แบบทดสอบทักษะการว่ายน้ำท่าครอว์ลสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเซนต์คาเบรียล

Main Article Content

ธฤษณุ โภคบุญญานนท์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างแบบทดสอบทักษะการว่ายน้ำท่าครอว์ล 2) สร้างเกณฑ์ปกติของทักษะว่ายน้ำท่าครอว์ลสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเซนต์คาเบรียล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 180 คน โดยจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบจำนวน 30 คน และกลุ่มตัวอย่างในการสร้างเกณฑ์ปกติจำนวน 150 คน โดยใช้แบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นเครื่องมือในการวิจัย


ผลการวิจัยพบว่า แบบทดสอบทักษะว่ายน้ำท่าครอว์ลสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนเซนต์คาเบรียลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มี 5 รายการดังนี้ 1) แบบทดสอบทักษะการโผตัวในน้ำจากขอบสระท่านอนคว่ำ 2) แบบทดสอบทักษะการใช้ขา 3) แบบทดสอบทักษะการใช้แขน
4) แบบทดสอบทักษะการหายใจ และ 5) แบบทดสอบความสัมพันธ์ของการว่ายท่าครอว์ล แบบทดสอบทักษะว่ายน้ำท่าครอว์ลสำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 3 ทุกรายการ  มีความเที่ยงตรง โดยการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่านเห็นตรงกันว่าผู้วิจัยสามารถนำไปใช้ทดสอบกับนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเซนต์คาเบรียลได้โดยมีค่าความเที่ยงตรง (IOC) = 1.00 ความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบทดสอบทุกรายการโดยการคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์จากคะแนนทดสอบครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 โดยใช้วิธีของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) พบว่า มีความเชื่อมั่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
(r = .916, .885, .856, .811, .807) ความเป็นปรนัย (Objectivity) ของแบบทดสอบทุกรายการโดยการคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์จากคะแนนทดสอบของครูพลศึกษา 3 ท่าน โดยใช้วิธีของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) พบว่า มีความเป็นปรนัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยเรียงลำดับความเป็นปรนัยของแบบทดสอบจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ แบบทดสอบทักษะโผตัวในน้ำจากขอบสระท่านอนคว่ำ (r = .925, .865, .800) แบบทดสอบทักษะการใช้ขา (r = .860, .860,.841) แบบทดสอบทักษะการใช้แขน (r = .927, .917, .889) แบบทดสอบทักษะการหายใจ (r = .949, .864, .859) และแบบทดสอบทักษะความสัมพันธ์ของการว่ายท่าครอว์ล (r = .881, .858, .812) ค่าอำนาจจำแนก (Discriminations) ของแบบทดสอบทุกรายการโดยใช้การคำนวณหากลุ่มคะแนนต่ำ คะแนนสูง โดยสถิติทดสอบที (t - test) พบว่า แบบทดสอบทุกรายการสามารถจำแนกนักเรียนที่มีความสามารถแตกต่างกันได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เกณฑ์ปกติในการแบ่งระดับความสามารถรวมของแบบทดสอบทักษะว่ายน้ำ
ท่าครอว์ลสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนเซนต์คาเบรียล โดยใช้คะแนนที (T – Score) ได้แบ่งออกเป็น 5 ระดับ คือ ดีมาก = 65 หรือมากกว่า ดี = 55 – 64 ปานกลาง = 45 – 54 อ่อน = 35 – 44 และ อ่อนมาก = ต่ำกว่า 35

Article Details

How to Cite
โภคบุญญานนท์ ธ. (2018). แบบทดสอบทักษะการว่ายน้ำท่าครอว์ลสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเซนต์คาเบรียล. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 4(1), 69–79. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/125756
บท
บทความวิจัย

References

ทวีศักดิ์ นาราษฎร์. (2534). กรรมการเจ้าหน้าที่ว่ายน้ำ. กรุงเทพฯ.

บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. (2521). การวัดประเมินผลการศึกษา. ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ผาณิต บิลมาศ. (2530). การวัดทักษะทางกีฬา. ภาควิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2557). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพฯ: เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มิสท์.

ศิริชัย โฉมวัฒนา, ว่าที่ร้อยตรี. (2552): การสร้างแบบประเมินค่าและเกณฑ์ปกติทักษะว่ายน้ำท่าครอว์ลสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนแสงโสม. ปริญญานิพนธ์ ศศ.ม. (พลศึกษา) สาขาวิชาพลศึกษา ภาควิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อนุวัติ คูณแก้ว. (2558). การวัดผลและประเมินผลการศึกษาแนวใหม่. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Barrow, H. M. and Mcgee. (1979). A Practical Approach to Measurement in Physical Education. Philadelphia: Lea & Febiger.

Binmas, P. (1987). Sport Measurement. Department of Physical Education, Faculty of Education, Srinakharinwirot University. (in Thai)

Chomwattana, S. (2009). The Construction of the Front Crawl Stroke Rating Scales and Norms for Prathomsuksa 3 of Sangsom School. Master of Arts (Physical Education), Major Field: Physical Education, Department of Physical Education. Kasetsart University. (in Thai)

Koonkeaw, A. (2015). New Measurement and Evaluation. Bangkok. Chulalongkorn University Press. (in Thai)

Narath, T. (1991). Director, swimmer. Bangkok. (in Thai)

Pinyoananthaphong, B. (1978). Educational Evaluation. Department of Basic Education, Faculty of Education, Srinakharinwirot University. (in Thai)

Ritjaroon, P. (2014). Principles of measurement and evaluation. Bangkok. House of Kermyst. (in Thai)