การศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนประถมศึกษาต่อการเรียนรู้หุ่นยนต์ศึกษาตามกระบวนการสารสนเทศทางสังคมที่ส่งผลต่อทักษะทางสังคม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนประถมศึกษาต่อการเรียนรู้หุ่นยนต์ศึกษาตามกระบวนการสารสนเทศทางสังคมที่ส่งผลต่อทักษะทางสังคม โดยมีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 302 คน จาก 7 โรงเรียน เครื่องมือวิจัยที่ใช้คือแบบสอบถามศึกษาตามกระบวนการสารสนเทศทางสังคมโดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 2 แบบสอบถามทักษะทางสังคม ส่วนที่ 3 แบบสอบถามด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหุ่นยนต์ และส่วนที่ 4 ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือค่าเฉลี่ยและค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปมีค่าความเชื่อมั่น 0.97 ส่วนที่ 2 แบบสอบถามทักษะทางสังคมมีค่าความเชื่อมั่น 0.97 ส่วนที่ 3 แบบสอบถามด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหุ่นยนต์มีค่าความเชื่อมั่น 1.0 ผลการสำรวจความคิดเห็นของนักเรียนพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหุ่นยนต์ในหัวข้อกิจกรรมการเรียนรู้หุ่นยนต์มีเวลาที่เหมาะสมกับนักเรียน โดยมีค่าเฉลี่ย 3.79 ด้านที่มีค่าเฉลี่ยรองลงมา คือ ด้านการแสดงออกทางสังคม มีค่าเฉลี่ย 3.76 ด้านการควบคุมอารมณ์ของตนเองมีค่าเฉลี่ย 3.73 ด้านการแสดงออกทางอารมณ์มีค่าเฉลี่ย 3.70 และด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหุ่นยนต์ด้านบรรยากาศมีค่าเฉลี่ย 3.44 ตามลำดับ ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมคือนักเรียนส่วนใหญ่ต้องการชั่วโมงในการเรียนรู้รายวิชาหุ่นยนต์ 1-2 ชั่วโมง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Huitt, W. (2003). The information processing approach to cognition. Educational Psychology Interactive. Valdosta, GA: Valdosta State University. Retrieved from http://www.edpsycinteractive.org/topics/cogsys/infoproc.html
Iamsupasit, S.(1998). Theories and techniques in behavior modification. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)
สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2541). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
Klomklieng, D. (2003). Building a social skills scale for junior high school students Bangkok (Master's Thesis). Srinakharinwirot University, Bangkok. (in Thai)
ดาราวรรณ กล่อมเกลี้ยง. (2546). การสร้างแบบวัดทักษะทางสังคมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กรุงเทพมหานคร (ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
Maneetham, D. (2016). ROBOT usage scriptures. Bangkok: SE-EDUCATION.
เดชฤทธิ์ มณีธรรม. (2559 ). คัมภีร์การใช้งานหุ่นยนต์ ROBOT. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
Ministry of Education. (1999). The National Education Act 1999. Bangkok: Teachers Council of Thailand Printing House Ladprao. (in Thai)
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 . กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
Pornkul, C. (2011). Teaching thought processes: Theory and application. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
ชนาธิป พรกุล. (2554). การสอนกระบวนการคิดทฤษฎีและการนำไปใช้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Riggio, Ronald E. (1986). Assessment of basic social skills. Journal of Personality and Social Psychology, 51(3), 649-660.
Surang Kowtrakul. (2016). Educational Psychology (12nd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)
สุรางค์ โคว้ตระกูล. (2559). จิตวิทยาการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Yingdamnun, K., Phusuwan, T., Trakulsunthorn, C., Sarutipakorn, P., & Hongsawat, S. (2018). Social skills of undergraduate students receiving group counseling based on the concept of rational, emotional, and behavioral considerations. Journal of Integrated Social Sciences, 5(1), 137-163. (in Thai)
กุลพัฒน์ ยิ่งดำนุ่น ธนปพน ภูสุวรรณ ชลิดา ตระกูลสุนทร พงษ์ศักดิ์ ศรุติปกรณ์ และ ศลาฆนันท์ หงส์สวัสดิ์. (2561). ทักษะทางสังคมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ได้รับการให้คำปรึกษากลุ่มตามแนวคิดการพิจารณาเหตุผลอารมณ์และพฤติกรรม. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ, 5(1), 137-163.