การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ป่าชุมชน: ศึกษากรณีตำบลช่องสะเดา อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

ศรีประไพร คุ้มศัตรา

บทคัดย่อ

 


 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนชุมชนในการอนุรักษ์ป่า ชุมชน ตำบลช่องสะเดา อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 2) เปรียบเทียบระดับการมี ส่วน ร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ป่าชุมชน จำแนกตามตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และ รายได้ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระดับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ป่าชุมชน 4) ศึกษาข้อเสนอแนะและแนวทางในการอนุรักษ์ป่าชุมชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้ง นี้คือประชาชน 318 คน เจ้าหน้าที่ของรัฐและผู้นาชุมชน 20 คน เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้เป็น แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทาการ ทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA และ) และการ วิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Correlation)


ผลการวิจัย พบว่า 1) ประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าชุมชน โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง


( ค่าเฉลี่ย=2.96) 2) จากการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ป่าชุมชน จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 3) ระดับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าชุมชนมีความสัมพันธ์กับความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าชุมชน โดยภาพรวม พบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับน้อย (r = 0.16) ผลที่ได้ยอมรับสมมติฐาน 4) ข้อเสนอแนะจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้นำชุมชน และสมาชิกในชุมชนควรร่วมกันจัดทำแผน และหาแนวทางการอนุรักษ์ป่าชุมชนโดยการจัดทาโครงการรักษาป่าต้นน้ำโครงการปลูกป่า โครงการบวชป่า โดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าชุมชน

Article Details

How to Cite
คุ้มศัตรา ศ. (2016). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ป่าชุมชน: ศึกษากรณีตำบลช่องสะเดา อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 1(3), 59–68. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/112372
บท
บทความวิจัย

References

ชัยรัตน์ วงศ์ฟู. (2550). ปัจจัยที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วม ของราษฎรบ้านป่าแดงในการจัดการป่า
ชุมชน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธีรศักดิ์ คำแสนพันธ์. (2553). การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าโสกรังของประชาชนกับองค์การบริหารตำบลหนองบัว อำเภอพยัคฆพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ป่าไม้, กรม. (2549). สถิติป่าไม้ของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: เฟื่องฟ้า พริ้นติ้ง.

ปกรณ์ ปรียากร. (2550). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา. กรุงเทพฯ: หาวิทยาลัยมหิดล.

พีระพงษ์ พงษ์วัฒนกุล. (2551). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมของเทศบาลตำบลหมอนนาง อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี. มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิยุทธ์ จำรัสพันธ์ และคณะ. (2550). รายงานการวิจัยเรื่องการจัดการป่าไม้ชุมชนโดยองค์ท้องถิ่น.
โครงการวิจัยวนศาสตร์ชุมชน คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ขอนแก่น:
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิลาสินี กัยวิกัยโกศล. (2550). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
กรณีศึกษามูลนิธิกระต่ายในดวงจันทร์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
(การจัดการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม) เชียงใหม่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.


สมชาย วิริภิรมย์กูล. (2553). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชน กรณีศึกษา:
ป่าชุมชนบ้านโคกสันติสุขตำบลวังหมี อำเภอวังนาเขียว จังหวัดนครราชสีมา.
วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุรยุทธ หลิมตระกูล. (2551). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์
ทรัพยากรป่าไม้ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

เสน่ห์ จามริก และ ยศ สันติสมบัติ. (2549). ป่าชุมชนในประเทศไทย แนวทางการพัฒนาเล่ม 2 ป่าชุมชนภาคเหนือ. กรุงเทพฯ : สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.

สรรเสริญ ทองสมนึก. (2550). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการป่าชุมชน อำเภอเมือง
จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต(การจัดการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม) เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สหัทยา วิเศษ. (2550). ภูมิปัญญาชาวบ้านในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นนา การศึกษาเฉพาะ กรณีกลุ่มฮักป่าศรีถ้อย ตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา. วิทยานิพนธ์ สังคม
สงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต(พัฒนาชุมชน). กรุงเทพฯ: คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.