การพัฒนาบทเรียนการสอนภาษาอังกฤษของมัคคุเทศก์สำหรับนักศึกษา สาขาการจัดการการโรงแรมและการท่องเที่ยวชั้นปีที่ 4 ของมหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ (ศูนย์ภูเก็ต)

Main Article Content

วัชรินทร์ เกิดทรัพย์

บทคัดย่อ

 


 


 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนการสอนภาษาอังกฤษของมัคคุเทศก์ สาหรับนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการการโรงแรมและการท่องเที่ยว ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ศูนย์ภูเก็ต และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนการสอนภาษาอังกฤษของมัคคุเทศก์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการการโรงแรมและการท่องเที่ยวชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ศูนย์ภูเก็ต จำนวน 80 คน เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ บทเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษสำหรับมัคคุเทศก์ 2 จำนวน 5 บทเรียน ดำเนินการวิจัยโดยให้ นักศึกษาทำแบบฝึกหัดท้ายบทหลังการเรียนการสอนในแต่ละบทจานวน 5 ชุด ทดสอบด้วยแบบทดสอบหลังเรียนจบทุกบท และประเมินบทเรียนการสอนด้วยแบบสอบถามประเมินความพึงพอใจที่นักศึกษามีต่อบทเรียนการสอนจนครบทั้ง 5 บทเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลหาประสิทธิภาพของบทเรียนการสอนภาษาอังกฤษของมัคคุเทศก์ โดยใช้เกณฑ์ E1/E2 หรือ 80/80 และวิเคราะห์ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อเอกสารการสอนโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพของบทเรียนการสอนภาษาอังกฤษของมัคคุเทศก์มีค่าเท่ากับ 80.125/80.541 ถือว่ามีประสิทธิภาพอยู่ในเกณฑ์ดีมาก และนักศึกษามีความพึงพอใจต่อบทเรียนการ สอนภาษาอังกฤษของมัคคุเทศก์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นอยู่ในระดับดีทุกบทเรียน โดยมีค่าเฉลี่ยด้านเนื้อหา 4.030 ด้านรูปแบบบทเรียน 3.982 ด้านประโยชน์ 3.910 และด้านกิจกรรม 3.905

Article Details

How to Cite
เกิดทรัพย์ ว. (2016). การพัฒนาบทเรียนการสอนภาษาอังกฤษของมัคคุเทศก์สำหรับนักศึกษา สาขาการจัดการการโรงแรมและการท่องเที่ยวชั้นปีที่ 4 ของมหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ (ศูนย์ภูเก็ต). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 2(1), 123–134. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/112398
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน.ค้นเมื่อ25 กุมภาพันธ์ 2559, จาก http://www.psc.ac.th/docs/laws/education_core2551.pdf

ฉันทัช วรรณถนอม. (2551). หลักการมัคคุเทศก์.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

ชุติมา กองถัน. (2556). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวโดยใช้ภาพชุด ประกอบการบรรยายแนะนาแหล่งท่องเที่ยวและสถานการณ์จาลองในจังหวัดเพชรบูรณ์ สาหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. ค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2559, จาก http://research.pcru.ac.th/rdb/pro_data/files/5602009.pdf

ชัยยงค์ พรหมวงศ์.(2556).การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากร
ศึกษาศาสตร์วิจัย, ปีที่ 5 (ฉบับที่ 1), หน้า 7-14.

ณัฎฐ์นรี ฤทธิรัตน์. (2557). ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาไทย. ค้นเมื่อ 19 กุมภาพัน ธ์ 2559, จา ก http://gsbooks.gs.kku.ac.th/57/grc15/files/hmp39.pdf

นิศา ชัชกุล. (2554). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พิณสุดา สิริธรังศรี. (2555). การจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมขององค์กรในชุมชนประสบการณ์การ เรียนรู้จาการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

พิมพรรณ รังสิกรรพุม.(2553).การจัดการมัคคุเทศก์ท้องถิ่นโดยชุมชนบนพื้นที่สูง ตำบลทุ่งสมอ อำเภอเข้าค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์. ค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2559, จาก
http://research.pcru.ac.th/rdb/pro_data/files/5203001.pdf

พัชราพร รัตนวโรภาส.(2555).สภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชา ENG321
ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารมวลชน สาขาวิชาภาษาอังกฤษสื่อสารธุรกิจ. ค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2559, จาก http://www.spu.ac.th/liberal-arts/files/2013/08/4.1-2-2-2 รายงานวิจัยENG321.pdf
ยงยุทธ แฉล้มวงษ์. (2557). แรงงานไทยในบริบทใหม่เมื่อเปิดประชาคมอาเซียน.ค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2559, จาก http://tdri.or.th/tdri-insight/thai-labour-in-aec-context/

วรรณสิริ โมรากุล.(2558).สรุปสถานการณ์ท่องเที่ยวปี 2558 ฐานเศรษฐกิจ. ค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2559, จาก http://www.thansettakij.com/2016/01/08/25115

Education First. (2014). EF English Proficiency Index 2015.Retrieved February 25,2016, from http://www.ef.co.th/epi/

Hutchinson and Waters. (1989). English for Specific Purposes. Cambridge:Cambridge University Press.

Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology 140:1–55.

Nunan D.(1995).Designing Tasks for the Communicative Classroom. Cambridge: Cambride University press.

Robinson P.C.(1991). ESP Today : A Practitioner’s Guide. New York:Prentice Hall.Savignou,

S. J. (1983). Communicative Competence:Theory and Classroom.

Strevens P.(1997).Special-Purpose Language Learning: A Perspective.Language Teaching and Linguistics 10.