การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน: จากความคาดหวังสู่อนาคต

Main Article Content

โสภณ ลือดัง
ชยาภรณ์ จตุรพรประสิทธิ์

บทคัดย่อ

   บทความชิ้นนี้เป็นบทความวิชาการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และเพื่อศึกษาแนวทางการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนจากต่างประเทศและ  การประยุกต์ใช้สู่การจัดการศึกษาของประเทศไทย ซึ่งในบทความนี้จะกล่าวถึงจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนผ่านการพัฒนาการศึกษาและการปฏิรูปการศึกษาจากประเทศสหรัฐอเมริกา การพัฒนาที่ยั่งยืนและการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน รูปแบบและแนวทางสู่ความสำเร็จของการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน: บทเรียนจากประเทศอังกฤษสู่ประเทศไทย และ บทสรุป เพื่อปูทางการปฏิรูปการศึกษาไทยไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนมากขึ้นในการก้าวเข้าสู่เวทีระดับโลก ประเด็นที่สำคัญที่สุดในยุคปัจจุบันคือการรักษาทรัพยากรของโลกไว้อย่างไร ขณะเดียวกันก็พัฒนาความมั่งคั่งและความเป็นอยู่ที่ดีของประชากรที่เพิ่มมากขึ้น ภารกิจอันยิ่งใหญ่นี้ถูกกำหนดไว้ในแนวคิดเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ประชาคมโลกได้ตกลงที่จะจัดการกับการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านสนธิสัญญาระหว่างประเทศ เพื่อเป็นการตอบสนองสนธิสัญญาดังกล่าวการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน จึงได้มีการเปิดตัวเพื่อเป็นคำตอบในการรับมือกับความยั่งยืน ซึ่งโครงสร้างผลลัพธ์ของของการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนสามารถถ่ายทอดผ่านผลลัพธ์ของนักเรียนได้อย่างแท้จริงในแง่ของจิตสำนึกด้านความยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). แนวทางการจัดทำแผนระดับที่ 3 และการเสนอแผนระดับที่ 3 ในส่วนของแผนปฏิบัติการด้าน...ต่อคณะรัฐมนตรี. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560ก). รายงานการสังเคราะห์ตัวชี้วัดด้านการศึกษาไทย ตามกรอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

Angela, W. L., Green A. (2009). Successful globalisation, education and sustainable development. International Journal of Educational Development, 29, pp. 166–174.

Barbara, R. (1990). Apprenticeship in Thinking: Children’s Guided Participation in Culture. New York: Oxford University Press.

Breiting, S., & Mogensen, F. (1999). Action competence and environmental education. Cam. J. Ed., 29, 349–353.

David, B. T. (1974). The One Best System: A History of American Urban Education. New York: Harvard University Press.

Didham, R. J., & Ofei-Manu, P. (2012), “Education for Sustainable development country status reports: An Evaluation of National Implementation during the UN Decade of Education for Sustainable Development (2005-14). in East and Southeast Asia, Hayama, Japan” วันที่ค้นข้อมูล 2 กันยายน 2566, เข้าถึงได้จาก http://pub.iges.or.jp/modules/envirolib/ view.php?docid=4140

Gadsby, H. & Bullivant, A. (2011). Global Learning and Sustainable Development. London, UK: Routledge.

Hirsch, E. D. (1996). The Schools We Need and Why We Don’t Have Them. For a contrary view of progressive influence on the schools. New York: Doubleday.

James, W., & Pellegrino, R. G. (1982). Analyzing Aptitudes for Learning: Inductive Reasoning. In Glaser, R., Ed. Advances in Instructional Psychology (pp. 269-345). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates.

Lauren, B. R. (1995). From Aptitude to Effort: A New Foundation for our Schools. Daedlus, 124(4), 89-118.

Lauren, B. R., & Megan, W. H. (1988). Learning Organizations for Sustainable Education Reform. Daedlus, 127(4), 89-118.

UNESCO. (2007). The UN Decade for Education for Sustainable Development (DESD 2005–2014): the first two years. Paris: UNESCO.