ผลของการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ Mater Dei Learning Cycle (MDLC) ที่มีต่อความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัย

Main Article Content

จุฑามาศ ศิวกีรัตตนะ
อัญชลี ไสยวรรณ
เชวง ซ้อนบุญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ Mater Dei Learning Cycle (MDLC) ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ เด็กปฐมวัยที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาล 3 อายุ 5–6 ปี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย จำนวน 120 คน ได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม 1 ห้องเรียน จำนวน 28 คน โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ Mater Dei Learning Cycle (MDLC) มีค่าความสอดคล้องที่ .67-1.00 และแบบทดสอบความสามารถในการคิด เชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัย มีค่าความเชื่อมั่นที่ .79 ในการทดลองครั้งนี้ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 เป็นเวลา 8 สัปดาห์ วันละ 40 นาที สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test dependent ผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัยมีความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยภายหลังได้รับการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ Mater Dei Learning Cycle สูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ Mater Dei Learning Cycle (MDLC) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
ศิวกีรัตตนะ จ., ไสยวรรณ อ. . ., & ซ้อนบุญ เ. (2024). ผลของการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ Mater Dei Learning Cycle (MDLC) ที่มีต่อความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต, 19(2), 149–166. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rbac/article/view/278544
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). แนวทางการส่งเสริมการจัดการสอนวิทยาการคำนวณ Coding เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. 21 เซ็นจูรี่.

Ministry of Education, Office of the Secretary of the Education Council. (2021). Guidelines for promoting the teaching of computational science Coding to develop student skills in the 21st Century. 21 Century. (in Thai)

กันตวรรณ มีสมสาร. (2560). เอกสารการสอนชุดวิชาการจัดการศึกษาและหลักสูตรสำหรับเด็กปฐมวัยสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Meesomsan, K. (2017). Teaching documents for the subject of education and curriculum for early childhood in the field of education Sukhothai Thammathirat University. Sukhothai Thammathirat University. (in Thai)

คณะกรรมการวิชาการโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย. (2564). คู่มือครู (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2564). โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย.

Mater Dei College Academic Committee. (2021). Teacher's Manual (Revised Edition 2021). Mater Dei College School. (in Thai)

ครรชิต มาลัยวงศ์. (2564). เทคโนโลยีการบริหารการศึกษา. https://www.drkanchit.com/general_articles/articles/general_24.html

Malaiwong, K. (2021). Educational administration technology. https://www.drkanchit.com/general_articles/articles/general_24.html (in Thai)

ประสิทธิ์ ทองแจ่ม. (2561). การพัฒนาการคิด สาขาวิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. สุวรรณอักษร.

Thongcham, P. (2018). Thinking development mathematics field Suratthani Rajabhat University. Suwanarksorn. (In Thai)

ไพศาล วรคำ. (2564). การวิจัยทางการศึกษา (Education Research). (พิมพ์ครั้งที่ 12). ตักศิลาการพิมพ์.

Worakam, P. (2021). Education research (12th ed). Taxila Printing.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2560). การคิดเชิงเหตุผลในเด็กปฐมวัย. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Sukhothai Thammathirat Unversity. (2017). Rational thinking in early childhood. Sukhothai Thammathirat Unversity. (In Thai)

วิวัฒน์ ค่ามาก. (2561). ผลการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์การเล่นน้ำต่อทักษะการคิดเชิงคำนวณของเด็กปฐมวัย. โรงเรียนบ้านหนองสระพังโนนสะอาด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3ม มหาสารคาม

Khamak, W. (2018). Effects of creative art activities and water play on computational thinking skills of early childhood children. Ban Nong Sa Phang Non Sa-at School Maha Sarakham Primary Educational Service Area Office, Area 3ม Maha Sarakham (in Thai)

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2565). จิตวิทยาการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 14). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Khowtrakul, S. (2022). Educational psychology (14th ed.). Chulalongkorn University. (In Thai)

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). หลักสูตรอบรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาการคำนวณระดับอนุบาล. กระทรวงศึกษาธิการ.

Office of the Basic Commission. (2017). Training course for organizing learning experiences in computational science at the kindergarten level. Ministry of Education. (in Thai)

อัญชลี ไสยวรรณ. (2564). เอกสารประกอบการสอน วิชาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย คณะจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ภาคการศึกษาที่ 2/2563. มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.

Saiwan, A. (2020). Teaching materials Academic learning experience for Early Childhood Faculty of Psychology Kasem Bundit University Semester 2/2020. Kasem Bundit University. (in Thai)

Deely, S. & Inthanon, W. (2020). Analysis of concepts and work practices in student quality development of the Student Development Division Chiang Mai University follows the pragmatism of John Dewey. Prathana Journal: Academic Journal on Philosophy and Religion, 16(1), 28-40.

Dewey, John. (1859). The educational theory of John Dewey (1859-1952). Macmillan.

Fitz - Gibbon. (1987). How to Design a Program Evaluation. SAGE.

Galotti, K. M. (2014). Cognitive psychology: In and of laboratory (5th ed.). The University of Phoenix.

Jonny, K. S. J., & Lita, A. (2020). Reflective learning following the Ignatius teaching process for the 21st century. Council of the Roman Catholic Bishops of Thailand.

Piaget, J. (1962). Play, dreams and imitation in childhood. Norton.

Vygotsky, L. S. (1896). Thought and language. MIT Press.