โครงสร้างกรุงเทพมหานครตามแนวทางการกระจายอำนาจ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความเรื่องโครงสร้างกรุงเทพมหานครตามแนวทางการกระจายอำนาจ ผู้เขียนมีแนวคิดการ
นำเสนอการกระจายอำนาจที่เต็มรูปแบบ ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใหม่ พุทธศักราช 2560 ได้
ให้ความสำคัญในเรื่องการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น แต่ปัจจุบันการกระจายอำนาจผ่านการปกครองท้องถิ่นของ
ประเทศไทยนั้นยังไม่เต็มรูปแบบ ซึ่งการปกครองท้องถิ่นประเทศไทยมี 2 รูปแบบ ได้แก่ การปกครองท้องถิ่น
ทั่วไป กับการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร และพัทยา โดยบทความนี้จะ
นำเสนอรูปแบบการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ คือ กรุงเทพมหานครที่มีโครงสร้างการบริหารจัดการแบบ
ชั้นเดียว เน้นการรวมศูนย์อำนาจอยู่ที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่มาจากการเลือกตั้ง และมีสภานิติบัญญัติ
มาจากการเลือกตั้งของแต่ละเขต ๆ ละ 1 คน และพื้นที่ 50 เขตของกรุงเทพมหานครนั้นมีข้าราชการประจำใน
ทุกเขต การปฏิบัติภารกิจงานของเขตจะปฏิบัติตามรูปแบบราชการส่วนภูมิภาคเป็นส่วนใหญ่ การทำงานต้อง
เป็นไปตามนโยบายของผู้ว่ากรุงเทพมหานคร ซึ่งปัญหาที่ตามมา คือ ขาดโครงสร้างการมีส่วนร่วมของ
ประชาชนในแต่ละเขตที่ควรเข้ามาในรูปแบบผู้บริหารระดับเขต และฝ่ายนิติบัญญัติระดับเขตที่มาจากการ
เลือกตั้งของประชาชนในเขตนั้น หรือเพิ่มสภาพลเมืองให้มาจากตัวแทนประชาชนทุกสาขาวิชาชีพในแต่เขต
โดยสภาพลเมืองจะทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาเรียกว่าเป็นการกระชับการมีส่วนร่วมให้เกิดการกระจายอำนาจเข้าสู่
ทุกชุมชนนั้นเอง ซึ่งโครงสร้างระดับเขตดังกล่าวเรียกว่าโครงสร้างชั้นล่าง โดยบทความจะเปรียบเทียบให้เห็น
ถึงมหานครใหญ่ของโลก ได้แก่ มหานครนิวยอร์ มหานครลอนดอน มหานครปารีส มหานครโตเกียว ที่มี
โครงสร้างการบริหารแบบ 2 ชั้น มีเพียงกรุงเทพมหานครเท่านั้นที่มีโครงสร้างแบบชั้นบนชั้นเดียว ดังนั้น เพื่อ
เป็นการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใหม่ พุทธศักราช 2560 ในเรื่องการกระจายอำนาจ
สู่ท้องถิ่น โครงสร้างการบริหารงานของกรุงเทพมหานครจึงต้องเต็มรูปแบบ เรียกว่าโครงสร้างการปกครอง
แบบ 2 ชั้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาประชาธิปไตยและสร้างความใกล้ชิดกับประชาชนภายในท้องถิ่น สนองต่อ
ความต้องการที่หลากหลายของประชาชนในท้องถิ่น และเสริมสร้างให้เกิดการปกครองท้องถิ่นโดยประชาชน
(Local-Self Government) ให้มากที่สุดนั่นเอง
Article Details
References
ภาษาไทย
กองพัฒนาและส่งเสริมการบริหารงานท้องถิ่น. (2556). โครงสร้างการปกครองมหานครโตเกียว. กรุงเทพฯ: กองพัฒนาและส่งเสริมการบริหารงานท้องถิ่น.
จุฑารัตน์ บางยี่ขัน. (2550). การเมืองในสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศส. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ชำนาญ จันทร์เรือง. (2549). การกระจายอำนาจที่แท้จริงเป็นอย่างไร. กรุงเทพฯ: ประชาไทย.
ธัญญพัทธ์ ภูริพินิศนันท์. (2565). การกระจายอำนาจกับการพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์, 8(1), 85-100.
พจนาลัย ไชยรังสี. (2550). การเมืองและการปกครองในประเทศสหราชอาณาจักร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528. (2558, 31 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 102 ตอนที่ 115 ฉบับพิเศษ หน้า 14.
ไพบูลย์ ช่างเรียน. (2522). การปกครองมหานคร: เปรียบเทียบระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา. ม.ป.ท.
วุฒิสาร ตันไชย. (2560). การกระจายอำนาจเพื่อยกระดับประชาธิปไตยและเสริสร้างความเป็นธรรม. วารสารนวัตกรรมสังคม, 1(1), 30-57.
สมจิต สุคนธสวัสดิ์. (2513). นครหลวง. วารสารรัฐศาสตรนิเทศ, 5(3), 30-31.
อรทัย ก๊กผล. (2557). สารานุกรมการปกครองท้องถิ่นไทย หมวดที่ 3 พัฒนาการและรูปแบบการปกครองท้องถิ่นไทย ลำดับที่ 5 เรื่อง กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
อุดม ทุมโฆสิต. (2525). ธรรมชาติเบื้องต้นของมหานคร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ผู้อ่าน.
ภาษาอังกฤษ
Alan, G. (2002). Local governance: Politics below the nation-state. In Politics: An Introduction, Barrie Axford, et al (ed.). Londin: Routledge.
Saito, F. (2011). Decentralization. In Mark Bevir (Ed.), The SAGE handbook of governance (pp. 484-500), The SAGE Handbook of Governance.
Turner, M. (1999). Central-local relations: Themes and issues. In Turner, mark (Ed.), Central-local relations in Asia-Pacific: Convergence or divergence?. (pp. 1-18). Hampshire: Palgrave.