค่าใช้จ่ายทั้งหมด (โดยประมาณ) สำหรับการเดินทาง 20,000 – 30,000 บาท ระยะเวลาในการเดินทาง 7 – 17 วัน การเดินทางสูงสุด 120 วัน ระยะเวลาในการเดินทางเฉลี่ย 11.88 วัน และต้องการเดินทางกลับมาใช้บริการอีกครั้งในจังหวัดภูเก็ต


2)         การเปรียบเทียบพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวช่วงนอกฤดูกาลในจังหวัดภูเก็ตของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกลุ่มโอเชียเนีย พบว่า (1) เพศ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการท่องเที่ยว ด้านรูปแบบหรือประเภทของการท่องเที่ยว ด้านบุคคลที่ร่วมเดินทาง และด้านระยะเวลาในการเดินทาง (2) อายุ สถานภาพสมรส อาชีพ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการท่องเที่ยว ด้านวัตถุประสงค์ในการเดินทางท่องเที่ยว ด้านรูปแบบหรือประเภทของการท่องเที่ยว ด้านบุคคลที่ร่วมเดินทาง ด้านงบประมาณค่าใช้จ่ายทั้งหมด และด้านระยะเวลาในการเดินทาง (3) รายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการท่องเที่ยว ด้านรูปแบบหรือประเภทของการท่องเที่ยว ด้านบุคคลที่ร่วมเดินทาง
ด้านงบประมาณค่าใช้จ่ายทั้งหมด และด้านระยะเวลาในการเดินทาง (4) ภูมิลำเนา มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการท่องเที่ยว ด้านวัตถุประสงค์ในการเดินทางท่องเที่ยว ด้านรูปแบบหรือประเภทของการท่องเที่ยว และด้านงบประมาณค่าใช้จ่ายทั้งหมด 


3)         นักท่องเที่ยวให้ความสำคัญกับองค์ประกอบการท่องเที่ยวโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยนักท่องเที่ยวให้ความสำคัญกับด้านความดึงดูดใจ ด้านที่พัก ด้านกิจกรรม ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านความสามารถในการเข้าถึง ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
เกิดทรัพย์ ว. (2018). พฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวกลุ่มโอเชียเนียช่วงนอกฤดูกาลท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 4(2), 127–138. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/144206
บท
บทความวิจัย

References

กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2557). สถิติจำนวนนักท่องเที่ยวกลุ่มโอเชียเนีย. ค้นเมื่อ 21 กรกฎาคม 2559. จาก www.tourism.go.th

กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2559). สรุปสถานการณ์นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ. ค้นเมื่อ 1 เมษายน 2559, จาก www.tourism.go.th

ฉัฐชสรณ์ กาญจนศิลานนท์. (2561). โมเดลนวัตกรรมบริการตามแนวคิดทฤษฎีมาสโลว์ในธุรกิจโรงแรม. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 3(3): 14-24. ค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2561, จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/112620/87720

ชีวนีย์ จิรภัทรภูมิ. (2546). การศึกษาแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในการมาท่องเที่ยวเกาะพะงัน. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ธีระ นุชเปี่ยม และคณะ (2551). สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม. กระทรวงศึกษาธิการ.

ฤดี ภูมิภูถาวร. (2550). ภูเก็ต. พิมพ์ครั้งที่ 9. ภูเก็ต: โครงการตำราและสื่อโรงเรียนสตรีภูเก็ต.

สิริรัตน์ นาคแป้น. (2555). พฤติกรรมและแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในการมาท่องเที่ยวเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาการจัดการการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

อมรรัตน์ วงศ์เป็ง. (2550). ปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวประเทศไทยของนักท่องเที่ยวชาวยุโรป. วารสารวิชาการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคลธัญบุรี, 2(4): 40 - 57.

อรุณี ลอมเศรษฐี. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในการเลือกใช้บริการที่พักในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต วิชาเอกธุรกิจระหว่างประเทศ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Department of Tourism. Ministry of Tourism and Sports. (2014). Oceania Tourist Statistics Retrieved on July 21, 2016, from www.tourism.go.th. (in Thai)

Department of Tourism. Ministry of Tourism and Sports. (2016). Summary of Foreign Tourists Situation. Retrieved on April 1st, 2016, from www.tourism.go.th. (in Thai)

Ihotelmarketer. (2012). Turn your page into a high-end market with Oceania. Retrieved on April 1, 2016, from www.ihotelmarketer.com. (in Thai)

Ihotelmarketer. (2012). พลิกหน้าโลว์ เป็นหน้าไฮ ได้ด้วยตลาดโอเชียเนีย. ค้นเมื่อ 1 เมษายน 2559, จาก www.ihotelmarketer.com.

Jirapathaphum, C. (2003). A study of the motivation of foreign tourists to visit Koh Phangan. Master Thesis. Business Administration. Dhurakij Pundit University. (in Thai)

Kanchanasilanon, C. (2018). Model of innovation service based on the Maslow theory in hotel business. Academic articles. Journal of Humanities and Social Sciences. Rajapruk University. 3(3): Retrieved on 26th, February, 2018, from (in Thai)

Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3): 607 – 610.

Lomsethee, A. (2011). Factors affect on the decision of foreign tourists to select the accommodation in Bangkok. Master Thesis International Business Majors. Rajamangala University of Technology Thanyaburi. (in Thai)

Nakpan, S. (2012). Behavior and motivation of foreign tourists in traveling on Koh Phangan. Surat Thani. Master Thesis. Tourism Management. Dhurakij Pundit University. (in Thai).

Nuchpiam, T. et al. (2008) Social Studies, Religion and Culture, Ministry of Education. (in Thai)

Phumputhavorn, R. (2007). Phuket. 9th ed., Phuket: Phuket Textbook and Media Project of Satree Phuket School. (in Thai)

Vongpang, A. (2007). Marketing factors effect on tourism decision of European tourists in Thailand. Academic Journal. Faculty of Business Administration. Rajamangala University of Technology Thanyaburi, 2(4): 40-57. (in Thai)