การพัฒนาตัวชี้วัดในการติดตามความก้าวหน้าการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติขององค์กรภาครัฐที่ได้รับรางวัลธรรมาภิบาลในประเทศไทย

Main Article Content

ปิยากร หวังมหาพร

บทคัดย่อ

     หลักธรรมาภิบาลเป็นหลักการสากลและเป็นหลักปฏิบัติสำคัญที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ การให้รางวัลธรรมาภิบาลจึงเป็นวิธีการที่กระตุ้นให้มีการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลอย่างต่อเนื่อง    โดยองค์กรที่ให้รางวัลต่างมีตัวชี้วัดของตนเองเพื่อประเมินและให้รางวัลแต่ยังขาดตัวชี้วัดที่เป็นมาตรฐานร่วมกันในการติดตามความก้าวหน้าในการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเหมาะสมของตัวชี้วัด 2) พัฒนาตัวชี้วัดในการติดตามความก้าวหน้าการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติขององค์กรภาครัฐที่ได้รับรางวัลธรรมาภิบาลในประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี มีเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพตัวชี้วัดและแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารองค์กรที่ได้รับรางวัลธรรมาภิบาลจำนวน 10 ราย หัวหน้า/ รองหัวหน้าหรือเทียบเท่าขององค์กรภาครัฐที่ได้รับรางวัลในการดำเนินงานด้านธรรมาภิบาล ประจำปี 2560 จำนวน 40 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสหสัมพันธ์เพียร์สัน


            ผลการศึกษาพบว่าความเหมาะสมของตัวชี้วัดในการติดตามความก้าวหน้าการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติขององค์กรภาครัฐที่ได้รับรางวัลธรรมาภิบาลโดยรวมมีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ตัวชี้วัดในการติดตามความก้าวหน้าการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติขององค์กรภาครัฐที่ได้รับรางวัลธรรมาภิบาลในประเทศไทยควรประกอบด้วย 6 หลัก ได้แก่ นิติธรรม  7 ตัวชี้วัด คุณธรรม  11 ตัวชี้วัด ความโปร่งใส 4 ตัวชี้วัด การมีส่วนร่วม  4 ตัวชี้วัด สำนึกรับผิดชอบ  16 ตัวชี้วัด และความคุ้มค่า 15 ตัวชี้วัด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

รายการอ้างอิง

คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการ

พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

ถวิลวดี บุรีกุล และคณะ. (2552). ทศธรรม ตัวชี้วัดการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. กรุงเทพฯ : ธรรมดาเพรส.

ปธาน สุวรรณมงคล. (2558). การบริหารงานภาครัฐกับการสร้างธรรมาภิบาล. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

ปิยากร หวังมหาพร. (2562). การสำรวจข้อมูลธรรมาภิบาลในประเทศไทย : Good Governance Mapping

(รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

พงษ์ศักดิ์ ซิมมอนด์ส. (2561). การทดสอบข้อตกลงเบื้องต้นของการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นตรง. วารสาร

วิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 7 (2), 20-37.

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546. (2546). ใน ราชกิจจา

นุเบกษา เล่ม 120 ตอน 100 ก วันที่ 4 ตุลาคม 2546 หน้า 1-16.

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542. (2542). ใน ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 63 ง. วันที่ 10 สิงหาคม 2542 หน้า 24-31.

สํานักนายกรัฐมนตรี. (2542). ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบการบริหารกิจการบ้านเมือง

และสังคมที่ดี พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2546) . องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาล. กรุงเทพฯ: นํ้าฝน.

............................ (2563). การส่งเสริมหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. สืบค้นเมื่อ 11 เมษายน 2563 จาก http://www.opdc.go.th/special.php?spc_id=3&content_id=2225

สุดจิต นิมิตกุล. (2543). ธรรมาภิบาลกับการบริหาร. กรุงเทพฯ: นํ้าฝน.

ADB. (1999). Governance in Thailand: Challenge, Issues and Prospects. Manila: ADB Annual Report.

IMF. (1997). Good Governance: The IMF’s Role. Washington, DC.: IMF.

Lawshe. C.H. (1975). A Quantitative Approach to Content Validity. Personnel Psychology, 28(2), 563-575.

OECD. (1996). Politic and the Reform of Government Minster look at the Future of Public Service. New York: Oxford University Press.

UNDP. (1997). Governance for Sustainable Human Development. Philippines: United Nations Development

Programme.

UNESCAP. (2005). Policies and Good Practices in Investment Promotion and Facilitation in LDC: Bhutan

Lao. PDR and Timor-Leste. New York: Economic and Social Commission for Asia and the Pacific.

World Bank. (1992). Governance and Development. Washington, DC.: The World Bank.

…………… (1989). Sub-Sahara Africa: From Crisis to Sustainable Growth. Washington DC.: World Bank.

Walter, D. (1971). Scientific Sociology: Theory and Method (3rd ed). New York: Prentice-Hall.