การพัฒนากฎหมายเพื่อการบริหารจัดการอุทยานธรณีของประเทศไทย
คำสำคัญ:
อุทยานธรณี, มรดกทางธรณีวิทยา, การบริหารจัดการบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษา ปัญหา แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารจัดการอุทยานธรณีที่มีพื้นที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ เปรียบเทียบกฎหมายของประเทศไทยและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการในพื้นที่อุทยานธรณี ร่างกฎหมายให้เหมาะสมกับการบริหารจัดการอุทยานธรณีที่มีพื้นที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ ผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากการค้นคว้าเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 27 คน การสนทนากลุ่ม จำนวน 10 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาและเปรียบเทียบ ผลการวิจัยพบสภาพปัญหาว่า แม้มีกฎหมายทั่วไปหลายฉบับ ที่นำมาปรับใช้กับการบริหารจัดการอุทยานธรณี แต่ไม่ครอบคลุมถึงพื้นที่อุทยานธรณีที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ เพราะพื้นที่ดังกล่าว อยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ไม่มีการกำหนดเกี่ยวกับเรื่องการบริหารจัดการอุทยานธรณีในพื้นที่อุทยานแห่งชาติไว้โดยเฉพาะ จึงพบสภาพปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างหน่วยงาน ในการบริหารจัดการอุทยานธรณีที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ ปัญหาการไม่ได้กำหนดขอบเขตการบริหารจัดการพื้นที่อุทยานธรณี เป็นแหล่ง (Site) ให้ชัดเจน แตกต่างจากพื้นที่โดยทั่วไปของอุทยานแห่งชาติ ทำให้ต้องนำหลักเกณฑ์ทั่วไปที่ใช้ในเขตอุทยานแห่งชาติมาใช้กับ การบริหารจัดการพื้นที่อุทยานธรณีอย่างไม่เหมาะสม ปัญหาไม่มีการกำหนดการจัดทำนโยบาย และแผนบริหารจัดการพื้นที่อุทยานธรณีที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติไว้โดยเฉพาะ ปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้าง และคุณสมบัติของคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ไม่มีผู้แทนจากหน่วยงานที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการทางธรณีวิทยามีส่วนร่วมการบริหารจัดการ ปัญหาเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการบริหารจัดการอุทยานธรณีที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ ปัญหาเกี่ยวกับการจัดเก็บรายได้ งบประมาณ และการจัดสรรรายได้ ในการบำรุงรักษาพื้นที่อุทยานธรณี ปัญหาเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ของพื้นที่อุทยานธรณี และปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานในการใช้มาตรการทางกฎหมาย มาเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการ ผู้วิจัยได้ข้อค้นพบว่า การพัฒนากฎหมายเพื่อบริหารจัดการอุทยานธรณีที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ ต้องมีการบูรณาการ การทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน ต้องอาศัยผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางธรณีวิทยา การมีส่วนร่วมของประชาชน ในการกำหนดนโยบาย แผนการบริหารจัดการ การดำเนินงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ ต้องมีกฎหมายมารองรับ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ดำเนินการได้ถูกต้อง และต้องนำหลักพื้นฐานทางกฎหมายมาเชื่อมโยงด้วย ได้แก่ หลักการว่าด้วยมรดกของมวลมนุษยชาติ หลักการกระทำเพื่อป้องกัน หลักอำนาจอธิปไตยและหน้าที่ของรัฐในการรักษาสิ่งแวดล้อม หลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทฤษฎีการมี ส่วนร่วมของประชาชน หลักการบริหารจัดการทรัพยากรร่วม บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติแบบชุมชนมีส่วนร่วม และหลักความชอบด้วยกฎหมาย ผู้วิจัยขอเสนอแนะ แนวทางพัฒนากฎหมายเพื่อบริหารจัดการอุทยานธรณีของประเทศไทย โดยให้แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 กำหนดกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารจัดการอุทยานธรณีที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารจัดการอุทยานธรณี ให้คงอยู่ใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน ในประเด็นเกี่ยวกับ บทบัญญัตินิยามความหมายของอุทยานธรณีที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ องค์ประกอบของคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ การคุ้มครอง บำรุง ดูแล รักษา การบริหารจัดการอุทยานธรณี รวมทั้งการมีส่วนร่วมของประชาชน อำนาจหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ การกำหนดเกี่ยวกับรายได้เพื่อการบำรุงรักษา และการกำหนดเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ของอุทยานธรณีที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ
References
กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2561. (2561, 20 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนที่ 51
ก. หน้า 6.
