ตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

นันทพร ชเลจร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร และ 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของตัวแบบที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 386 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบลูกโซ่ (snowball sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์สถิติเชิงบรรยายและการวิเคราะห์ ตัวแบบสมการเชิงโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า ตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับผู้สูงอายุที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย การตลาดแบบออนไลน์และออฟไลน์ ปัจจัยด้านจิตวิทยา คุณค่าตราสินค้า และคุณลักษณะผลิตภัณฑ์ เป็นสาเหตุทางตรงของพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับผู้สูงอายุ การตลาดแบบออนไลน์และออฟไลน์ และปัจจัยด้านจิตวิทยา เป็นสาเหตุทางอ้อมของพฤติกรรม การตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโดยส่งผ่านคุณค่าตราสินค้า และคุณลักษณะผลิตภัณฑ์ ตัวแบบที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่า 2 = 124.48, Degrees of freedom = 106, P-value = 0.072, RMSEA = 0.048, CFI = 0.98, IFI = 0.98, CN = 324.41, RMR = 0.039, AGFI = 0.97, PGFI = 0.53 ทั้งนี้ ตัวแปรในตัวแบบสามารถอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับผู้สูงอายุได้ร้อยละ 89

Article Details

How to Cite
ชเลจร น. (2020). ตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต, 15(2), 159–172. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rbac/article/view/249178
บท
บทความวิจัย

References

Aaker, D. A. (1991). Managing brand equity: Capitalizing on the value of a brand name. New York: Free.

Aaker, D. A. (1996). Building strong brands. New York: Free.

BrandAge (2018, September 6). Entrepreneurs must know online to offline to strengthen business. Retrieved from http://brandage.com/article/7377/O2O (in Thai)

แบรนด์เอจ (2561, 6 กันยายน). ผู้ประกอบการต้องรู้ online to offline เสริมธุรกิจให้สตรอง. สืบค้นจาก http://brandage.com/article/7377/O2O

Bunnag, P. (2015). Influence of product attributes and brand value on purchase intent of product buyer dietary supplement in Thailand. Sripatum Review of Humanities and Social Sciences, 15(1),

-87. (in Thai)

ภัทรญาณ์ บุญนาค. (2558). อิทธิพลของคุณลักษณะผลิตภัณฑ์และคุณค่าตราสินค้าที่มีต่อการตั้งใจซื้อของผู้ซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในประเทศไทย. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 15(1), 78-87.

Cheulek, P. and Bunyarattanasewi, T. (2018). Elderly manpower: Management challenges. Civil Servant Journal, 60(4), 12-14. Retrieved from https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/document/ocsc-2561-y60b04.pdf (in Thai)

พัชนีวรรณ เชื้อเล็ก และธวัลหทัย บุณยรัตนเสวี. (2561). กำลังคนสูงวัย: ความท้าทายในการบริหารจัดการ. วารสารข้าราชการ, 60(4), 12-14. สืบค้นจาก https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/document/ocsc-2561- y60b04.pdf

Cronbach, L. J. (1990). Essential of psychology testing (5th ed.). New York: Harper Collins.

Deesan, P. (2017). Product feature, brand loyalty, value, e-word of mouth, and warranty affecting smartphones’ purchase decision of Gen Y consumers in Bangkok (Independent Studies, Master) Graduate School, Bangkok University, Phatunthani. (in Thai)

พงศกร ดีแสน. (2560). คุณสมบัติผลิตภัณฑ์ ความภักดีต่อตราสินค้า คุณค่า การบอกต่อปากต่อปากทางอิเล็กทรอนิกส์ และการรับประกันสินค้าที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนของผู้บริโภค Gen Y ในกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, ปทุมธานี.

Duanduan, S. (2018). Integrated marketing communication, brand equity, consumer behavior and attitudes to the consumer decision-making process of injecting botulinum toxin (botox) in the Bangkok Metropolitan Area. Rajapark Journal, 12(25), 177-193 (in Thai)

สุจินดา ดวนด่วน. (2561). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ คุณค่าตราสินค้า พฤติกรรม และทัศนคติต่อการตัดสินใจเข้ารับบริการฉีดโบทูลินั่มท็อกซิน (โบท็อกซ์) เพื่อความงามของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารรัชต์ภาคย์, 12(25), 177-193.

Foundation of Thai Gerontology Research and Development institute. (2019). Situation of the Thai Elderly 2018. Nakorn Pathom: Institute for Population and Social Research (IPSR), Mahidol University Retrieved from http://www.dop.go.th/download/knowledge/th1573033396-261_0.pdf (in Thai)

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2562). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย 2561. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. สืบค้นจาก http://www.dop.go.th/download/knowledge/th1573033396-261_0.pdf

Kotler, P. (2016). Marketing 4.0: Moving from traditional to digital. Hoboken, New Jersey. John Wiley & Sons.

