ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารไทยอิสลาม
คำสำคัญ:
ขวัญและกำลังใจ, การปฏิบัติงาน, ธนาคารไทยอิสลามแห่งประเทศไทยบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาขวัญกำลังใจในการทำงานของพนักงานธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (2) เปรียบเทียบระดับขวัญกำลังใจในการทำงานของพนักงานธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จาการศึกษาพบว่าปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ประกอบด้วย (1) พนักงานธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยที่ปฏิบัติงานที่สำนักงานใหญ่เคยมีประสบการณ์การทำงานจากสถาบันการเงินอื่นจำนวน 162 คน จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 282 คน เมื่อแยกตามศาสนาพบว่าส่วนใหญ่เป็นคนพุทธจำนวน 112 คน เป็นมุสลิมจำนวน 50 คน ส่วนพนักงานที่ไม่มีประสบการณ์มีจำนวน 120 คน เป็นมุสลิม 104 คน เป็นพุทธ 16 คน (2) ภาพพจน์ของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยจากการรับรู้ของพนักงานพบว่า พนักงานจำนวน 282 คน รับรู้ภาพพจน์ที่ดีจำนวน 142 คน ที่เหลือ 140 คน รับรู้ภาพพจน์ที่ไม่ดี จากผลการศึกษาและข้อมูลดังกล่าวจะส่งผลต่อความสามารถในการดำเนินธุรกิจของธนาคาร ลูกค้าจะไม่ใช้บริการกับธนาคารที่มีภาพพจน์ไม่ดีและไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม (3) ด้านความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง ขวัญกำลังใจในการทำงานของพนักงานธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ด้านความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.41, S.D.= 0.747) เมื่อพิจารณารายประเด็นคำถามเรื่องท่านมีโอกาสแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานของธนาคารเป็น ขวัญกำลังใจในการทำงานของพนักงานธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ด้านนี้น้อยกว่าประเด็นอื่น ( =2.84, S.D.= 0.544) (4) ความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยขวัญกำลังใจในการทำงานของพนักงานธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ด้านความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( =3.21, S.D.= 0.583) เมื่อพิจารณารายประเด็นคำถามเรื่องเงินเดือนที่ท่านได้รับเมื่อเทียบกับธนาคารอื่นมีความเหมาะสมเป็นขวัญกำลังใจในการทำงานของพนักงานธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ด้านนี้น้อยกว่าประเด็นอื่น ( =2.52, S.D.= 0..494) เมื่อพิจารณาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 282 คน พบว่าเคยผ่านงานจากสถาบันการเงินอื่นมาแล้วจำนวน 162 คน คิดเป็นร้อยละ 57.44 ซึ่งคนเหล่านี้นำเงินเดือนของสถาบันการเงินอื่นมาเปรียบเทียบกับเงินเดือนในปัจจุบัน (4) ด้านความรู้สึกรับผิดชอบ ค่าเฉลี่ยขวัญกำลังใจในการทำงานของพนักงานธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ด้านความรู้สึกรับผิดชอบ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.10, S.D.= 0.480) เมื่อพิจารณารายประเด็นคำถามเรื่องท่านมีความรู้ความสามารถที่จะแก้ไขปัญหาในงานที่ได้รับมอบหมายได้เป็นขวัญกำลังใจในการทำงานของพนักงานธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ด้านนี้น้อยกว่าประเด็นอื่น ( =3.85, S.D.= 0.584) (5) ด้านความรู้สึกประสบความสำเร็จ ค่าเฉลี่ย ขวัญกำลังใจในการทำงานของพนักงานธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ด้านความรู้สึกประสบความสำเร็จ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.46, S.D.= 0.524) เมื่อพิจารณารายประเด็นคำถามเรื่องท่านได้รับการสนับสนุนให้ดูงานและศึกษาต่อเพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์เป็น ขวัญกำลังใจในการทำงานของพนักงานธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ด้านนี้น้อยกว่าประเด็นอื่น ( =3.03, S.D.= 0.550) (6) ด้านความพึงพอใจในลักษณะงาน ค่าเฉลี่ยขวัญกำลังใจในการทำงานของพนักงานธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ด้านความพึงพอใจในลักษณะงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.39, S.D.= 0.537) เมื่อพิจารณารายประเด็นคำถามเรื่องถ้าท่านมีโอกาสที่จะเลือกอาชีพใหม่อีกสักครั้งหนึ่งท่านยังคงเลือกอาชีพธนาคารเป็นขวัญกำลังใจในการทำงานของพนักงานธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ด้านนี้น้อยกว่าประเด็นอื่น ( = 2.81, S.D.= 0.626) รองลงมาคือเรื่องท่านมีความพอใจต่อระบบการสื่อสารและการติดต่อที่ธนาคารให้บริการแก่พนักงาน ( =3.23, S.D.= 0.667) (7) ด้านความสัมพันธ์ในหน่วยงาน ค่าเฉลี่ยขวัญกำลังใจในการทำงานของพนักงานธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ด้านความสัมพันธ์ในหน่วยงาน เมื่อพิจารณารายประเด็นคำถามเรื่องบุคลากรทุกคนมีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงานเป็น ขวัญกำลังใจในการทำงานของพนักงานธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ด้านนี้น้อยกว่าประเด็นอื่น ( =3.28, S.D.= 0.580) จากข้อมูลงานวิจัยพบว่า พนักงานขาดความกระตือรือร้นในการทำงาน ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษางานวิจัยเรื่องการรับรู้วัฒนธรรมการทำงานของพนักงานธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ที่พบว่าวัฒนธรรมการทำงานของพนักงานเป็นแบบเฉื่อยชา ไม่นิยมการทำงานแบบแข่งขัน ไม่มีการติดตามเป้าหมายการทำงาน