ผลกระทบของนิคมอุตสาหกรรมที่มีต่อชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนบ้านบนเทศบาลเมืองมาบตาพุด

Main Article Content

ชนุตม์ หอมหวล
สุปราณี ธรรมพิทักษ์

บทคัดย่อ

   การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาผลกระทบของของนิคมอุตสาหกรรมที่มีต่อชุมชน 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อผลกระทบของของนิคมอุตสาหกรรมที่มีต่อชุมชนจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยในชุมชนบ้านบน เทศบาลเมืองมาบตาพุด จำนวน 343  คนได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบของนิคมอุตสาหกรรมที่มีต่อชุมชนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าความเชื่อมั่น 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
การวิเคราะห์ค่าที (t-test)  และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA)  กรณีพบความแตกต่างจะดำเนินการทดสอบรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Sheffe's Method) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


     ผลการวิจัยพบว่า  1) ผลกระทบของนิคมอุตสาหกรรมที่มีต่อชุมชนบ้านบนภาพรวมอยู่ในระดับมาก (equation=2.71)  เรียงลำดับผลกระทบจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ (equation= 2.95) อยู่ในอันดับที่ 1 รองลงมาเป็นผลกระทบด้านสุขภาพ (equation= 2.82)  ผลกระทบด้านสังคม (equation= 2.95) และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (equation= 2.47 ) ตามลำดับ 2) ประชาชนที่มีเพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้ อาชีพ สมาชิกในครอบครัวต่างกันมีความคิดเห็นต่อผลกระทบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้นประชาชนที่มีระยะเวลาอยู่ในชุมชนต่างกันมีความคิดเห็นต่อผลกระทบของของนิคมอุตสาหกรรมไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. (2567). บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบขององค์กร. วันที่ค้นข้อมูล 18 กุมภาพันธ์ 2567, เข้าถึงได้จาก https://www.ieat.go.th/th/roles-responsibilities

กรมโรงงานอุตสาหกรรม 2564. (2567). ข้อมูลโรงงานในเขตการนิคมแห่งประเทศไทย. วันที่ค้นข้อมูล 22 กุมภาพันธ์ 2567, เข้าถึงได้จาก https://userdb.diw.go.th/factory/ieat.asp

เกษรินทร์ อุ่นเสนีย์. (2557). ความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ที่ส่งผลต่อชุมชนตำบลมาบยางพร อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง. งานนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารทั่วไป, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.

จิรยุทธ์ สีม่วง. (2560). การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของชุมชนจากการเข้ามาของนิคมอุตสาหกรรม: กรณีศึกษาชุมชนประมงชายฝั่งหาดตากวน - อ่าวประดู่ ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา, 5(1), 1-21.

ธัญญลักษณ์ ปุณญจิรโชติสกุล. (2562). ผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และการปรับตัวของประชาชนที่เกิดจากอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดจังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรเพื่อความมั่นคง คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธัญญลักษณ์ ปุณญจิรโชติสกุล, และอนุรัตน์ อนันทนาธร. (2563). ผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมและการปรับตัวของประชาชนที่เกิดจากอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดจังหวัด ระยอง. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 13(1), 19-43.

รัตนาภรณ์ อาษา, พิชสุดา เดชบุญ และนิชากานต์ ดอกกุหลาบ. (2561). ภาวะสุขภาพจิตของคนที่อาศัยใกล้โรงงานอุตสาหกรรม อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 1(3), 135-142.

ศิริโชค ประทุมพิทักษ์. (2561). ผลกระทบต่อชุมชนที่เกิดจากการตั้งนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดใน โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก: กรณีของเทศบาลเมืองมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 10(2), 82-89.

อภิชัย สิงห์ศรี และจุฑารัตน์ ชมพันธุ์. (2560). ความขัดแย้งจากโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ กรณีศึกษา: นิคมอุตสาหกรรมระยอง (บ้านค่าย). กรุงเทพฯ: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.