การบริหารจัดการของศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. เพื่อวิเคราะห์การบริหารจัดการของศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) ในปัจจุบัน และ 2. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคการบริหารจัดการของศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) การศึกษาในครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงผสมผสาน ระหว่างเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ โดยใช้การเก็บข้อมูลจาก 3 ส่วนได้แก่ 1) การสัมภาษณ์เชิงลึก จากกลุ่มบุคลากรของศรชล. และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 21 ท่าน 2) การสำรวจจากบุคลากรของศรชล. จำนวน 280 คน และ 3) การศึกษาข้อมูลเอกสาร โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่มีโครงสร้าง และแบบสัมภาษณ์เพื่อการวิจัยแบบกึ่งโครงสร้าง ที่ได้มีผ่านการทดสอบคุณภาพ โดยมีสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way Analysis of Variance) และพรรณนาข้อมูลในปรากฏการณ์ และวิเคราะห์ตีความข้อมูล โดยใช้การวิเคราะห์แบบสามเส้าระเบียบวิธีวิทยา
ผลการวิจัยพบว่า 1. โครงสร้างของการจัดการของการบริหารจัดการของ ศรชล. นั้นถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ได้แก่ 1) ส่วนบริหารและนโยบายการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และ 2) ส่วนอำนวยการ และหน่วยปฏิบัติการในระดับพื้นที่ จากการวิเคราะห์ความคิดเห็นของบุคลากร พบว่า ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการ โดยรวมนั้นมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และ 2. ปัญหาและอุปสรรคของการบริหารจัดการ พบว่า 1) ด้านโครงสร้างและนโยบายขององค์กร มีปัญหาทางด้านการจัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ ที่ไม่เพียงพอ ไม่เหมาะสม และการจัดโครงสร้างที่ยังคงเป็นแบบราชการไม่ได้รวดเร็วและคล่องตัวขึ้น 2) ด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีปัญหาได้แก่ การครอบงำทางวัฒนธรรมองค์กร เอกภาพในการสั่งการและการประสานงาน ความหลากหลายและความซ้ำซ้อนของภารกิจแต่ละหน่วยงานที่เข้าร่วมใน ศรชล. ตามกฎหมาย และการขาดความรู้ความเข้าใจในองค์กรและบทบาทหน้าที่ของผู้บริหาร 3) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ยังขาดการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและความเข้าใจในการแก้ไขปัญหาแก่ชุมชนในพื้นที่ การสร้างความสัมพันธ์กับหน่วยงานที่เข้าร่วมปฏิบัติงานและชุมชน และปัญหาการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน และ 4) ด้านการจัดการเครือข่าย บุคลากรยังขาดความรู้ความเข้าใจในภารกิจที่ต้องปฏิบัติงานร่วมกับเครือข่าย ประสิทธิภาพในการบริหารองค์กรของผู้บริหาร ขาดการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีแก่เครือข่าย และขาดแผนงานในการการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เข้าร่วมปฏิบัติการ
Article Details
References
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (ม.ป.ป.). องค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐรูปแบบอื่นที่ไม่ใช่ส่วนราชการ. วันที่ค้นข้อมูล 11 มิถุนายน 2566, เข้าถึงได้จาก https://po.opdc.go.th/content/MTY
ศูนย์อำนวยการการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล. (2562). พระราชบัญญัติการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล พ.ศ. 2562. วันที่ค้นข้อมูล 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2566, เข้าถึงได้จาก https://www.dmcr.go.th/detailLib/6253
ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล. (2563). แผนยุทธศาสตร์ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล. กรุงเทพฯ: ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล.
ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล. (2566). รายงานผลการดำเนินงานประจำปี งป. 65 และผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทด้านความมั่นคง (พ.ศ. 2563 - 2565). กรุงเทพฯ: ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล.
โสภารัตน์ จารุสมบัติ. (2559). อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 กับการดำเนินงานของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อิทธิชัย สีดำ. (2563). การบริหารงานภาครัฐในรูปแบบเครือข่ายกับการนำมาใช้ในประเทศไทย. วารสาร นวัตกรรมการบริหารและการจัดการ, 9(3), 1–20.
อนุรัตน์ อนันทนาธร. (2563). การวิเคราะห์นโยบายการบริหารจัดการจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์, คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
Agranoff, R., & McGuire, M. (2003). Collaborative Public Management: New Strategies for Local Governments. Washington, DC: Georgetown University Press.
Ansell, C., & Gash, A. (2008). Collaborative Governance in Theory and Practice. Journal of Public Administration Research and Theory, 18(4), 543-571.
Bevir, M. (2010). Democratic governance. Princeton Newjersey: Princeton University Press.
Booher, D. E. (2004). Collaborative Governance Practices and Democracy. National Civic Review, 93(4), 32–46.
Emerson, K., Nabatchi, T., & Balogh, S. (2012). An Integrative Framework for Collaborative Governance. Journal of Public Administration Research and Theory, 22(1), 1-29.
Emerson, K., & Nabatchi, T. (2015). Collaborative governance regimes: Georgetown University Press.
Goldsmith, S., & William D. E. (2004). Governing by Network. D.C.: Brookings Institution Press.
Huxham, C. (2000). The Challenge of Collaborative Governance. Public Management, 2(3), 337-357.
Newbold, M.G. (2014). Strategic Network Structures’ Influence on Canadian Search and Rescue Management. Capella University. Ann Arbor MI: ProQuest LLC.
O’Leary, R., & Gerard, C. (2012). Collaboration across boundaries: insight and tips from federal senior execituive. Washington, DC: The Maxwell School of Syracuse University.
Shiflett-Picardi, D. (2018). Inter-agency Collaborative Governance in Emergency Management: A Qualitative Case Study. Northcentral University. Prescott Valley, AZ.Ann Arbor, MI: ProQuest LLC
Wright, D. S. (1981). Understanding Intergovernmental Relations. New York: Harcurt Brace Jovanavich.
Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.