คุณภาพชีวิตของประชาชนที่สัมพันธ์กับความผูกพันต่อชุมชนในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

อัญชลี นรินทร
กนก เพ่งจินดา

บทคัดย่อ

ในการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของประชาชนและความผูกพันต่อชุมชน เปรียบเทียบ
ความผูกพันต่อชุมชน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่อาศัยในชุมชนกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์แปรปรวนทางเดียว การเปรียบเทียบเชิงซ้อน และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ผลการวิจัย พบว่า คุณภาพชีวิตของประชาชนต่อชุมชน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านสุขภาพร่างกาย ด้านความสัมพันธ์ทางสังคมอยู่ในระดับมาก และด้านจิตใจ ด้านสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนความผูกพัน  ของประชาชนต่อชุมชน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความเป็นอัตลักษณ์ ด้านสถานที่ ด้านความรักในชุมชน ด้านการทำหน้าที่อยู่ในระดับมาก และด้านความสัมพันธ์ทางสังคมอยู่ในระดับปานกลาง ประชาชนในชุมชนที่มีเพศ อายุ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ย ต่อเดือนต่างกันมีระดับความผูกพันต่อชุมชนที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ .05 ส่วนประชาชนในชุมชนที่มีสถานภาพ อาชีพและชุมชนที่อยู่อาศัยต่างกัน มีระดับความผูกพันต่อชุมชนไม่แตกต่างกัน ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตของประชาชนกับความผูกพันต่อชุมชน มีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ด้านสถานที่ ด้านความเป็นอัตลักษณ์ ด้านการทำหน้าที่และด้านความรู้สึกรักชุมชน ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
นรินทร อ., & เพ่งจินดา ก. (2022). คุณภาพชีวิตของประชาชนที่สัมพันธ์กับความผูกพันต่อชุมชนในกรุงเทพมหานคร . วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต, 17(1), 44–59. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rbac/article/view/258382
บท
บทความวิจัย

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2559). รายงานการประเมินผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ กรมการพัฒนาชุมชน พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

กรมการพัฒนาชุมชน. (2561). แนวทางการดำเนินกิจกรรมตามยุทธศาสตร์ กรมการพัฒนาชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: สถาบันการพัฒนาชุมชน.

กรมสุขภาพจิต (2563). แบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL-BREF-THAI). http://www.dmh.go.th/test/download/files/whoqol.pdf

กิตติวงค์ สาสวด. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดภาคตะวันออก. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัย

ราชภัฏนครราชสีมา, 11(2), 21-38.

คณะกรรมการอำนวยการงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน (พชช.). (2561). รายงานคุณภาพชีวิตของคนไทย ปี 2561. กรุงเทพฯ: กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.

ญาตินันท์ โคกมา และพิชิต รัชตพิบุลภพ. (2563). คุณภาพชีวิตของประชาชนที่สัมพันธ์กับความผูกพันต่อชุมชน อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการ บัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 16(1), 191-209.

พิญาภรณ์ เต็งพานิชกุล. (2562). ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม สํานักงานเขตบางแค (ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสยาม, กรุงเทพฯ.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2560, เมษายน 6). ราชกิจจานุเบกษา, 134(40ก), 2560, 17-18.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.

วินยุทธ นุชคง. (2562). ปัจจัยคุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการตำรวจ จังหวัดสิงห์บุรี. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 6(2), 241–258.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2559). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี

สำนักผังเมือง, กองนโยบายและแผนงาน. (2561). สถิติชุมชนในเขตกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: กองนโยบายและแผนงาน สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร.

อนรรฆ อิสเฮาะ. (2562). คุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสะกอม อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา (ปริญญามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

อภิสรรค์ ภาชนะวรรณ และ สุภาวดี ลาภเจริญ. (2564). ความผูกพันต่อองค์การของครูในสถานศึกษาเอกชน จังหวัดสระบุรี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(1), 240–252.

Department of Policy and Planning, Bureau of Town Planning. (2018). Community statistics in Bangkok, 2018. Bangkok: Policy and Planning Division Bureau of Town Planning Bangkok. (In Thai)

Burns, N., & Grove, Susan K. (2005). The Practice of nursing research, conduct, critique, and utilization (5th ed.). Philadelphia: W.B. Saunders.

Community Development Department. (2016). Guidelines for implementing strategic activities Department of Community Development, Fiscal Year 2018. Bangkok: Behavioral Science Research Institute, Srinakharinwirot University. (in Thai)

Community Development Department. (2018). Guidelines for implementing strategic activities Department of Community Development, Fiscal Year 2018. Bangkok: Department of Community Development. (in Thai)

Constitution of the Kingdom of Thailand. (2017, April 6). Government Gazette, 134(40k), 17–18. (in Thai)

Cross, Jennifer E. (2004). Improving measure of community attachment. Prepared For the annual meeting of the Rural Sociology Society, August 12-15, 2004.

Department of Mental Health. (2020). World Health Organization Quality of Life Indicators, Thai version (WHOQOL-BREF-THAI). http://www.dmh.go.th/test/download/view.asp (in Thai)

Ishoh, A. (2019). Quality of life of people in Tambon Sakom Administrative Organization, Thepha District, Songkhla Province. Prince of Songkla University, Songkhla. (in Thai)

Khokma, Y., & Ratchatapibhunphob, P. (2020). People’s quality of life in relation to community attachment at NamPad District, Uttaradit. SuanDusit Graduate School Academic Journal, 16(1), 191-209. (in Thai)

Noochakong W. (2019). Factors affecting quality of work life impinging Upon Organizational Commitment of Police Personnel in Singburi Province. Political Science Journal Kasetsart University, 6(2), 241–258. (in Thai)

Office of the National Economic and Social Development Board. (2016). Summary of the 12th National Economic and Social Development Plan (2017- 2021). Bangkok: Office of the National Economic and Social Development Board. Prime Minister’s Office. (in Thai)

Pachanavon, A., & Lapcharoen S. (2021). The organizational commitment of private school teachers in Saraburi Province. Journal of MCU Peace Studies, 9(1), 240–252. (in Thai)

People’s Quality of Life Development Governing Committee (PCC). (2018). Repot on the quality of life of Thai people in 2009. Bangkok: Department of Community Development Ministry of Interior. (in Thai)

Royal Academy. (2003). Dictionary, Royal Institute Edition 1999. Bangkok: Nanmee Books. (in Thai)

Sasuad, K. (2017). Factors affecting the quality of life of the elderly in the Eastern Province. NRRU Community Research Journal, 11(2), p. 21-38. (in Thai)

Tengpanichakul, P. (2019). Organizational commitment of personnel in community development and social welfare section of Bangkhae District Office (Master Thesis). Siam University, Bangkok. (in Thai)

Yamane. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). Harper and Row.