รูปแบบและการสื่อความหมายของการอุปมาอุปไมยเชิงภาพ สำหรับงานโฆษณาผลิตภัณฑ์ความงามทางสื่อนิตยสาร

Main Article Content

บดินทร์ เดชาบูรณานนท์

บทคัดย่อ

 


 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและวิธีการสื่อความหมาย โดยการวิเคราะห์รูปแบบการอุปมาอุปไมยเชิงภาพของงานโฆษณาผลิตภัณฑ์ความงามทางสื่อนิตยสาร โดยใช้กรอบของทฤษฎีปฏิสัมพันธ์ของ Max Black แนวคิดเรื่องประเภทของภาพอุปมาอุปไมย เพื่อวิเคราะห์ประเภทของรูปแบบการอุปมาอุปไมยเชิงภาพ แนวทางการศึกษาเชิงสัญญะวิทยา แนวคิดเรื่องวาทศิลป์เชิงภาพ เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยศึกษาจากภาพโฆษณาอุปมาอุปไมย จำนวน 19 ภาพ จากนิตยสารผู้หญิง 3 หัวเรื่อง ปี พ.ศ. 2558 -2559


ผลการวิจัยพบว่า การอุปมาอุปไมยเชิงภาพของงานโฆษณาผลิตภัณฑ์ความงามทางสื่อทัศน์ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1) ภาพอุปมาอุปไมยแบบภาพเดี่ยวสื่อความหมาย 2) ภาพอุปมาอุปไมยแบบภาพ 2 ภาพสื่อความหมาย และ 3) ภาพเปรียบเทียบ สำหรับการสื่อความหมายของการอุปมาอุปไมย เชิงภาพในงานโฆษณาผลิตภัณฑ์ความงามทางสื่อทัศน์ พบว่ามีวิธีการสื่อความหมายที่สำคัญ ได้แก่ 1) การใช้รูปสัญญะที่พบได้จาก/ตามธรรมชาติ เพื่อเปรียบเทียบกับลักษณะความงามของผิวพรรณ 2) การใช้รูปสัญญะบรรจุภัณฑ์มีระดับหรืออัญมณีราคาแพงเพื่อสื่อถึงความสูงส่ง 3) การใช้ถ้อยคาอุปมาอุปไมยร่วมกับภาพ เพื่อเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งว่าเหมือนหรือคล้ายคลึงกับอีกสิ่งหนึ่ง 4) การนาเสนอภาพการผลัดเซลล์ผิวเพื่อเชื่อมโยงกับความเว้าวอนทางเพศ และ 5) การใช้สีในเชิงสัญลักษณ์

Article Details

How to Cite
เดชาบูรณานนท์ บ. (2018). รูปแบบและการสื่อความหมายของการอุปมาอุปไมยเชิงภาพ สำหรับงานโฆษณาผลิตภัณฑ์ความงามทางสื่อนิตยสาร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 3(3), 62–73. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/112624
บท
บทความวิจัย

References

นพมาศ เรืองพานิชภิบาล. (2551). การวิเคราะห์วาทกรรมความงามในหน้าโฆษณาของนิตยสาร สตรี. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ผู้จัดการออนไลน์. (2560). ตลาดความงามที่ไม่เคยหยุดสวย. ค้นเมื่อ 5 มกราคม 2560, จาก http://www.manager.co.th/AstvWeekend/ViewNews.aspx?NewsID=9570000081479

มาร์เก็ตเทียร์ออนไลน์. (2560). ส่วนแบ่งทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ความงาม. ค้นเมื่อ 5 มกราคม 2560, จาก http://marketeer.co.th/archives/12607

วรรณรุจ ประจงศักดิ์. (2543). การใช้ภาพประกอบโฆษณาที่ใช้จุดเว้าวอนทางเพศสาหรับสินค้าที่มีความเกี่ยวพันต่ากับเรื่องเพศ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิภาภรณ์ กอจรัญจิตต์. (2545). การวิเคราะห์ภาพเสนอ ‘ความขาว’ ในโฆษณาโทรทัศน์. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Forceville, C. (1996). Pictorial Metaphor in Advertising. London: Routledge.

Korjaranchit, V. (2002). A Representational Analysis of ‘Whiteness’ in TV Ads Master of Arts Program in Mass Communication, Thammasat University. (in Thai).

Manager Online. (2017). The beauty’s Market never stopped. Retrieved January 5, 2017, from http://www.manager.co.th/AstvWeekend/ViewNews.aspx?News ID=9570000081479 (in Thai).

Marketeer Online. (2017). The Market Share of beauty Product. Retrieved January 5, 2017, from http://marketeer.co.th/archives/12607 (in Thai).

Pajongsak, W. (2000). The use of sexual appeal on advertising illustration for less sexuallyrelevant product. Master of Arts (Creative Arts), Chulalongkorn University. (in Thai).

Ruengpanichpiban. N. (2008). Esthetic Discourse Analysis on Advertising of Woman Magazine. Master of Arts (Communication) Department of Business Communication Department of Business Communication, Dhurakij Pundit University.