การตลาดสีเขียวของผู้ผลิตสินค้าในโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในเขตพื้นที่จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

เสาวนีย์ ศรีจันทร์นิล, ผู้ช่วยศาสตราจารย์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การตลาดสีเขียวของผู้ผลิตสินค้าในโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ในเขตพื้นที่จังหวัดนนทบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของผู้ผลิตสินค้าต่อการตลาดสีเขียวในเขตพื้นที่จังหวัดนนทบุรี 2) เปรียบเทียบการทำการตลาดสีเขียวของของผู้ผลิตสินค้าในโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในเขตพื้นที่จังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ผลิตสินค้าในโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เขตพื้นที่จังหวัดนนทบุรี โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ได้จำนวน 250 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว


ผลการวิจัย พบว่า ผู้ผลิตสินค้าในโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการตลาด
สีเขียวโดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านความความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และด้านส่วนประสมการตลาดสีเขียว และผู้ผลิตสินค้าในโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีประเภทของธุรกิจ ขนาดของสินทรัพย์ ระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจ และจำนวนพนักงานที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการตลาดสีเขียวด้านส่วนประสมการตลาดสีเขียวแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
ศรีจันทร์นิล เ. (2018). การตลาดสีเขียวของผู้ผลิตสินค้าในโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในเขตพื้นที่จังหวัดนนทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 4(1), 145–155. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/125773
บท
บทความวิจัย

References

คุณาวุฒิ เทียมทอง. (2546). แนวคิดของเทคโนโลยีสะอาด. ค้นเมื่อ 16 เมษายน 2558, จาก http://www.thaienvironment.net

ตรีทิพ บุญแย้ม. (2554). รูปแบบการบริโภคสีเขียว. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ปรวรรณ อภิวันท์. (2547). การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการซื้อผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ในจังหวัดลพบุรี. การศึกษาปัญหาพิเศษปริญญาบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2538). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

Apiwan, P. (2004). Factors Influencing Buying One Tambon One Product in Lopburi Province. Bachelor of Business Administration. Program in Special Problems Study. Master Economics. Kasetsart University. (in Thai)

Boonyaem, T. (2011). Green Consumption Pattern. Bangkok University. (in Thai)

Grundey, D., and Zaharia, RM. (2008). Sustainable Incentives in Marketing and Strategic Greening: the Cases of Lithunia and Romania. Technological and Economic Development. 14 (2): 130 - 143.

Petersen, D. (1978). Techniques or safety Management. Koga Rusha : McGraw-Hill.

Siriwan, S. (1995). Consumer Behavior. Bangkok: Thaiwatanapanich. (in Thai)

Tiamtong, K. (2003). Clean Technology Concept. Retrieved April 16, 2015, from http://www.thaienvironment.net (in Thai)