การกล่อมเกลาทางการเมืองผ่านบทเพลงเพื่อชีวิตช่วงปี พ.ศ. 2516 - 2519
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทเพลงเพื่อชีวิตในฐานะตัวกลางหนึ่งของหน่วยทางสังคมที่ทำหน้าที่ในการกล่อมเกลาทางการเมืองแก่บุคคล และยังเป็นสื่อกลางในการเคลื่อนไหวทางการเมืองอีกด้วย โดยจะศึกษาบทเพลงเพื่อชีวิตที่ถูกผลิตขึ้นมาในช่วงปี พ.ศ. 2516 - 2519 ซึ่งเป็นยุคสมัยที่ บทเพลงเพื่อชีวิตเฟื่องฟูมาก รวมทั้งการศึกษาอิทธิพลของบทเพลงเพื่อชีวิตในการนำเสนออุดมการณ์ทางการเมืองแนวต่าง ๆ
ผลการศึกษาพบว่า ก่อนปี พ.ศ. 2516 นั้น แนวคิดหรืออุดมการณ์ที่โดดเด่นคือ แนวคิดเสรีนิยมประชาธิปไตยที่ต่อต้านแนวคิดแบบเผด็จการ แต่หลังจากเหตุการณ์วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 แล้ว ในช่วงหลังโดยเฉพาะอย่างยิ่งปลายปี พ.ศ. 2519 บทเพลงเพื่อชีวิตเริ่มมีเนื้อหาที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น เนื่องจากแนวคิดอุดมการณ์เริ่มเปลี่ยนแปลงไป จากอุดมการณ์ทางการเมืองแบบเสรีประชาธิปไตย กลายมาเป็นอุดมการณ์สังคมนิยมมากขึ้น บทเพลงเพื่อชีวิตแนวนี้ได้รับการต่อต้านจากชนชั้นผู้ปกครองในสมัยนั้น โดยอาศัยเพลงปลุกใจเป็นแนวทางในการต่อต้าน จนภายหลังเหตุการณ์วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 บทเพลงเพื่อชีวิตต้องหายไปเป็นเวลานานหลายปีกว่าที่จะกลับมามีบทบาทอีกครั้งหนึ่งในวงการเพลงของไทย นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 เป็นต้นมา
Article Details
References
ขจร ฝ้ายเทศ. (2548). การสื่อสารทางการเมืองในเพลงลูกทุ่งไทย พ.ศ. 2507-2547. ดุษฎีนิพนธ์วารศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ขนิษฐา จิราภรณ์สิริกุล. (2541). วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 : กรณีศึกษานักเรียนโรงเรียนบางกะปิ. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.
จรูญรัตน์ สุวรรณภูสิทธิ์. (2531). การศึกษาบทเพลงเพื่อชีวิตที่เกี่ยวข้องกับขบวนการนักศึกษา ช่วง 2516-2519. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชูเกียรติ ฉาไธสง. (2541). ตำนานคนตำนานเพลง. กรุงเทพฯ : สายส่งศึกษิต.
ทัศนีย์ เทิดธนกาญจน์. (2546). อิทธิพลของบุคคลต้นแบบที่มีต่อพฤติกรรมการเลียนแบบและความตั้งใจซื้อสินค้าที่มีความเกี่ยวพันสูง-ต่ำกับวัยรุ่น. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีรภาพ โลหิตกุล. (ม.ป.ป.). ปฐมบทเพลงลูกทุ่งและเพลงเพื่อชีวิต พ.ศ. 2480-2500. กรุงเทพฯ : โสมสาร.
ธีระวัฒน์ ประกอบบุญ. (2546). เพลงเพื่อชีวิตกับภาพสะท้อนทางสังคมไทย : วิเคราะห์เนื้อหาเพลงเพื่อชีวิตในช่วงปี พ.ศ. 2535-2540. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บุญยงค์ เกศเทศ. (2536). แลลอดวรรณกรรมไทย. กรุงเทพฯ : โอ เอสพริ้นติ้งเฮ้าส์.
มนต์สวรรค์ จินดาแสง. (บรรณาธิการ). (2537). ตำนานเพลงเพื่อชีวิต สายธารแห่งการต่อสู้. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ตุลา.
วรุณ ฮอลลิงก้า. (2536). การวิเคราะห์เพลงเพื่อชีวิตระหว่าง พ.ศ. 2516-2519. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ลือชัย จิรวินิจนันท์. (2532). เพลงเพื่อชีวิต : การนำเสนออุดมการณ์ใหม่ : ศึกษาเฉพาะช่วง14 ตุลาคม 2516 – 6 ตุลาคม 2519. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมเกียรติ วันทนะ. (2551). อุดมการณ์ทางการเมืองร่วมสมัย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อักษรข้าวสวย.
เสถียร จันทิมาธร. (2541). เพลงเพื่อชีวิตมาจากไหน. กรุงเทพฯ : มติชน.
สุกรี เจริญสุข. (2538). ดนตรีวิจารณ์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล.
Almond, Gabriel A. and G. Bringham Powell. (1966). Comparative Politics : A Developmental Approach.Boston : Little Brown.
Dawson, Richard E. and Prewitt, Kenneth. (1969). Political Socialization. Boston : Little Brown.
Easton, David and Dennis, Jack. (1969). Children in the Political System. New York : McGraw-Hill.
Heywood, Andrew. (2007). Politics. New York : Palgrave.
Langton, Kenneth P. (1969). Political Socialization. Oxford : Oxford University Press.
Rush, Michael and Althoff, Philip. (1971). Introduction to Political Sociology. Barkley : Western Printing Press.