การศึกษาและวิเคราะห์โครงการนวัตกรรม “ขยะ มั่งคั่ง ยั่งยืน” ของเทศบาลตำบลทับมา อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการดำเนินโครงการนวัตกรรม “ขยะ มั่งคั่ง ยั่งยืน” และเพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินโครงการนวัตกรรม “ขยะ มั่งคั่ง ยั่งยืน” ของเทศบาลตำบลทับมา อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อถอดบทเรียนความสำเร็จในการดำเนินโครงการนวัตกรรม เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม จากผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบไปด้วย กลุ่มผู้บริหารท้องถิ่น กลุ่มข้าราชการประจำ และกลุ่มประชาชน เครือข่ายและภาคประชาสังคม จำนวน 39 คน ใช้เครื่องมือแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบแยกแยะเนื้อหาสาระ การวิเคราะห์เนื้อหา และการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินโครงการนวัตกรรมขยะ มั่งคั่ง ยั่งยืน (Waste To Wealth) ได้แก่ (1) การมีผู้นำที่มีความเข้มแข็ง และการทำงานเป็นทีม ผู้นำและผู้บริหารของเทศบาลตำบลทับมามีความเข้มแข็งในการทำงาน (2) การมีภาคีเครือข่ายความร่วมมือทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนในพื้นที่ (3) บริบทของชุมชน ฐานทรัพยากรท้องถิ่น และพื้นที่ในการพัฒนาความสำเร็จของโครงการนวัตกรรม (4) การมีระบบเทคโนโลยีดิจิทัล และการพัฒนาด้านระบบฐานข้อมูล และ (5) ความร่วมมือของประชาชนในพื้นที่ซึ่งเป็นคนในพื้นที่ดั้งเดิม จากการดำเนินการพบปัญหาเรื่องความร่วมมือของประชาชนในพื้นที่เนื่องจากอยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ส่งผลให้มีการเคลื่อนย้ายของประชากร และมีประชากรแฝงในพื้นที่เป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องสร้างการรับรู้และสร้างความสัมพันธ์ของในพื้นที่เพื่อดำเนินนวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงปัญหาการพลัดเปลี่ยนบุคลากรของหน่วยงาน ซึ่งส่งผลต่อความต่อเนื่องในการปฏิบัติงาน
Article Details
References
ภาษาไทย
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2562). 3Rs บันทึกความสำเร็จในการคัดแยกขยะ. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.
กัลยาณี ธีระวงศ์ภิญโญ, นพดล ธีระวงศ์ภิญโญ และสาคร ปลื้มรัมย์. (2566). นวัตกรรมทางสังคมในการจัดการและเพิ่มมูลค่าขยะชุมชนเพื่อรองรับการท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารสหวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 6(2), 25-44.
จิรวัฒน์ เมธาสุทธิรัตน์, วิศท์ เศรษฐกร, ณัฐพงษ์ คันธรส และอัมฤตา สารธิวงค์. (2566). นวัตกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการส่งเสริมฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิงของเทศบาลตำบลป่าสัก อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน. วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย, 5(10), 35-50.
ไชยนันท์ ปัญญาศิริ. (2560). กระบวนทัศน์การบริหารจัดการองค์การภาครัฐไทย: เปรียบเทียบการจัดการ ภาครัฐแนวใหม่ (NPM) กับการบริการสาธารณะแนวใหม่ (NPS). สยามวิชาการ, 18(1), 1-20.
ธเนศวร์ เจริญเมือง. (2551). การปกครองท้องถิ่นกับการบริหารจัดการท้องถิ่น ภาคแรก. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.
ดำรงค์ วัฒนา. (2544ก). การบริหารจัดการท้องถิ่น (Local Governance). วารสารดำรงราชานุภาพ, 1(2), 37-56.
ดำรงค์ วัฒนา. (2544ข). ระบบการบริหารจัดการท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ณัฐชานันท์ วงศ์มูลิทธิกร. (2563). นวัตกรรมการบริหารงานท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 3(4), 109-123.
ณัฐพงษ์ คันธรส, วิศท์ เศรษฐกร, อัมฤตา สารธิวงค์, และจิรวัฒน์ เมธาสุทธิรัตน์. (2566). ปัจจัยแห่งความสำเร็จขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดี: ศึกษาเฉพาะกรณีเทศบาลตำบลทับมา อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง. ลำปาง: มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.
ปัณณทัต นอขุนทด. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
พระมหาอรุณ ปญฺญารุโณ และพระครูปลัดณัฐพงศ์ ยโส. (2561). การบริหารท้องถิ่นไทยภายใต้บริบทไทยแลนด์ 4.0: โอกาสและความท้าทาย. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. 1(1), 1-18.
วรสุดา ขวัญสุวรรณ และสาทินี วัฒนกิจ. (2563). การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัสดุเหลือทิ้งสู่ผลิตภัณฑ์ออกแบบตกแต่งและแฟชั่น: ชุมชนต้นแบบเทศบาลเมืองเขารูปช้าง. สงขลา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.
สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจ สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี. (2565). ต้นแบบความสำเร็จองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการทีดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สุปัญญา สุนทรนนธ์. (2565). ปัจจัยความสำเร็จขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับรางวัลการบริหารจัดการที่ดี: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลโพสะ จังหวัดอ่างทอง. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(5), 372-387.
พัชรี สิโรรส. (2558). ใน เกษียร เตชะพีระ. เปิดกล่องนโยบายสาธารณะ: หลากมุมมองในการศึกษานโยบายสาธารณะร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: โครงการตำราและสิ่งพิมพ์ คณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อัครวินท์ ศาสนพิทักษ์ และนพพล อัคฮาด. (2559) การบริหารปกครอง: แนวคิดและการพัฒนาสู่การปกครองท้องถิ่น. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 3(3), 63-70.
อรทัย ก๊กผล. (2559). Urbanization เมื่อ “เมือง” กลายเป็นโจทย์ของการบริหารจัดการท้องถิ่นสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า.
อำนวย บุญรัตน์ไมตรี, วัฒนา นนทชิต และธณกฤษ งามมีศรี. (2559). กระบวนทัศน์ใหม่ในการบริหารท้องถิ่น. Thai Journal of Public Administration, 14(2), 111-127.
ศักดิ์สิทธิ์ ฆารเลิศ และอลงกต สารกาล. (2560). ว่าด้วยแนวคิดการบริหารจัดการปกครองท้องถิ่นบนฐานเครือข่ายความร่วมมือ. วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์, 1(2), 82-103.
ภาษาอังกฤษ
Hood, C. (1991). A Public Management for All Seasons?. Public Administration, 69(1), 3-19.
Osborn, D., & Gaebler, T. (1992). Reventing Government: How the entrepreneurial spirit is transforming the public sector. Addison-wesley.
Osborn, D. (1993). Reinventing Government. Public Productivity & Management Review, 16(4), 349-356.
Peters, B. G. (1998). Managing horizontal government: The politics of coordination. Public Administration Review, 58(1), 25-35.