การเปรียบเทียบผลการเรียนเฉลี่ยกับคุณภาพการทำงานและความพึงพอใจของนายจ้างที่มีต่อบัณฑิต

Main Article Content

ณัฐกาญจน์ สุวรรณธารา

บทคัดย่อ

 


 งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับผลการเรียนเฉลี่ยมีผลต่อคุณภาพการทำงานและความพึงพอใจของนายจ้างผู้ใช้บัณฑิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิที่จบการศึกษาปี 2556 จำนวน 616 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทาการตรวจสอบค่าความแปรปรวนของข้อมูล และทาการวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ สถิติ Welch-test และทาการ เปรียบเทียบรายคู่โดยใช้วิธี Tamhane’s ผลการวิจัยพบว่า บัณฑิตส่วนใหญ่จบการศึกษาด้วยระดับผลการเรียน 2.00-2.50 จำนวน 58 คน คิดเป็นร้อยละ 9.40 ระดับผลการเรียน 2.51-3.24 จำนวน 367 คน คิดเป็นร้อยละ59.60 และ 3.25 ขึ้นไป จำนวน 191 คน คิดเป็นร้อยละ 31 ประเภทของหน่วยงานมีบัณฑิตเข้าทำงานในหน่วยงานของเอกชนมากที่สุด จำนวน 596 คน คิดเป็นร้อยละ 96.80 รองลงมาเป็น องค์กรของรัฐ 15 คน คิดเป็นร้อยละ 2.21 ในส่วนประเภทของกิจการ มีบัณฑิตที่ทากิจการด้านอุตสาหกรรมมากที่สุด จำนวน 298 คน คิดเป็นร้อยละ 48.40 รองลงมาเป็น ธุรกิจ/บริการ จำนวน 260 คน คิดเป็นร้อยละ 42.20 ธนาคาร/สถาบันการเงิน จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 5.40 และ สุดท้าย โรงพยาบาล/สถานพยาบาล จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 3.20


คุณภาพการทำงานและความพึงพอใจของนายจ้างที่มีต่อบัณฑิต พบว่า คุณภาพการทำงานและความพึงพอใจของนายจ้างที่มีต่อบัณฑิตมากที่สุดเรียงตามลาดับจากมากที่สุดไปน้อยที่สุดมีดังนี้ 1) ด้านคุณธรรม จริยธรรม (x̄=4.34,SD =0.46) อยู่ในระดับมาก 2) ด้านลักษณะบัณฑิตตามอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ (x̄=4.30,SD =0.46)อยู่ในระดับมาก 3) ด้านทักษะความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ (x̄=4.20,SD =0.52) อยู่ในระดับมาก 4) ด้านความรู้ (x̄=4.12,SD =0.48)อยู่ในระดับมาก 5) ด้านทักษะทางปัญญา (x̄=4.04,SD =0.50)อยู่ในระดับมาก 6) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (x̄=3.95,SD =0.47) อยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานปรากฏว่าระดับผลการเรียนเฉลี่ยมีผลต่อความพึงพอใจของนายจ้างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับความเชื่อมั่น .05

Article Details

How to Cite
สุวรรณธารา ณ. (2016). การเปรียบเทียบผลการเรียนเฉลี่ยกับคุณภาพการทำงานและความพึงพอใจของนายจ้างที่มีต่อบัณฑิต. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 2(1). สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/112388
บท
บทความวิจัย

References

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2550). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ : เทพเนรมิตการพิมพ์.

พิณ ทองพูน. (2529). ความพึงพอใจต่อบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการการประถมศึกษาจังหวัด 14 จังหวัดภาคใต้. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชา การบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒสงขลา.

Mullins, L. T. (1985). Management and orgnisational behaviour. London: Pitman