รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลขนาดใหญ่ในเขตพื้นที่อุตสาหกรรมภาคตะวันออกของประเทศไทย

Main Article Content

ภูษิต แจ่มศรี
สัมฤทธิ์ ยศสมศักดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อวิเคราะห์นโยบาย มาตรการ และหน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลขนาดใหญ่ในเขตพื้นที่อุตสาหกรรมภาคตะวันออกของประเทศไทย  และ 2) เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลขนาดใหญ่ในเขตพื้นที่อุตสาหกรรมภาคตะวันออกของประเทศไทย  การศึกษาครั้งนี้การวิจัยเชิงคุณภาพ  (Qualitative Research)  โดยเก็บข้อมูลจากการศึกษาข้อมูลเอกสาร (Document Research) และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่บุคลากรภาครัฐ ผู้บริหารหรือตัวแทนข้าราชการประจำของหน่วยงานภาครัฐส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะ ตัวแทนประชาชน องค์กรภาคประชาสังคม และนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการขยะ จำนวน 19 คน  โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์เพื่อการวิจัยแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structure Interviews) โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนาข้อมูลในปรากฏการณ์ หรือรูปธรรม และวิเคราะห์ตีความข้อมูลแบบสามเส้าระเบียบวิธีวิทยา (Methodology triangle)


                ผลการวิจัยพบว่า 1. นโยบายการจัดการขยะนั้นมีความครอบคลุมตั้งแต่ทางด้านการเมืองที่มีแนวนโยบายแห่งรัฐ ไม่ว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ รวมถึงแผนแม่บทการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย พ.ศ. 2555-2574  และหน่วยงานมีความเกี่ยวข้องกับการจัดการขยะมูลฝอย ได้แก่ 1) กระทรวงมหาดไทย 2) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กรมควบคุมมลพิษ, กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม) และ 3) กระทรวงอุตสาหกรรม  2. การจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ทั้ง 3 แห่งนั้นมีความสอดคล้องกันจากปัญหาการเกิดขึ้นของนิคมอุตสาหกรรมทำให้มีขยะจากการผลิต รวมทั้งการเดินทางเข้ามาทำงานของประชากรแฝงทำให้มีการก่อนเกิดขยะเป็นจำนวนมากและไม่สามารถกำจัดได้หมดจากปัญหาทางด้านการบริหารจัดการ เทคโนโลยี และพฤติกรรมของประชาชนประกอบกัน จึงทำให้เทศบาลฯทั้ง 3 แห่งมีการจัดการขยะที่ไม่มีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดปัญหาต่อคุณภาพชีวิตประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตอุตสาหกรรม ด้านสังคมและสาธารณสุข และคุณภาพสภาพแวดล้อมที่มีมลพิษ  นอกจากนั้นรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลขนาดใหญ่ทั้ง 3 แห่ง นั้นส่วนใหญ่มีการดำเนินการภายใต้ความร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินการ  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2562). รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561. (ออนไลน์). วันที่ค้นข้อมูล 16 เมษายน พ.ศ. 2562, เข้าถึงได้จาก https://www.pcd.go.th/publication/ 4175/

กรมควบคุมมลพิษ. (2561). รายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ : ส่วนขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล สำนักจัดการกากของเสียและสารอันตราย.

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. (2565). ข้อมูลโรงงานในเขตการนิคมแห่งประเทศไทย.(ออนไลน์). วันที่ค้นข้อมูล 16 กันยายน พ.ศ. 2564, เข้าถึงได้จาก http://userdb.diw.go.th/ factory/ieat.asp.

ณิชชา บูรณสิงห์. (2558). การบริหารจัดการขยะ : กรณีจังหวัดสงขลาและกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ กับ SDGs. วันที่ค้นข้อมูล 16 เมษายน พ.ศ. 2562, เข้าถึงได้จาก https://sdgs.nesdc.go.th/ยุทธศาสตร์ชาติ กับ SDGs.

อนิณ อรุณเรืองสวัสดิ์. (2558). ขยะกำลังจะล้นโลก (ตอนที่ 1). จุลสารจับกระแสเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy Watch), ฉบับที่ 1, ปีที่ 1, 2558.

Denhardt, R. B. Denhardt, V. J. (2007). The New Public Service: Serving, Not Steering. NewYork: M.E. Sharpe, Inc.

Denhardt, R. B. Denhardt, V. J. (2000). The New Public Service: Serving Rather than Steering. Public Administration Review, 6(60), 549-559.

Hoornweg, D., amd Bhada-Tata, P.. (2012). What a Waste : A Global Review of Solid Waste Management. Urban development series;knowledge papers no. 15. World Bank, Washington, DC.

Osborne, D. and Gaebler, T. (1992). Reinventing Government. New York, NY.