ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ กรณีศึกษา นิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา

Main Article Content

ธีระ กุลสวัสดิ์
บุษราคัม ชัชวาลชาญชนกิจ
ภัสนันท์ พ่วงเถื่อน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา โดยกลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตบางแสน จำนวน 400 คน โดยผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่รู้จักการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ คิดเป็นร้อยละ 93.25 เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 69.25 มีอายุต่ำกว่า 25 ปี คิดเป็นร้อยละ 98.00 กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 36.50 ใช้เวลาบนโลกไซฌบอร์มากกว่า 8 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 48.75 และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่กำลังศึกษาในกลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 58.25 รองลงมา คือ กลุ่มวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี คิดเป็นร้อยละ 23.75 และกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ คิดเป็นร้อยละ 18.00 ตามลำดับ


พฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า นิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา มีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์โดยภาพรวม อยู่ในระดับน้อยที่สุด ปัจจัยที่ส่งผลต่อการกลั่นแกล้งบนโลก          ไซเบอร์ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ผลการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยตัวแปรแฝงทัศนคติต่อการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ 2 ตัว คือ ทัศนคติต่อการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ และทัศนคติต่อผลการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ และ ตัวแปรแฝงการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ 2 ตัว คือ ความเชื่อตามกลุ่มอ้างอิง และแรงจูงใจในการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง


               ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ กรณีศึกษานิสิต มหาวิทยาลัยบูรพากับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยทดสอบกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี ผลการวิเคราะห์ สรุปได้ว่า ความตั้งใจในการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ และทัศนคติต่อการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์และการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง มีอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ผ่านตัวแปรความตั้งใจ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กชพรรณ มณีภาคม และอุนิษา เลิศโตมรสกุล. (2562). การตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมจากการกระทำผิดในโลกอินเทอร์เน็ต: กรณีศึกษาการรังแกกันในโลกไซเบอร์ ในรูปแบบการคุกคามทางเพศ ในเขตกรุงเทพมหานคร. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,กรุงเทพฯ.

ชไมพร กาญจนกิจสกุล. (2555). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. ตาก: บริษัทโพรเจ็คท์ ไฟฟ์-โฟว์ จำกัด.

นิศริน เจ๊ะหามะ และคณะ. (2564). ผลกระทบจากพฤติกรรมการกลั่นแกล้งของนักเรียนในจังหวัดปัตตานี. สงขลา: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

พนม กุณาวงค์ และภาคย์ ชูชื่น. (2557). ระดับการยอมรับของลูกค้าต่อการประชาสัมพันธ์ของการประปาส่วนภูมิภาค สาขาเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วรรณี แกมเกตุ. (2551). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิมลทิพย์ มุสิกพันธ์ และศิวพร ปกป้อง. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติและพฤติกรรมการกระทําความรุนแรงทั้งทางกายภาพและการข่มเหงรังแกผ่านโลกไซเบอร์ของเยาวชนไทย. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: ปัญญาสมาพันธ์เพื่อการวิจัยความเห็นสาธารณะแห่งประเทศไทย.

สสส. (2563). Cyberbully คืออะไร? ส่งผลอย่างไร? และเราควรรับมือกับมันอย่างไรดี?. วันที่ค้นข้อมูล 20 มกราคม 2566, เข้าถึงได้จาก from https://resourcecenter.thaihealth.or.th/article/cyberbully-

Ajzen, I. (1991). The theory of planned behavior. Organizational Behavior and Human Decision Process,50, 179-211.

Dehue, F., Bolman,C., & Völlink, T. (2008). Cyberbullying: Youngsters Experiences And Parental Perception. Cyberpsychology And Behavior, 11(2), 217-223.

ETDA. (2564). ETDA เผยโควิด-19 เป็นเหตุสังเกตได้ Gen Z ใช้เน็ตสูงสุด ปีแรก ชนะ Gen Y แชมป์ 6 สมัย. Retrieved March 5, 2023, from https://www.etda.or.th/th/pr-news/ETDA-released-IUB-2021.aspx

Fishbein, M., & Ajzen, I. (1975). Belief, attitude, intention, and behavior: an introduction to theory and research. NewYork: Addison Wesley.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis (7th). N.J.: Pearson Prentice Hall.

Shinal, J. (2017). Online threats lead to real-world harm, say security experts. Retrieved March 5, 2023, from https://www.cnbc.com/2017/08/29/online-threats-real-world-harm.html

Yamane, T. (1967). Statics: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row.