กลยุทธ์การจัดการการสื่อสารด้านผู้ประกอบการภายในเพื่อสร้างความผูกพันมั่นคงต่อองค์กร
คำสำคัญ:
การจัดการการสื่อสาร, การสื่อสารในองค์กร, ผู้ประกอบการภายในบทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องกลยุทธ์การจัดการการสื่อสารด้านผู้ประกอบการภายใน (Intrapreneurship) เพื่อสร้างความผูกพันมั่นคงต่อองค์กร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดการการสื่อสารด้านผู้ประกอบการภายใน เพื่อสร้างความความผูกพันมั่นคงต่อองค์กร และเพื่อพัฒนากลยุทธ์การจัดการการสื่อสารด้านผู้ประกอบการภายใน เพื่อสร้างความผูกพันมั่นคงต่อองค์กร งานวิจัยนี้มุ่งศึกษากลยุทธ์การจัดการการสื่อสารด้านผู้ประกอบการภายในเพื่อสร้างความผูกพันมั่นคงต่อองค์กร ใช้วิธีวิจัยด้วยวิธีเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้เทคนิคการวิจัยแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Future Research) เพื่อการวางแผนและกำหนดนโยบายตลอดจนแนวทางการ ดำเนินงานในอนาคต และใช้วิธีการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In depth Interview) เพื่อให้ได้รายละเอียดของข้อมูลต่าง ๆ อย่างลึกซึงและตรงตามสภาพที่เป็นจริง
ผลการวิจัยทำให้ได้แนวทางในการพัฒนากลยุทธ์การจัดการการสื่อสารด้านผู้ประกอบการภายในเพื่อสร้างความผูกพันมั่นคงต่อองค์กร ประกอบไปด้วยการจัดการการสื่อสาร นโยบายการสื่อสาร รูปแบบการสื่อสาร กระบวนการสื่อสาร การสื่อสาร บรรยากาศการสื่อสาร เครือข่ายการสื่อสาร การแสวงหาและการจัดการข้อมูลข่าวสารของผู้บริหาร และทักษะการสื่อสาร ผลการวิจัยครั้งนี้เป็นการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และสนับสนุนพนักงานด้านผู้ประกอบการภายในองค์กร (Intrapreneurship) ยังเน้นการสร้างทักษะการสื่อสารที่ดีของผู้บริหาร (Communication Skill) และพนักงานกลุ่มเป้าหมาย (Employee Target) โดยเฉพาะทักษะของผู้บริหาร การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ด้วยความสุภาพ ถูกต้อง ครบถ้วน ชัดเจน ตรงประเด็นและมีความน่าเชื่อถือ มีบุคลิกภาพที่ดี สามารถสร้างความประทับใจให้กับพนักงาน ใช้น้ำเสียง สีหน้า สายตา และกริยาท่าทาง แสดงถึงความจริงใจและเหมาะสมกับสถานการณ์การสร้างผู้ประกอบการภายใน รวมถึงมีเทคนิคในการโน้มน้าวจูงใจ มีภาวะผู้นำในการประชุม ทำให้พนักงานคล้อยตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ ซึ่งองค์กรต้องใช้คองค์ความรู้ของผู้บริหาร (Knowledge Leader) เพื่อเป็นการสร้างแนวคิดทัศนคติ (Mind Set)ในความกระตือรือร้นและความรับผิดชอบมีความคิดสร้างสรรค์ในการแสวงหาวิธีใหม่ๆ ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาสินค้าหรือบริการ เพื่อการสร้างความสำเร็จขององค์กรและพนักงานร่วมกันการสื่อสารในองค์กรเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยกระตุ้นด้านผู้ประกอบการภายในให้เติบโตอย่างเรียบง่ายและประสบความสำเร็จ การสื่อสารที่เปิดเผยจะช่วยส่งเสริมการแบ่งปันไอเดียและความร่วมมือในการพัฒนาธุรกิจภายในองค์กร
References
ภาษาไทย
กาสัก เต๊ะขั้นหมาก. (2551). การเขียนบทความวิจัยเพื่อพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการ. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(2), 105-122.
ณัฐพงษ์ ขอดใจ. (2560). ปัจจัยด้านประสบการณ์การทำงานที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ในองค์กรเอกชน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
นราพร อินทเชื้อ. (2566). WTW ไขปัญหาแนวโน้มการจ้างงานในไทยปี 66 พร้อมชี้แนวทางรักษาคนเก่งสายดิจิทัล อาชีพดาวรุ่งที่คนลาออกมากที่สุด. วันที่ค้นข้อมูล 11 สิงหาคม 2566, เข้าถึงได้จาก https://www.brandbuffet.in.th/2023/02/wtw-thailand-pr/
นัทธีรา พุมมาพันธุ. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างภาพลักษณ์องค์กรและความภักดีของลูกค้า. South East Bangkok Journal, 5(1), 1-12.
เนตรนภัส ธนสารธาดา. (2554). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดผ่านโซเชียลเกมของเว็ปไซต์ www.facebook.com: กรณีศึกษา เกม “SME Start-Upcity” ของธนาคารกสิกรไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปชานนท์ ชนะราวี. (2556). แนวคิดเรื่องความผูกพันมั่นคงต่อองค์กร. วันที่ค้นข้อมูล 10 กันยายน 2566, เข้าถึงได้จาก http://pachanon.blogspot.com/2013/06/loyalty-powerof-development-endoutlast.html
อวิรุทธ์ ฉัตรมาลาทอง. (2562). ยุทธศาสตร์และโมเดลพันธกิจเพื่อพัฒนามหาวิทยาลัย วิจัยสู่มหาวิทยาลัยเชิง ประกอบการ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Katchwattana, P. (2019). ระดมสมองยกระดับ ‘ทักษะแรงงานไทย’ โจทย์ใหญ่ที่ต้องรับมือ ในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยน. วันที่ค้นข้อมูล 11 สิงหาคม 2566, เข้าถึงได้จาก https://www.salika.co/2019/04/21/reskill-upskill-worker-disrupted-technology
ภาษาอังกฤษ
Berlo, D. K. (1960). The Process of Communication. New York: Holt, Rinehart and Winston.
Bittner, T. L. (2008). Homeschooling: Take a Deep Breath - You Can Do This. Singapore: Mapletree Publishing Co.
Gouran, D. S., & William, E. W. (1994). Mastering communication. New york: Allyn & Bacon.
Hayton, E. (2004). The CueSport Book of Professional Snooker. Suffolk: Rose Villa Publications.
Holtkamp, P., Jussi P. P., & Pa wlowski, J. M. (2014). Soft Competency Requirements in Requirements Engineering, Software Design, Implementation, and Testing, Soft Competency Requirements in Requirements Engineering, Software Design, Implementation, and Testing. The Journal of Systems & Software, 14(2), 1482-1497.
Hovland, C., Janis, I., & Kelley, H. (1953). Communication and persuasion. New Haven, GT: Yale University Press.
Hoy, K., & Rees, R. (1974). Subordinate loyalty to immediate superior. Sociology of education. 47, 274-275.
Lamb, C.N., Hair, J.E. and McDaniel, C. (1992). Principles of Marketing. South-Western Arbitrating Co., Mason.
Miller, G. A. (1973). Communication, Language, and Meaning: Psychological Perspectives. New York: Basic Books, Inc., Publishers.
Roger, E. M. (1976). Communication and Development. Beverly Hills: Sage Publications.
Thomas, V. P., & Kleyn. (1989). Communicatiebegrippen voor dagelijks gebruik. Valin Pollen Thomas & Kleyn, Corporate Communications Consultants.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.