Malee, S. (2018). Knowing the aging society and the situation of the elderly (In Thailand)]. Civil Servant Journal, 60(4), 5-8. (in Thai)

สุรพงษ์ มาลี. (2561). รู้จักสังคมสูงอายุ และสถานการณ์ผู้สูงอายุ (ในประเทศไทย). วารสารข้าราชการ, 60(4), 5-8.

Ministry of Interior. Department of Provincial Administration. (2019). Demography statistics. Retrieved from social.nesdb.go.th/SocialStat/StatReport (in Thai)

กระทรวงมหาดไทย. กรมการปกครอง. (2562). สถิติประชากรศาสตร์. สืบค้นจาก social.nesdb.go.th/SocialStat/StatReport

Moonguluem, K. (2008). Consumers' attitude and behavior on functional foods (Master’s thesis). Chulalongkorn University, Bangkok. (in Thai)

กนิษฐา หมู่งูเหลือม. (2551). ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคต่ออาหารสร้างสุขภาพ (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

Office of the National Economic and Social Development Board. (2017). Significant summary Economic and Social Development Plan National Edition 12. Retrieved from http://www.nesdb.go.th/ download/plan12/ (in Thai)

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). สรุปสาระสำคัญ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. สืบค้นจาก http://www.nesdb.go.th/download/plan12/

Phitharak, P. & Wadithongchina, C. (2018). Integrated marketing communication tools. Brand value and service factors affecting the decision making process of buyers on national airlines. (The 2nd National Academic Research Conference "GRADUATE SCHOOL CONFERENCE 2018", 30 November 2018) Suan Sunandha Rajabhat University, Bangkok. (in Thai)

ภูวรักษ์ ไผทรักษ์ และชุติมาวดี ทองจีน. (2561). เครื่องมือการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ คุณค่าตราสินค้า และปัจจัยการบริการที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจของผู้ซื้อต่อสายการบินแห่งชาติ (การประชุมวิชาการและนำเสนอ ผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 2 "Graduate School Conference 2018", มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, กรุงเทพฯ, 30 พฤศจิกายน 2561)

Phochai, W. (2019). Brand value and marketing communication factors affecting the decision to buy health food supplements of the Gen Y group in Bangkok. Journal of Research and Development Management, 9(3), 95-103. (in Thai)

วรรณวิไล โพธิ์ชัย. (2562). คุณค่าตราสินค้าและปัจจัยด้านการสื่อสารการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพของ กลุ่ม Gen Y ในกรุงเทพมหานคร. วารสารการวิจัยแ ละการบริหารการพัฒนา, 9(3), 95-103.

Prasertlap, M. (2015). Comparison of reliability of the Leakert attitude measurement method. Silpakorn Journal of Research Science, 7(2), 249-258. (in Thai)

มณฐิณี ประเสริฐลาภ. (2558). การเปรียบเทียบความน่าเชื่อถือของผลการวัดแบบวัดเจตคติของลิเคอร์ท. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 7(2), 249-258.

Schiffman, L. & Wisenblit, J. (2015). Customer behavior (11th ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Siriwongnam, S. & Rammanust, S. (2019). Organization and brand equity as mediating factors between integrated marketing communication and buying decision on frozen foods of consumers in Bang Khae District Bangkok. Rom Phruek Journal, 37(3), 71-82. (in Thai)

สิริรัตน์ สิริวงศ์นาม และ สุมาลี รามนัฎ. (2562). การสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการในฐานะปัจจัยเชื่อมโยงปัจจัยด้านองค์กรและคุณค่าตราสินค้าส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารแช่แข็งของผู้บริโภคในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร.

วารสารร่มพฤกษ์, 37(3), 71-82.

Sriphol, P. (2017). Brand equity, word of mouth communication, and attitude that affects supplement product (vitamin)’s purchasing in Bangkok (Independent Studies, Master). Graduate School, Bangkok University, Phatunthani. (in Thai)

พิมพรรณ ศรีผล. (2560). คุณค่าตราสินค้า การสื่อสารแบบปากต่อปาก และทัศนคติต่อผลิตภัณฑ์ ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ (วิตามิน) ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, ปทุมธานี.

Thai News Agency. (2018). Trends in the market of health products is still growing. Retrieved from https://tna.mcot.net/view/5ae7160de3f8e40ac8c459e6 (in Thai)

สำนักข่าวไทย. (2561). แนวโน้มตลาดสินค้าเพื่อสุขภาพยังเติบโต. สืบค้นจาก https://tna.mcot.net/view/5ae7160de3f8e40ac8c459e6

Wiratchai, N. (1999). LISREL model: Statistical analysis for research. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House. (in Thai)

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.