สิทธิชุมชนในการป้องกันผลกระทบจากปัญหาการเผาในที่โล่ง
บทคัดย่อ
บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู หรือส่งเสริมภูมิปัญญา ศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม และจารีตประเพณี อันดีงามทั้งของท้องถิ่นและของชาติ สิทธิชุมชนในการป้องกันการได้รับผลกระทบจากปัญหาการเผาในที่โล่งเป็นสิทธิที่ได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ในหมวดที่ 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยในมาตรา 43 หมวด 5 หน้าที่ของรัฐมาตรา 57 แต่ประชาชนยังไม่ได้ใช้สิทธิชุมชนได้อย่างทั่วถึง เนื่องจากยังขาดกฎหมายเฉพาะในการนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิชุมชนและการเผาในที่โล่ง ได้แก่ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 ปัญหาและอุปสรรคที่ประชาชนไม่ได้ไปใช้สิทธิตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการเผาในที่โล่ง ได้แก่ การขาดความรู้ความเข้าใจ ความตระหนักในเรื่องผลกระทบจากการเผาในที่โล่งและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานภาครัฐยังเข้าไม่ถึงชุมชนในการส่งเสริมสิทธิของชุมชนในการป้องกันการเผาในที่โล่ง ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหา ได้แก่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำหนดนโยบาย แผน ยุทธศาสตร์ แนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจน มีการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องเป็นระบบ รวมทั้ง การตราบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญควรมีความชัดเจนมากขึ้นในเรื่อง สิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดี สิทธิในอากาศสะอาด สิทธิในการได้รับข้อมูลข่าวสารจากทางภาครัฐ สิทธิในกระบวนการยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อมของประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการใช้สิทธิเพื่อป้องกันการได้รับผลกระทบจากการเผาในที่โล่งและกระตุ้นให้ประชาชนเกิดการสร้างเครือข่ายในชุมชนอย่างมีส่วนร่วม
References
กิตติศักดิ์ ปรกติ. (2550). สิทธิของบุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลยุติธรรม. สิทธิชุมชน. วันที่ค้นข้อมูล 28 กุมภาพันธ์ 2567, เข้าถึงได้จาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=73103.
ชลธิรา สัตยาวัฒนา, รัตนาพร เศรษฐกุล, พิริยะ สีหะกุลัง, และอุทิศ ชำนิ บรรณาการ. (2546). สิทธิชุมชนท้องถิ่นชาวเขาในภาคเหนือของ ประเทศไทย: อดีตและปัจจุบัน กรณีศึกษาและปัญหา. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.
ฐิติรัตน์ ยะอนันต์. (2546). สิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กับตัวอย่าง การละเมิดสิทธิชุมชนในปัจจุบัน. Ramkhamhaeng Law Journal, 10(1), 1-40.
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535. (2535, 25 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 109 ตอนที่ 37.
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535. (2535, 29 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 109 ตอนที่ 38.
พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550. (2550, 29 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 ตอนที่ 52 ก.
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 122 ตอนพิเศษ 55 ง หน้า 25 วันที่ 27 กรกฎาคม 2548.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560). ฝ่ายวิชาการ สำนักพิมพ์วิญญูชน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: นักพิมพ์วิญญูชน.
สุริยัน กิตติยุทธพันธ์ และสุพล อิงประสาร. (2559). ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิชุมชนในคดีปกครอง. The Golden Teak: Humanity and Social Science Journal, 22(3).
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2563). สิทธิชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (2563). แนวปฏิบัติเพื่อการจัดการร่วมประเด็นสิทธิมนุษยชน: สิทธิชุมชนกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและการพัฒนารวมถึงสิทธิอื่นที่เกี่ยวข้อง. กรุงเทพฯ: สำนักงานสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.
อรทัย อินต๊ะไชยวงศ์. (2560). สิทธิชุมชนในการจัดการการบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. วารสาร นิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น, 1(1), 171-193.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.