A ระบบภาษีและอิทธิพลของปัจจัยทางเศรษฐกิจต่อรายได้ภาษีของรัฐบาลในประเทศสมาชิกอาเซียน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างรายได้ภาษีและความสัมพันธ์ของปัจจัยทางเศรษฐกิจกับรายได้ภาษีของรัฐบาลประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วย ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิแบบอนุกรมเวลาภาคตัดขวาง (panel data) รายปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 -2559 วิเคราะห์สมการถดถอยแบบ Pooled panel ผลการศึกษา พบว่า อัตราการจ้างงานและผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศนอกสาขาเกษตรกรรมมีอิทธิพลต่อรายได้ภาษีรวมในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีค่าความยืดหยุ่นเท่ากับ 0.17 และ 1.08 ตามลำดับ สัดส่วนการค้าต่างประเทศต่อส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศมีอิทธิพลต่อรายได้ภาษีรวมในทิศทางตรงข้ามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีค่าความยืดหยุ่นเท่ากับ 1.75 การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางเศรษฐกิจกับรายได้ภาษีหลักของรัฐบาล พบว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัวมีอิทธิพลต่อภาษีเงินได้นิติบุคคล รายได้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และรายได้ภาษีสรรพสามิตในทิศเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่กับรายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มมีอิทธิพลในทิศทางตรงกันข้ามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การจ้างงานมีความสัมพันธ์กับรายได้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา รายได้ภาษีมูลค่าเพิ่ม และรายได้ภาษีสรรพสามิตในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศนอกสาขาเกษตรมีความสัมพันธ์กับรายได้ภาษีเงินได้นิติบุคคล รายได้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา รายได้ภาษีมูลค่าเพิ่ม และรายได้ภาษีสรรพสามิตในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สัดส่วนการค้าต่างประเทศต่อส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศมีอิทธิพลต่อรายได้ภาษีรายได้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา รายได้ภาษีมูลค่าเพิ่ม และรายได้ภาษีสรรพสามิตในทิศทางตรงข้ามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Article Details
References
Bank of Indonesia. (2019). Indonesian financial statistics. Retrieved from https://www.bi.go.id/en/statistik/sski/Pages/SSKI_December_2019.aspx
Department of Statistics Malaysia. (2019). Statistical information of Malaysia: National account. Retrieved from https://www.dosm.gov.my/v1/index.php?r=column/cone&menu_id=cXZNdWtOOXJCdUt5TTRhL0ZKa3pkdz09
Fiscal Policy Office. (2019). Statistical data: Finance and taxation group. Retrieved from http://www.fpo.go.th/main/Statistic-Database.aspx
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง. (2562). ข้อมูลสถิติ: หมวดการคลังและภาษีอากร. สืบค้นจาก http://www.fpo.go.th/main/Statistic-Database.aspx
Hyman, David N. (1993). Public finance: A contemporary application of theory to policy (4th ed.). New York: The Dryden Press.
Imbarine Bujang, Taufik Abd Hakim & Ismail Ahmad. (2013). Tax structure and economic indicators in developing and high-income OECD countries: Panel cointegration analysis. Procedia Economics and Finance, 7, 164-173. Retrieved from https://doi.org/10.1016/S2212-5671(13)00231-1
Minh Le, Tuan., Blanca Moreno-Dodson & Nihal Bayraktar (2012).Tax capacity and tax effort. Retrieved from https://elibrary.worldbank.org/doi/abs/10.1596/1813-9450-6252
Murunga, James. Moses Muriithi & Joy Kiiru. (2016). Tax effort and determinants of tax ratios in Kenya. Retrieved from http://ir.mksu.ac.ke/handle/123456780/4199
Musgrave., R. A. & Peggy B. Musgrave. (1989). Public finance in theory and practice. (5th ed.). New York: McGraw-Hill.
Philippine Statistics Authority. (2019). Data series. Retrieved from http://openstat.psa.gov.ph/Database/Economic-Accounts/National-Accounts-of-the-Philippines/Annual-National-Accounts
Ratchawat, C., & Dheera-aumpon, S. (2017). Tax revenue and economic growth in the ASEAN economic community. (KU Proceedings of the 14th KU-KPS Conference, Kasetsart University, Nakhon phathom). Retrived from https://kukr.lib.ku.ac.th/db/index.php?/BKN/search_detail/result/20002680 (in Thai)
ชนาธิป ราชวัฒน์ และศิวพงศ์ ธีรอำพน. (2560). รายได้จากภาษีและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน : ครั้งที่ 14, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม). สืบค้นจาก https://kukr.lib.ku.ac.th/db/index.php?/BKN/search_detail/result/20002680
Singapore Department of Statistics. (2019). Economy/national-accounts. Retrieved from https://www.singstat.gov.sg/find-data/search-by-theme/economy/national-accounts/latest-data
Piancastelli, Marcelo. (2001). Measuring the tax effort of developinged and developling countries. Retrieved from http://repositorio.ipea.gov.br/bitstream/11058/4985/1/DiscussionPaper_103.pdf