การศึกษาพฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์กรธุรกิจอุตสาหกรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรม และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสื่อสารภายในองค์กรธุรกิจอุตสาหกรรม วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์กรธุรกิจอุตสาหกรรม และเปรียบเทียบปัจจัยมีอิทธิพลต่อการสื่อสารภายในองค์กรธุรกิจอุตสาหกรรม จำแนกตามสถานภาพทั่วไปของบุคลากรด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา ระดับเงินเดือน ระดับตำแหน่งงาน และอายุงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรในองค์กรอุตสาหกรรม จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-Square t-test ANOVA และ Scheffe Analysis โดยกาหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 25-35 ปี ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี เงินเดือนต่ำกว่า 20,000 บาท ตำแหน่งผู้ปฏิบัติงาน และมีอายุงานต่ำกว่า 5 ปีระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสื่อสารภายในองค์กรธุรกิจอุตสาหกรรมในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ได้แก่ ด้านนโยบายบริษัท และด้านเทคโนโลยีการสื่อสารอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์กรธุรกิจอุตสาหกรรม พบว่าพฤติกรรมของผู้บุคลากรในองค์กรอุตสาหกรรมขึ้นอยู่กับสถานภาพด้านเพศ 4 รายการ อายุ 14 รายการ ระดับการศึกษา 4 รายการ ระดับเงินเดือน 5 รายการ ระดับตำแหน่งงาน 5 รายการ และอายุงาน 14 รายการ การเปรียบเทียบปัจจัยมีอิทธิพลต่อการสื่อสารภายในองค์กรธุรกิจอุตสาหกรรม จำแนกตามสถานภาพด้านเพศพบความแตกต่างจานวน 4 รายการ อายุพบ 2 รายการ ระดับการศึกษาพบ 4 รายการ ระดับเงินเดือนพบ 7 รายการ ตำแหน่งงานพบ 3 รายการ และอายุงานพบ 9 รายการ
Article Details
References
http://elearning2.utcc.ac.th/officialtcu/econtent/CA110/w1/CH1PPT.pdf
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์
ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนสามัญบิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
ยุพาพร ทองอินทร์. (2555). ความคิดเห็นเกี่ยวกับบรรยากาศการสื่อสารภายในองค์กรของ
พนักงานโรงแรมโมเวนพิค รีสอร์ท แอนด์ สปา กะรนบีช ภูเก็ต. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ลิขิต ธีรเวคิน. (2558). การสื่อสารระหว่างมนุษย์. ค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2558,
http://www.siamrath.co.th/web/?q
ศรีสุนันท์ อนุจรพันธุ์. (2554). พฤติกรรมด้านการสื่อสารภายในองค์กรที่มีผลต่อความพึงพอใจของ
พนักงานซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาองค์กร. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยรังสิต, ปีที่ 1
ฉบับที่ 2, หน้า 147-161.
สหไทย ไชยพันธุ์. (2555). แนวคิดทฤษฎีการพูดสื่อสารในสังคม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัย
นราธิวาสราชนครินทร์, ปีที่ 4 ฉบับที่ 3, หน้า 154.
สุจิตราภรณ์ จุสปาโล. (2558). อุปสรรคของการสื่อสารในองค์การ. ค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2558,
http://kpi.dopa.go.th/read.php?name=knowledge&file=readknowledge&id=44
หนึ่งฤทัย นวลแป้น. (2555). การติดต่อสื่อสารในองค์กร. ค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2558,
https://www.l3nr.org/posts/525022
อภิษฎา วัฒนะเสวี. (2557). รูปแบบการสื่อสารและปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อประสิทธิภาพของการ
สื่อสารภายในองค์กร : กรณีศึกษา บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนไทยพาณิชย์ จากัด.
วารสารการเงิน การลงทุน การตลาดและการบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยรังสิต, ปีที่ 4 ฉบับที่
2, หน้า 597-611.