การพัฒนารูปแบบของหลักสูตรเตรียมความพร้อมสำหรับการประกอบกิจการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการชุมชน
คำสำคัญ:
หลักสูตรเตรียมความพร้อมสำหรับการประกอบกิจการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล, ประเภทบริการชุมชนบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนารูปแบบของหลักสูตรเตรียม ความพร้อมสำหรับการประกอบกิจการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการชุมชน การวิจัยครั้งนี้ เป็นวิธีการวิจัยแบบผสมระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเอกสารประกอบการวิเคราะห์เชิงบรรยาย การวิจัยเชิงปริมาณด้วยวิธีการสำรวจความคาดหวังที่จะได้รับจากการให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลประเภทบริการชุมชนของประชาชน และความสนใจในการเข้ามาดำเนินการหรือสนับสนุนการให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลประเภทบริการชุมชน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม เพื่อนำเสนอเค้าโครงหลักสูตรการอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับบริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลประเภทบริการชุมชน โดยการศึกษาครั้งนี้ประชาการและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มผู้ใช้บริการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ครอบคลุม 4 ภูมิภาค ประกอบด้วย ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และตอนพิเศษ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า การสำรวจความคาดหวังต่อบริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลประเภทบริการชุมชนของประชาชนผู้ใช้บริการสูงสุดคือ คาดหวังว่าโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการชุมชนเป็นนั้นเครื่องมือสื่อสารสำหรับชุมชน รองลงมาคือ ดำเนินการโดยไม่มุ่งผลกำไร มุ่งให้บริการชุมชนเพื่อผลประโยชน์สาธารณะ (Public Interest) สำหรับความสนใจในการเข้ามามีส่วนร่วมในการให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการชุมชน พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญในในการเข้ามามีส่วนร่วมในการให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการชุมชนระดับมาก แนวทางในการพัฒนารูปแบบของหลักสูตรเตรียมความพร้อมสำหรับการประกอบกิจการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการชุมชน ควรเป็นหลักสูตรที่ มีวัตถุประสงค์ในการสร้าง ความตระหนัก ให้กับบุคคลทั่วไปที่เป็นผู้ใช้บริการต่อบริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการชุมชน ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถเตรียมความพร้อมที่จะขอรับอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการชุมชนได้ และจะต้องมีเนื้อหาวิชา และสอดคล้องกับบริบทและสถานการณ์ในยุคดิจิตอล (Digital) โดยมีองค์ประกอบของหลักสูตรที่มีลักษณะการเรียนการสอนทั้งรูปแบบการบรรยาย และการอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยมีกลุ่มวิชาที่เกี่ยวข้องจำนวน 4 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มวิชากฎหมายและการกำกับดูแลในกิจการโทรทัศน์ 2)กลุ่มวิชาด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณ 3) กลุ่มวิชาด้านการเงินการบัญชี และ การบริหารจัดการ สำหรับกิจการโทรทัศน์ 4) กลุ่มวิชาสื่อใหม่และการหลอมรวมเทคโนโลยี
References
Amataya, S. (1999). Development as Freedom. New York: Alfred Knopt.
Clark, J., & Aufderheide, P. (2009). Public Media 2.0: Dynamic. Denver, USA: Engaged Publics.
Porter, M. (1990). The Competitive Advantage of Nations. HK: The Macmillan Press Ltd.