กมลินทร์ พินิจภูวดล, กิตติภูมิ เนียมหอม และร้อยโทพันธ์รบ ราชพงศา. (2559). รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable
Development). กรุงเทพฯ: สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน).
กรมทรัพยากรธรณี. (2561). การประชุมสัมมนามหัศจรรย์งานวิจัยสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. เอกสารประกอบการประชุมสัมมนา เรื่อง มหัศจรรย์งานวิจัยสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน:
กรณีศึกษาอุทยานธรณีโลก สตูล, 26 กรกฎาคม 2561 ณ โรงแรมเดอะ เบอร์คลีย์ ประตูน้ำ. กรุงเทพฯ: กรมทรัพยากรธรณี.
กรมทรัพยากรธรณี. (2555). แนวทางการจัดตั้งอุทยานธรณี. กรุงเทพฯ: สำนักธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
กองธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี. (2544). ธรณีวิทยาประเทศไทย เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิม
พระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542. กรุงเทพฯ: กองธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี.
กองอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรธรณี กรมทรัพยากรธรณี. (2557). แนวทางการอนุรักษ์ทางธรณีวิทยาของกรมทรัพยากรธรณี. กรุงเทพฯ: กองอนุรักษ์และจัดการ
ทรัพยากรธรณี กรมทรัพยากรธรณี.
ชัญชนา คำชา. (2555). แนวทางการนำเสนอแหล่งอนุรักษ์ธรณีวิทยา อุทยานธรณีให้มีความน่าสนใจดึงดูดนักท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: สำนักธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี,
ปวริศร เลิศธรรมเทวี. (2559). สิทธิด้านสิ่งแวดล้อมกับรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.
พงษ์ศิริ จิตบาน และพรชัย เลื่อนฉวี. (2560). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับระบบการบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติในประเทศไทย. วารสารการเมืองการปกครอง, 7(1),
-151.
พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562. (2562, 29 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 71 ก. หน้า 145.
รณธี สีแก้ว และยุทธ ศรทัตต์. (2559). การศึกษาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการกำหนดพื้นที่อุทยานแห่งชาติตะรุเตาเป็นอุทยานธรณี. กรุงเทพฯ: สำนักธรณีวิทยา กรม
ทรัพยากรธรณี.
วิเชียร รุจิธำรงกุล. (2557). บทบาทและกลไกภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมของไทย. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการเมือง, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศุภมิตร จันทะคาม. (2559). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2559 (ตุลาคม 2558-กันยายน 2559) เรื่อง การท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยาปรากฎการณ์ใหม่ของการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สำนักงานทรัพยากรธรณีเขต 2 (ขอนแก่น) กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
อุทยานธรณีโคราช. (2560). แนวทางการบริหารจัดการแหล่งธรณีวิทยา แหล่งอนุรักษ์ธรณีวิทยาหรืออุทยานธรณีจังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา: อุทยาธรณีโคราช.
Brocx, M., & Semeniuk, V. (2007). Geoheritage and geoconservation–history, definition,scope and scale. Journal of the Royal Society of Western Australia, 90, 53-87.
Chakraborty, A. Cooper, M., & Chakraborty, S. (2015). Geosystem as a Framework for Geoconservation: The Case of Japan’s Izu Peninsula Geopark. Geoheritage, 7, 351-363.
English Riviera Geopark. (2019). Site Protection. Retrieved May 25, 2019, from http://www.englishrivierageopark.org.uk
Environmental Protection Law of the People’s Republic of China 2014, (สาธารณรัฐประชาชนจีน). (2014). Retrieved July 20, 2019, from https:// www chinadialogue.net./Environmental Protection-Law-2014-eversion.pdf
National Parks and Access to The countryside Act 1949, (สหราชอาณาจักร). (1949). Retrieved July 20, 2019, from http://www.legislation.gov.uk/ukpga/Geo6/12-13-14/97/data.pdf
Natural Parks Act 1957, (ประเทศญี่ปุ่น). (1957). Retrieved July 20, 2019, from https://www.env.go.jp /en /laws/nature/index.html
Natural Parks Act 2016, (สาธารณรัฐเกาหลี). (2016). Retrieved July 20, 2019, from https://www.elaw.klri.re.kr/kor_service/lawDownload
Ostrom, E. (1990). Governing the Commons: The evolution of institutions for collective action. UK: Cambridge University Press.
Xiao, K. Wahid, U., Momotaz, N., & Nihei, T. (2018). Reviewing Establishment of Legal System for Geoparks in China. Landscape Architecture and Regional Planning, 3(1), 16-22.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.