อิทธิพลเชิงโครงสร้างของวัฒนธรรมองค์กรที่มีต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการธุรกิจผลิตเครื่องปรับอากาศในเขตกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
วัฒนธรรมองค์กร, การเป็นผู้ประกอบการ, การจัดการความรู้, ความได้เปรียบทางการแข่งขันบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับของวัฒนธรรมองค์กร การเป็นผู้ประกอบ การ การจัดการความรู้ และความได้เปรียบทางการแข่งขัน (2) อิทธิพลคั่นกลางของการเป็นผู้ประ กอบการในฐานะปัจจัยที่เชื่อมระหว่างวัฒนธรรมองค์กรและความได้เปรียบทางการแข่งขัน และ (3) อิทธิพลคั่นกลางของการจัดการความรู้ในฐานะปัจจัยที่เชื่อมระหว่างวัฒนธรรมองค์กรและความได้ เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการธุรกิจผลิตเครื่องปรับอากาศในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัว อย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ประกอบการธุรกิจผลิตเครื่องปรับอากาศในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 106 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ วิเคราะห์ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้ประกอบการธุรกิจผลิตเครื่องปรับอากาศในเขตกรุงเทพมหานครมีระดับวัฒนธรรมองค์กร การเป็นผู้ประกอบการ การจัดการความรู้ และความได้เปรียบทางการแข่งขัน มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก (2) การเป็นผู้ประกอบการเป็นปัจจัยคั่นกลางที่เชื่อมโยงระหว่างวัฒนธรรมองค์กรกับความได้ เปรียบทางการแข่งขัน และ (3) การจัดการความรู้เป็นปัจจัยคั่นกลางที่เชื่อมโยงระหว่างวัฒนธรรมองค์กรกับความได้เปรียบทางการแข่งขัน ซึ่งงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นผลลัพธ์ของการศึกษาที่แตกต่างกันที่สามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันที่ต้องอาศัยการเป็นผู้ประกอบการและการจัดการความรู้ให้เกิดปฏิสัมพันธ์ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
References
กฤตวรรณ พริ้งสกุล. (2558). ปัจจัยเกื้อหนุนกลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันธุรกิจการสร้างข่ายสายเคเบิลใต้ดินในประเทศไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 3(2), 97-107.
ฐิติพร วรฤทธิ์. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพระบบสารสนเทศทางการบัญชีความได้เปรียบทางการแข่งขันและความสําเร็จในการดําเนินธุรกิจ SMEs ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต, สาขาการบัญชี, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2552). องค์กรแห่งการเรียนรู้: จากแนวคิดสู่การปฎิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: รัตนไตร.
ธัญนันท์ บุญอยู่. (2558). อิทธิพลคั่นกลางแบบอนุกรมของทุนทางปัญญาและการเป็นผู้ประกอบการในการถ่ายทอดวัฒนธรรมองค์การสู่ผลการดำเนินงานสำหรับอุตสาหกรรมต่อตัวถังรถโดยสาร. ดุษฎีนิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต, สาขาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ธัญนันท์ บุญอยู่. (2561). อิทธิพลของความสามารถทางนวัตกรรมในฐานะตัวแปรคั่นกลางที่ถ่ายทอดอิทธิพลของวัฒนธรรมองค์การ การมุ่งเน้นการตลาด การจัดการความรู้และการเป็นผู้ประกอบการสู้ความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 8(ฉบับพิเศษ), 44-62.
นวพร สังวร และสุดาพร สาวม่วง. (2555). กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในการส่งออกยางพาราไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารสมาคมนักวิจัย, 19(1), 111-122.
พรทิพย์ บุญทรง, ประชา ตันเสนีย์ และนงลักษณ์ ลัคนทินากร. (2559). รูปแบบการจัดการความรู้เพื่อความได้เปรียบในการแข่งขันของผู้ประกอบการตลาดน้ำลำพญา จังหวัดนครปฐม. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2560). บทวิเคราะห์แนวโน้มธุรกิจ. วันที่ค้นข้อมูล 10 ธันวาคม 2561, เข้าถึงได้จาก https:// kasikornresearch.com/th/ analysis /k-econ/business/Pages/36376.aspx
สุนทรารักษ์ สุทธิจันทร์ และเมธา สุธีรโรจน์. (2555). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของอุตสาหกรรมส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับในประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัย นครพนม, 2(2), 39-45.
อัจฉรา เมฆสุวรรณ. (2560). ความได้เปรียบในการแข่งขันของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมประเภทอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. วารสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 12(ฉบับพิเศษ), 13-25.
Anwar, M., Khan, S. Z., & Khan, N. U. (2018). Intellectual capital, entrepreneurial strategy and new ventures performance: mediating role of competitive advantage. Business & Economic Review, 10(1), 63-94.
Covin, J. G. & Lumpkin, G. T. (2011). Entrepreneurial orientation theory and research: reflection on a needed construct. Entrepreneurship Theory and Practice, 35(5), 855-872.
Gordon, J. R., Mondy, R. W., Sharplin, A., & Premeaux, S. R. (1990). Management and Organizational Behavior. Needham Heights, Massachusetts: Allyn and Bacon.
Hair, J. F., Sarstedt, M., Ringle, C., & Gudergan, S. P. (2018). SmartPLS 3. Retrieved March 8, 2019, from https://www.smartpls.com/downloads
Kotler, P. (1997). Marketing management: Analysis, planning implementation and control. (9th ed.). New Jersey: Asimmon & Schuster.
Likert, R. A. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology, 140, 5-53.
Malhotra, Y. (2003). Is knowledge the ultimate competitive advantage?. Business Management Asia, 3(4), 66-99.
Miller, D., & Friesen, P. H. (1982). Innovation in conservative and entrepreneurial firms: Two models of strategic momentum. Strategic Management Journal, 3, 1-25.
Porter, M. E. (1990). The competitive advantage of nations. New York: The Free Press.
Preacher, K. J., & Hayes, A. F. (2008). Asymptotic and resampling strategies for assessing and comparing indirect effects in multiple mediator models. Behavior Research Methods, 40, 879-891.
Rogers, E. M. (1995). Diffusion of innovations (4th ed.). New York: The Free Press.
Sajjad, S. I., Shafi, H., & Dad, A. M. (2012). Impact of culture on entrepreneur intention. Information Management and Business Review, 4(1), 30-34.
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.