การใช้ข้อมูลทางบัญชีของนักบัญชีในเขตพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก (EEC)

ผู้แต่ง

  • บรรพต วิรุณราช

คำสำคัญ:

ข้อมูลทางบัญชี, นักบัญชี, เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการใช้ข้อมูลทางบัญชีบริหารของนักบัญชีในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก EEC โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาระดับการจัดทำข้อมูลบัญชีบริหารของนักบัญชีในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) 2) เพื่อศึกษาระดับความสามารถในการจัดทำข้อมูลบัญชีบริหารของนักบัญชีในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลทั่วไปของนักบัญชีบริหารกับการจัดทำข้อมูลบัญชีบริหารและความสามารถในการจัดทำข้อมูลบัญชีบริหารของนักบัญชีในเขตพัฒนาพิเศษภาค (EEC) การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้การคำนวณกลุ่มตัวอย่างของทาโรยามาเน่ ความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง 395 คน เป็นนักบัญชี ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ (EEC) และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจากสภาว่าเป็นนักบัญชี 6 คน พบว่า 1) งานในหน้าที่ของนักบัญชีบริหาร ทั้ง 5 งาน มีระดับการจัดทำเฉลี่ยทุกรายการในระดับ 2.61 (ระดับปานกลาง) 2) ความสามารถในการจัดทำเฉลี่ยทุกรายการ 2.58 (ระดับน้อย) และ 3) หากนักบัญชีพัฒนา การจัดทำข้อมูลทางบัญชีบริหารโดยพัฒนาการวิเคราะห์งบการเงินสูงสุด 1 หน่วย จะทำให้ความสามารถในการจัดทำข้อมูลบัญชีบริหารเพิ่มขึ้นสูงสุด 0.343 หน่วย มากกว่าการจัดทำข้อมูลด้านอื่นๆ

References

กมลภู สันทะจักร์ และกนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ์. (2562). ปัจจัยของนักบัญชียุคดิจิทัล ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของหน่วยงานราชการในประเทศไทย. วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 17(1), 17-31.

กรณิศา ดิษฐ์เสถียร. (2562). คุณสมบัติและกรอบความรู้นักบัญชีบริหารในประเทศไทย. วารสารสภาวิชาชีพบัญชี, 1(1), 32-42.

กรมศุลกากร. (2555). มูลค่าการส่งออก-นำเข้าและอัตราการขยายตัวของ SMEs ปี พ.ศ. 2545-2555 กรุงเทพฯ: กรมศุลกากร.

กระทรวงการคลัง. (2562). มาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐ พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: กระทรวงการคลัง.

กัญฐณา ดิษฐ์แก้ว และลภัสรดา พิชญาธีรนาถ. (2561). จรรยาบรรณวิชาชีพนักบัญชีบริหารกับการนำเสนอข้อมูล. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 15(2), 197-212.

ทิพาพร ขวัญมา, ศุภพงษ์ ปิ่นเวหา และอิงอร นวชัยฤทธิ์. (2556). ผลกระทบของคุณภาพข้อมูลทางบัญชีบริหารที่มีต่อประสิทธิภาพการตัดสินใจของธุรกิจ SMEs ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 5(4), 103-113.

พรนภา ธีระกุล. (2545). การใช้ข้อมูลบัญชีบริการเพื่อการจัดการในโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดสงขลา. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

บรรพต วิรุณราช. (2563). ศักยภาพของบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา เขตพัฒนาพื้นที่พิเศษ. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 12(1), 191-209.

ประภาพร เจริญวงษ์ตระกูล. (2548). การศึกษาทัศนคติของพนักงานเพื่อการปรับปรุงระบบการ. จัดการความปลอดภัย. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิศวกรรมความปลอดภัย, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มนูญชัย ธีระอกนิษฐ์. (2552). ผลกระทบของประสิทธิภาพการประยุกต์ใช้การบัญชีบริหารที่มีต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของธุรกิจ SMEs ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบัญชี, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เมธิสทิธิ์ พูลดี. (2550). การบัญชีบริหาร. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2550). การสร้างเครื่องมือวิจัย. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2552). การบัญชีบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: แมคกรอ-ฮิล.

สารทูล บัวขาว. (2549). การประยุกต์ใช้การบัญชีบริหารของนักบัญชีธุรกิจ SMEs ประเภทการผลิตสินค้า ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, วิทยายานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบัญชี, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุธีรา ทิพย์วิวัฒน์พจนา, พิทูร กาญจนพันธ์, สุขเกษม ลางคุลเสน, ณัฐนันท์ ฐิติยาปราโมทย์ และอนุรักษ์ อาทิตย์กวิน. (2555). ความสำเร็จของการปฏิบัติทางบัญชีบริหารและผลการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเซรามิกในจังหวัดลำปาง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 1(1), 1-11.

สุมาลี รามนัฏ และสุภัตรา วันต๊ะ. (2562). คุณภาพการให้บริการและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสำนักงานบัญชีของบริษัทจำกัด ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร โดยใช้สมการเชิงโครงสร้าง. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 11(1), 103-122.

หยาดพิรุฬ สิงหาด และประเวศ เพ็ญวุฒิกุล. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างการประยุกต์ใช้ข้อมูลการบัญชีบริหารกับความสำเร็จในการดำเนินงานของธุรกิจ SMEs ในเขตภาคใต้. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(2), 373-383.

Gordon, L., & Miller, D. (1976). A contingency framework for the design of accounting information systems. Accounting, Organizations and Society, 1(1), 59-69.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-25