การสร้างความเข้าใจและศึกษาผลกระทบเกี่ยวกับการยุติโทรทัศน์ระบบแอนะล็อก ต่อผู้บริโภค จังหวัดร้อยเอ็ด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจการรับชมดิจิตอลทีวีของประชาชนในจังหวัดร้อยเอ็ด 2) ศึกษาการรับรู้ของประชาชนเกี่ยวกับดิจิตอลทีวีในจังหวัดร้อยเอ็ด 3) ศึกษาความพึงพอใจของประชาชนในการรับชมดิจิตอลทีวีใน จ.ร้อยเอ็ด โดยคณะผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่มีเครื่องรับโทรทัศน์ใน จ.ร้อยเอ็ด จำนวน 65,000 คน ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ หาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า โดยภาพรวมประชาชนในจังหวัดร้อยเอ็ดรับชมทีวีในปัจจุบันผ่านช่องทางดาวเทียม จานวน 49,023 คน คิดเป็นร้อยละ 75.42 รองลงมา คือ ผ่านเสารับสัญญาณ (หนวดกุ้ง/ก้างปลา) จานวน 7,730 คน คิดเป็นร้อยละ 11.89 และผ่านเคเบิลทีวี จานวน 7,171 คน คิดเป็นร้อยละ 11.04 ส่วนประชาชนในจังหวัดร้อยเอ็ดรู้จักและสามารถเปิดปิดการรับชมได้ จำนวน 35,298 คน คิดเป็นร้อยละ 54.30 รองลงมา คือ ไม่รู้จัก จำนวน 20,713 คน คิดเป็นร้อยละ 31.87 และรู้จักและรู้วิธีการปรับหาสถานี จำนวน 13,567 คน คิดเป็นร้อยละ 20.87 และประชาชนมีอุปกรณ์ในการรับชมดิจิตอลทีวีเป็นจานดำ (จานดาวเทียม) จำนวน 39,252 คน คิดเป็นร้อยละ 60.39 รองลงมา คือ ทีวีแบบเก่า จำนวน 20,681 คน คิดเป็นร้อยละ 31.82 และทีวีดิจิตอล HD (ความคมชัดสูง) จำนวน 13,449 คิดเป็นร้อยละ 20.69 นอกจากนี้ประชาชนในจังหวัดร้อยเอ็ดมีความต้องการที่จะเปลี่ยนมารับสัญญาณดิจิตอลทีวีจากเสาหนวดกุ้งหรือกุ้งปลา จำนวน 43,144 คน คิดเป็นร้อยละ 66.38 และจะไม่เปลี่ยน จำนวน 21,856 คน คิดเป็นร้อยละ 33.62
Article Details
References
บุญชม ศรีสะอาด. (2527). การพัฒนาการสอน. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
ประภาเพ็ญ สุวรรณ. (2520). ทัศนคติ : ในการวัด การเปลี่ยนแปลง และพฤติกรรมอนามัย.กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
ยุบล เบญจรงคกิจ. (2534). การวิเคราะห์ผู้รับสาร. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริชัย ศิริกายะ และ กาญจนา แก้วเทพ.(2531). ทฤษฎีการสื่อสารมวลชน. กรุงเทพฯ : คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรพงษ์ โสธนะเสถียร.(2533). การสื่อสารกับสังคม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โสภิตสุดา มงคลเกษม.(2539). พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการคาดเข็ดขัดนิรภัยของผู้ขับขี่รถยนต์ ในกรุงเทพมหานคร, วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อดุลย์ จาตุรงคกุล.(2541). หลักการตลาด. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อัญชลี เฑียรฆชาติ.(2541). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในงานและทัศนคติต่อการทำงานเป็นทีมของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท.(2542). การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Herbert C. Kelman. (1967). Attitude Change in Compliance, Identification and Internalization: Three Process of Attitude Change.John Wiley and Sons Inc, New York.
Katz E, Jay G. Blumler and Michale Gurevitch.(1974). The Used of Mass Communication: Current Perspectives on Gratifications Research.Beverly Hill:Sage Publications.
Katz, Elihu et al.(1974). Uses of Mass Communication by the Individual, Mass
Communication Research: Major Issues and Future Directions. W.Philip Davidson and Frederick Yu, Eds. New York: Praeger Publishers.
Wenner, Lawrence A.(1982). The Nature of Gratifications, in Media Gratifications
Research: Current Perspective. Beverly Hills, Sage Publications.
Yamane. (1967). Taro Statistic : An Introductory Analysis. New York: Harper &row.
Zimbardo and Ebbesen.(1969). Component of Attitude in Influencing Attitude and Changing Behavior. Addison-Wesley Publishing Company Inc, New York.