การเปิดรับข่าวสาร และการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์คลองบางขุนเทียน ของประชาชนในเขตเทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับข่าวสารและการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์คลองบางขุนเทียนของประชาชนที่มีลักษณะทางประชากรต่างกัน รวมถึงศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสารกับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์คลองบางขุนเทียนของประชาชนในเขตเทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้ คือ ประชาชนในชุมชนที่คลองบางขุนเทียนไหลผ่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามจำนวน 400 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) และการหาค่าสัมประสิทธิ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่าประชาชนในเขตเทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี มีการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์คลองบางขุนเทียนในระดับต่ำ และประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์คลองบางขุนเทียนในระดับสูง ทั้งนี้จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากรกับการเปิดรับข่าวสารและการมีส่วนร่วม พบว่า ประชาชนที่มีระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือนและมีที่พักอาศัยในปัจจุบันอยู่ใกล้คลองบางขุนเทียนแตกต่างกันมีการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์คลองบางขุนเทียนแตกต่างกัน ประชาชนที่มีระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน และมีที่พักอาศัยในปัจจุบันอยู่ใกล้คลองบางขุนเทียน แตกต่างกันมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์คลองบางขุนเทียนที่แตกต่างกัน และพบว่าการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์คลองบางขุนเทียนของประชาชนมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์คลองบางขุนเทียน
Article Details
References
เทศบาลนครนนทบุรี. (2557). โครงการคลองสวยนาใส ประจาปี 2557. นนทบุรี: เทศบาลนครนนทบุรี.
บุญชัย เกิดปัญญาวัฒน์. (2535). การศึกษาความเหมาะสมในการมีส่วนร่วมของประชาชน ต่อกระบวนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
บุษบา สุธีธร. (2531). พฤติกรรมการสื่อสารระหวางบุคคล. ในพฤติกรรมศาสตรการสื่อสาร หนวยที่ 6. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุ โขทัยธรรมาธิราช.
ปรมะ สตะเวทิน. (2540). หลักนิเทศศาสตร์ (พิมพ์ครั งที่ 9). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
พีระนันท์ บูรณะโสภณ. (2538). พฤติกรรมการเปิดรับสาร ความรู้ ทัศนคติ และการมีส่วนร่วม ในการใช้ผลิตภัณฑ์อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์พัฒนาการ บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพบูลย์ พงศะบุตร และ ปิยนาถ บุนนาค. (2551). “คลอง.” สารานุกรมไทยสาหรับเยาวชนโดย พระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. 33: 114-122.
ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ. (2542). การวิเคราะห์ผู้รับสาร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ลดาวัลย์ พอใจ. (2535). การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ความตระหนัก และการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของประชาชนในเขตอำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริพร อ้วนคำ. (2544). การ เปิดรับข่าวสาร ความรู้ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม ของนักเรียนในโรงเรียนที่เข้าร่วม โครงการโรงเรียนสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมดีเด่น เฉลิมพระเกียรติ. ปริญญานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์พัฒนาการ บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุธรรม รัตนโชติ. (2533). การประเมินผลโครงการพัฒนาองค์กรประชาชน: ศึกษาเจาะลึกเฉพาะกรณีผู้ยากจน. กรุงเทพฯ: สานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
เสถียร เชยประทับ. (2528). การสื่อสารและการพัฒนา. กรุงเทพฯ: เจ้าพระยาการพิมพ์.
อิศเรศ คำแหง. (2553). การเปิดรับข่าวสาร ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร กับกิจกรรมรณรงค์ในช่วงเทศกาลของมูลนิธิเมาไม่ขับ. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์พัฒนาการ บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Atkin, Charles K. (1973). New Model for Mass Communication Research. New York: The Free Press.
De fluer, Melvin L. (1972). Theories of Mass Communication. New York: David Mckay.
Reeder, Williams W. (1974). Some Aspects of the Informal Social Participation of Focus Families In New York State. Cornell University: Unpublished Ph.D. Dissertation.
Schramm, Wilbur. (1977). Big Media, Little Media. Beverly Hills CA: Sage Publications.
Klapper, Joseph T. (1960). The Effect of Mass Communication. New York: The Free Press.