ภาวะการมีงานทำของผู้สาเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีการศึกษา 2555- 2556

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

วรรณวิมล จงจรวยสกุล

摘要

 


 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะการมีงานทำ ลักษณะอาชีพและรายได้ของผู้มีงานทำและสาเหตุของการไม่มีงานทำ 2) เพื่อศึกษาความสนใจและความต้องการในการศึกษาต่อ และ 3) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อหลักสูตรของผู้สำเร็จการศึกษา ปีการศึกษา 2555-2556 ประชากรได้แก่ ผู้สำเร็จการศึกษาจานวน 1,270 คน เครื่องมือในการวิจัยได้แก่แบบสอบถามภาวะการมีงานทำ การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ และค่าร้อยละ


ผลจากการศึกษาพบว่า 1) สถานภาพการทำงานในปัจจุบัน มีงานทำก่อนเข้าศึกษา (ร้อยละ 22.64) มีงานทำระหว่างศึกษา (ร้อยละ 32.17) และมีงานทำหลังสาเร็จการศึกษา (ร้อยละ 45.23) หน่วยงานที่ทำเป็นบริษัท/องค์กรธุรกิจเอกชนมากที่สุด (ร้อยละ 41.25) เงินเดือนที่ได้รับ ส่วนใหญ่คือ 12,001-15,000 บาท (ร้อยละ 33.29) สาหรับบัณฑิตที่ยังไม่ได้งานทำสาเหตุที่ยังไม่ได้ทำงาน พบนอกเหนือจากรอฟังคำตอบจากหน่วยงาน และยังหางานทำไม่ได้ (ร้อยละ 79.90) ปัญหาในการทำงานหลังสำเร็จการศึกษามากที่สุด นอกเหนือจากไม่ทราบแหล่งงาน หางานที่ถูกใจไม่ได้ ไม่ต้องการสอบแข่งขัน เงินเดือนน้อยและสอบเข้าไม่ได้ (ร้อยละ 34.71) 2) ความสนใจ/ความต้องการในการศึกษาต่อ พบว่าส่วนใหญ่ไม่สนใจ/ไม่ต้องการศึกษาต่อ (ร้อยละ 64.13) ด้านสาเหตุที่ยังไม่ศึกษาต่อ คือขอทำงานก่อน (ร้อยละ 95.90) ด้านผู้ที่ศึกษาต่อ (ทั้งบัณฑิตที่มีงานทำและยังไม่ได้ทำงาน) พบว่าที่กำลังศึกษาต่อมากที่สุด ในระดับปริญญาโท (ร้อยละ 94.81) สำหรับสาขาวิชาที่บัณฑิตกำลังศึกษาต่อมากที่สุด เป็นสาขาวิชาเดิมที่เคยเรียน (ร้อยละ 83.84) ประเภทของสถาบันการศึกษาต่อมากที่สุดเป็นรัฐบาลในประเทศ (ร้อยละ 78.00) เหตุผลที่ทำให้สนใจศึกษาต่อ คือต้องการใช้วุฒิที่ตรงกับสายงาน (ร้อยละ 62.80) ปัญหาในการศึกษาต่อมากที่สุดเป็นเงินทุน (ร้อยละ 83.84) 3) ความพึงพอใจต่อหลักสูตรและสาขาวิชาที่เรียน อยู่ในระดับมากที่สุดคิดเป็น (ร้อยละ 56.25) ส่วนความพึงพอใจรายวิชาที่ควรเพิ่มในหลักสูตรเพื่อเอื้อต่อการประกอบอาชีพมากที่สุดเป็นวิชาภาษาอังกฤษ (ร้อยละ 38.22) และการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ (ร้อยละ 31.24)

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

栏目
Articles

参考

กระทรวงศึกษาธิการ. คณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2553). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา ภายใน สถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา. (ออนไลน์) ค้นเมื่อ 26 กรกฏาคม 2557, http:// www.oqes.mju.ac.th/wtms

กองแผนงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้. ( 2554). ภาวะการมีงานทำของบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ปี การศึกษา 2554 (ออนไลน์) ค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2557, http://www.lanning2.mju.ac.th.

วรรณวิมล จงจรวยสกุล. (2556). ภาวะการมีงานทำของผู้สำเร็จการศึกษาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีการศึกษา 2554 – 2555. รายงานวิจัยของวิทยาลัยราชพฤกษ์ 2556.

งานวิจัยสถาบัน มหาวิทยาลัยรังสิต. (2553). ภาวะการมีงานทำ ของบัณฑิตมหาวิทยาลัยรังสิต ปีการศึกษา 2553 รุ่นที่ 22 (ออนไลน์) ค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2557, http:// www.rsu.ac.th.

แผนกมาตรฐานการศึกษา สถาบันการบินพลเรือน. (2555). ภาวะการหางานทำของบัณฑิต ระดับ ปริญญาตรี สถาบันการบินพลเรือน ปีการศึกษา 2554 (ออนไลน์) ค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2557, http:// www.catc.or.th.

ฝ่ายงานประกันคุณภาพ วิทยาลัยราชพฤกษ์. (2552). การมีงานทาของนักศึกษาผู้สาเร็จการศึกษาใน ระดับปริญญาตรี ประจาปีการศึกษา 2551 วิทยาลัยราชพฤกษ์. รายงานวิจัยของ วิทยาลัยราชพฤกษ์ 2552.

สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์. (2556). แรงงาน-เผยแนวโน้มการว่างงาน-ผู้จบปริญญาตรี-ปี-2556 (ออนไลน์) ค้นเมื่อ 8 มกราคม 2557, http://www.thaigov.go.th.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ (2557) ผู้มีงานและผู้ว่างงาน (ออนไลน์) ค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2558, http://w.w.w.service.nso.go.th